ผู้ผลิต | ประวัติศาสตร์นอกตำรา |
วิทยากร/ผู้แสดง | วินัย แซ่ตัน, เรียบ สุขแสงทอง, สมบูรณ์ มณีนิด |
เรื่องย่อ |
[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] “มะริด” หรือ “เมี๊ยก” (Myeik )ในภาษาพม่า เป็นดินแดนหมู่เกาะ 800 เกาะแห่งทะเลอันดามันทางตอนใต้ของพม่า ที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามที่กำลังรอการเจียระไน นานนับพันปีมาแล้วที่พ่อค้าจากดินแดนฝั่งตะวันตก ทั้ง อินเดีย ลังกา เปอร์เซีย แม้กระทั่งชาวชาวอาหรับ ต่างใช้ที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นขนส่งสินค้าจากฝั่งอันดามัน ตัดข้ามคาบสมุทรไปยังอ่าวไทย โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายูที่เต็มไปด้วยภยันตรายจากโจรสลัด ด้วยความเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางการค้านี้เอง ทำให้หลายร้อยปีมาแล้วที่เมืองปากแม่น้ำตะนาวศรีแห่งนี้ กลายเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรอยุธยากับพม่าในหลายต่อหลายครั้ง ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2112 ดินแดนมะริดและตะนาวศรีต้องตกเป็นของราชวงศ์ตองอู แต่ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงตีเอาหัวเมืองเหล่านี้กลับคืนมาได้ และได้เติบโตกลายเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญทางด้านตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนกระทั่งเสียกรุงครั้งที่ 2 ดินแดนแถบนี้ก็ถูกพม่ายึดไปครอบครองได้ วันนี้อดีตผ่านไปแล้ว เหลือเพียงปัจจุบันและอนาคตสำหรับคนกว่า 170,000 คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมะริด เพราะมะริดประกอบไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อยซ้อนตัวกันอยู่เสมือนเป็นปราการธรรมชาติที่คอยป้องกันคลื่นลมแรง เช่น เหตุการณ์สึนามิที่เคยซัดเข้าทำลายชายฝั่งทะเลอันดามันและพื้นที่ทั่วมหาสมุทรอินเดียในปลายปี 2547 แต่ที่นี่กลับไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ การที่มีเกาะใหญ่น้อยมากมายเป็นตัวกำบังลมมรสุมให้กับชายฝั่งทะเลยังเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ทะเลมะริดเต็มไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำอันอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มะริดประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนาที่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ในเมืองมะริดจึงเต็มไปด้วยเสน่ห์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ รวมทั้งร่องรอยความเป็นเมืองท่าที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยอยุธยาของไทยมาก่อน ปัจจุบันจึงยังปรากฏหลักฐานปรากฏถึงความเป็นไทยหลงเหลือให้เห็นอยู่ในเมืองนี้ บนเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรที่สำคัญเมื่อพันปี แม้เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ จะทำให้ผู้คนทั้งสองดินแดนในวันนี้ต้องเหินห่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา จนต้องตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “อยู่ใกล้ แต่ก็เหมือนอยู่ไกล” ในอนาคตเรายังหวังว่า เมื่อพม่าผ่านพ้นปัญหาภายในทั้งปวงไปแล้ว เมื่อนั้น มะริด จะเป็นอีกดินแดนหนึ่งที่ “มิตร” จากประเทศไทยจะแวะเวียนไปเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจ ในฐานะเพื่อนที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนาน |
ความยาว | 30:59 นาที |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | มะริด เมืองท่า |
[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] “มะริด” หรือ “เมี๊ยก” (Myeik )ในภาษาพม่า เป็นดินแดนหมู่เกาะ 800 เกาะแห่งทะเลอันดามันทางตอนใต้ของพม่า ที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามที่กำลังรอการเจียระไน นานนับพันปีมาแล้วที่พ่อค้าจากดินแดนฝั่งตะวันตก ทั้ง อินเดีย ลังกา เปอร์เซีย แม้กระทั่งชาวชาวอาหรับ ต่างใช้ที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นขนส่งสินค้าจากฝั่งอันดามัน ตัดข้ามคาบสมุทรไปยังอ่าวไทย โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายูที่เต็มไปด้วยภยันตรายจากโจรสลัด ด้วยความเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางการค้านี้เอง ทำให้หลายร้อยปีมาแล้วที่เมืองปากแม่น้ำตะนาวศรีแห่งนี้ กลายเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรอยุธยากับพม่าในหลายต่อหลายครั้ง ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2112 ดินแดนมะริดและตะนาวศรีต้องตกเป็นของราชวงศ์ตองอู แต่ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงตีเอาหัวเมืองเหล่านี้กลับคืนมาได้ และได้เติบโตกลายเป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญทางด้านตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนกระทั่งเสียกรุงครั้งที่ 2 ดินแดนแถบนี้ก็ถูกพม่ายึดไปครอบครองได้ วันนี้อดีตผ่านไปแล้ว เหลือเพียงปัจจุบันและอนาคตสำหรับคนกว่า 170,000 คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมะริด เพราะมะริดประกอบไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อยซ้อนตัวกันอยู่เสมือนเป็นปราการธรรมชาติที่คอยป้องกันคลื่นลมแรง เช่น เหตุการณ์สึนามิที่เคยซัดเข้าทำลายชายฝั่งทะเลอันดามันและพื้นที่ทั่วมหาสมุทรอินเดียในปลายปี 2547 แต่ที่นี่กลับไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ การที่มีเกาะใหญ่น้อยมากมายเป็นตัวกำบังลมมรสุมให้กับชายฝั่งทะเลยังเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ทะเลมะริดเต็มไปด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำอันอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มะริดประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนาที่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ในเมืองมะริดจึงเต็มไปด้วยเสน่ห์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ รวมทั้งร่องรอยความเป็นเมืองท่าที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยอยุธยาของไทยมาก่อน ปัจจุบันจึงยังปรากฏหลักฐานปรากฏถึงความเป็นไทยหลงเหลือให้เห็นอยู่ในเมืองนี้ บนเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรที่สำคัญเมื่อพันปี แม้เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ จะทำให้ผู้คนทั้งสองดินแดนในวันนี้ต้องเหินห่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา จนต้องตกอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “อยู่ใกล้ แต่ก็เหมือนอยู่ไกล” ในอนาคตเรายังหวังว่า เมื่อพม่าผ่านพ้นปัญหาภายในทั้งปวงไปแล้ว เมื่อนั้น มะริด จะเป็นอีกดินแดนหนึ่งที่ “มิตร” จากประเทศไทยจะแวะเวียนไปเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจ ในฐานะเพื่อนที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนาน