ผู้ผลิต | ประวัติศาสตร์นอกตำรา |
วิทยากร/ผู้แสดง | กังวล คัชชิมา |
เรื่องย่อ |
[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] ชัดเจนว่า พระเจ้าจิตรเสน มเหนทรวรมัน ทรงขยายอิทธิพลในดินแดนอีสานด้วยการใช้แม่น้ำมูลเป็นเส้นทางสายหลัก หากแต่เราต้องไม่ลืมว่า ดินแดนอีสานไม่ได้มีเพียงลำน้ำมูล ขณะเดียวกันยังมีลำน้ำชี เป็นแม่น้ำสำคัญอีกสาย นี่เองที่ทำให้มีการพบจารึกพระเจ้าจิตรเสน-มเหนทรวรมันในบริเวณลุ่มน้ำชีที่ จ.ขอนแก่น ซึ่งนับเป็นจารึกของพระองค์ที่อยู่ตอนเหนือสุดเท่าที่พบในปัจจุบัน แม่น้ำมูลยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ อีกมากมาย หนึ่งในนั้นคือลำมาศ หรือลำปลายมาศ ที่เราพบจารึกพระเจ้าจิตรเสนที่ถ้ำเป็ดทอง อ.ปะคำ จ. บุรีรัมย์ถึง 3 จารึก และยังเลยไปถึงเขต อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมาอีก 1 หลัก นอกจากนี้ บริเวณปลายสุดของพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ในเขต อ.โนนดินแดง ห่างจากถ้ำเป็ดทองลงมาทางทิศใต้ราว 50 กิโลเมตร เรายังพบจารึกพระเจ้าจิตรเสนอีกหลักหนึ่ง ก่อนที่จะตัดช่องเขาตะโกลงสู่พื้นที่ราบภาคตะวันออกของไทย ในเขต อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เรายังพบจารึกของพระองค์อีกหลัก ซึ่งนับเป็นหลักสุดท้ายของการสำรวจที่นั่นด้วย การพบจารึกตามลำน้ำโขง กระทั่งเข้าสู่ลุ่มน้ำมูลในเขตภาคอีสาน เรื่อยลงมาจนถึงพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย อาจทำให้ชาวยคลายปริศนาถึงเส้นทางการขยายอำนาจของพระเจ้าจิตรเสน มเหนทรวรมันได้อย่างน่าสนใจอย่างยิ่ง ติดตามได้จากส่วนหนึ่งของงานวิจัย ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร |
ความยาว | 38:41 นาที |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | เจนละ มเหนทรวรมัน จังหวัดบุรีรัมย์ แม่น้ำชี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสระแก้ว |
[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] ชัดเจนว่า พระเจ้าจิตรเสน มเหนทรวรมัน ทรงขยายอิทธิพลในดินแดนอีสานด้วยการใช้แม่น้ำมูลเป็นเส้นทางสายหลัก หากแต่เราต้องไม่ลืมว่า ดินแดนอีสานไม่ได้มีเพียงลำน้ำมูล ขณะเดียวกันยังมีลำน้ำชี เป็นแม่น้ำสำคัญอีกสาย นี่เองที่ทำให้มีการพบจารึกพระเจ้าจิตรเสน-มเหนทรวรมันในบริเวณลุ่มน้ำชีที่ จ.ขอนแก่น ซึ่งนับเป็นจารึกของพระองค์ที่อยู่ตอนเหนือสุดเท่าที่พบในปัจจุบัน แม่น้ำมูลยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ อีกมากมาย หนึ่งในนั้นคือลำมาศ หรือลำปลายมาศ ที่เราพบจารึกพระเจ้าจิตรเสนที่ถ้ำเป็ดทอง อ.ปะคำ จ. บุรีรัมย์ถึง 3 จารึก และยังเลยไปถึงเขต อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมาอีก 1 หลัก นอกจากนี้ บริเวณปลายสุดของพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ในเขต อ.โนนดินแดง ห่างจากถ้ำเป็ดทองลงมาทางทิศใต้ราว 50 กิโลเมตร เรายังพบจารึกพระเจ้าจิตรเสนอีกหลักหนึ่ง ก่อนที่จะตัดช่องเขาตะโกลงสู่พื้นที่ราบภาคตะวันออกของไทย ในเขต อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เรายังพบจารึกของพระองค์อีกหลัก ซึ่งนับเป็นหลักสุดท้ายของการสำรวจที่นั่นด้วย การพบจารึกตามลำน้ำโขง กระทั่งเข้าสู่ลุ่มน้ำมูลในเขตภาคอีสาน เรื่อยลงมาจนถึงพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย อาจทำให้ชาวยคลายปริศนาถึงเส้นทางการขยายอำนาจของพระเจ้าจิตรเสน มเหนทรวรมันได้อย่างน่าสนใจอย่างยิ่ง ติดตามได้จากส่วนหนึ่งของงานวิจัย ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร