หน้าแรก ผู้คนและชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ อูรักลาโวยจ์ (Urak Lawoi), โอรังละอุต (Orang Laut)

อูรักลาโวยจ์ (Urak Lawoi), โอรังละอุต (Orang Laut)

อูรักลาโวยจ์ (Urak Lawoi), โอรังละอุต (Orang Laut)

ภาษา ออสโตรนีเชียน
ถิ่นอาศัย กลุ่มหมู่เกาะตะวันตก (Western Archipelago) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันในประเทศไทยพบกระจายอยู่ตามหมู่เกาะและชายฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณจังหวัดสตูล กระบี่ และภูเก็ต

ประวัติความเป็นมา

ประวัติศาสตร์ของรัฐชายฝั่งหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นหมู่เกาะมักกล่าวถึงโอรังละอุต (Orang Laut) กลุ่มชนชาวทะเล ผู้มีบทบาทสำคัญในการลาดตระเวนทางทะเล ปกป้องชายฝั่ง และทำหน้าที่เป็นแนวหน้าในการจัดตั้งและพัฒนาท่าการค้าระหว่างเมือง  พร้อมกันนั้นพวกเขายังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดส่งทรัพยากรทางทะเล เช่น กระดองเต่า ปะการัง สาหร่าย เปลือกหอย และสินค้าอื่น ๆ ไปสู่ตลาด   ซึ่งสามารถสืบย้อนไปถึงรัฐการค้าโบราณต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ (Andaya, 2015: 29)

 

พื้นที่หมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Island Southeast Asia) มีกลุ่มคนผู้มีวิถีเคลื่อนย้ายตามท้องทะเล พวกเขาได้รับขนาดนามกันว่า “ชนเผ่าเร่ร่อนทางทะเล กลุ่มชนทางทะเล หรือยิปซีทะเล” (sea nomads, sea people or sea gypsies) (Sopher 1977 อ้างถึงใน Stacey, 2007: 7) โดยสามารถแบ่งตามภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และภาษาของกลุ่มคนเหล่านี้อย่างกว้าง ๆ  ประกอบด้วย มอแกนและมอเกล็น (Moken, Moklen), โอรังละอุต (Orang Laut) และซามา บาจาว (Sama Bajau)  (Sather, 2006: 256)

 

กลุ่มโอรังละอุต (Orang Laut)  มอแกนและมอเกล็น (Moken, Moklen) พบตั้งถิ่นฐานบริเวณกลุ่มหมู่เกาะด้านตะวันตก (Western Archipelago) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า โอรังละอุต (โอรังแปลว่า คน ละอุตแปลว่า ทะเล)  เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มชุมชนชาวทะเลและชุมชนชายฝั่งที่อาศัยอยู่ตามช่องทางเข้าออกทางตอนเหนือและตอนใต้ของช่องแคบมะละกา บริเวณลุ่มน้ำตอนล่างและปากแม่น้ำสายสำคัญในสุมาตรา คาบสมุทรมลายู รวมถึงหมู่เกาะ Riau-Lingga และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้  ส่วนมอแกนและมอเกล็น (Moken, Moklen) เป็นกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกัน พวกเขาอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งและหมู่เกาะทางด้านตะวันตกของคาบสมุทรพม่าและไทย (Andaya, 2008: 173-174) 

 

อูรักลาโวยจ์ (Urak Lawoi) เป็นกลุ่มย่อยทางตอนเหนือของโอรังละอุต (Orang Laut) พบอาศัยอยู่บนเกาะนอกชายฝั่งตั้งแต่ภูเก็ตไปจนถึงกลุ่มเกาะอาดัง และตามแนวขอบด้านใต้ของเทือกเขาที่กลุ่มมอแกนและมอเกล็น (Moken, Moklen) กระจายตัว (Hogan 1989: 1-2 อ้างถึงใน Sather, 2006: 256) ส่วนซามา บาจาว (Sama Bajau) พบตั้งถิ่นฐานบริเวณหมู่เกาะด้านตะวันออกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Eastern Archipelago) ปัจจุบันพบตั้งถิ่นฐานบริเวณหมู่เกาะประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนและฟิลิปปินส์ (Andaya, Barbara Watson and Andaya, 2015)

 

ภาษาของกลุ่มชาวทะเลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาอูรักลาโวยจ์ และภาษามอแกน พวกเขาไม่มีภาษาเขียน วิถีชีวิตดั้งเดิมมักล่องเรือเคลื่อนย้ายไปมา โดยตั้งถิ่นฐานตามชายฝั่งทะเลเฉพาะช่วงฤดูมรสุม และย้ายถิ่นหากินไปอาศัยชั่วคราวบริเวณหมู่เกาะต่าง ๆ ตามฤดูกาล แล้วหวนกลับถิ่นเดิมในฤดูกาลเดียวกันของทุกปี บางครั้งเมื่อหวนกลับมายังถิ่นเดิมปรากฏว่าชนกลุ่มอื่นเข้ามาครอบครองจึงต้องหาแหล่งใหม่ บางครั้งต้องอพยพเพราะถูกคนต่างกลุ่มรุกราน (อาภรณ์ อุกฤษณ์, 2532: 18, 21, 23)

 

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์พบบทบาทของโอรังละอุตในแง่มุมต่าง ๆ บางแง่มุมได้รับตำแหน่งเกียรติยศ การเข้าถึงสินค้า และการแต่งงานกับราชวงศ์ สามารถดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เช่น Laksamana (พลเรือเอก) ในมะละกา อย่างไรก็ตามบางแง่มุมก็พบว่ามักถูกรุกรานจากกลุ่มชนอื่น เกิดความหวาดกลัวจนต้องอพยพเคลื่อนย้าย ซึ่งแม้จะให้ภาพลักษณ์ที่ขัดแย้งกัน แต่โอรังละอุตมีกลุ่มย่อยจำนวนมาก และมีเพียงส่วนน้อยที่ติดตามเจ้าผู้ปกครอง ในขณะที่กลุ่มโอรังละอุตส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตล่องเรืออย่างอิสระในทะเล (Barnard, 2007: 38)

 

มีตำนานอูรักลาโวยจ์หลายเรื่องที่กล่าวถึงความเป็นมาของกลุ่มชนชาวทะเลที่อพยพมาสู่น่านน้ำไทย ตำนานหนึ่งของชาวอูรักลาโวยจ์ระบุว่าบ้านเกิดของพวกเขาอยู่ที่เกาะลังกาวี ขณะที่อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงต้นกำเนิดของพวกเขาแถบภูเขาฆูนุงฌึรัย (Gunung Jerai) หรือยอดเขาเคดะห์ (Kedah) การอพยพย้ายถิ่นของพวกเขามักถูกอธิบายว่า “พวกเขาหวาดกลัวจากภายคุกคามต่าง ๆ” จึงได้อพยพเคลื่อนย้าย การมีอยู่ของตำนานที่เชื่อมโยงอูรักลาโวยจ์กับเคดะห์ อาจเกิดจากความสัมพันธ์ทางการค้าในยุคต้นระหว่างกลุ่มชนทะเลนี้กับผู้คนในเคดะห์ โดยฆูนุงฌึรัย เป็นจุดสังเกตที่สามารถมองเห็นได้ง่ายสำหรับนักเดินเรือในยุคต้น เมื่อพวกเขาเดินทางมายังชายฝั่งด้านตะวันตกของคอคอดกระหรือคาบสมุทรมลายูตอนเหนือ บันทึกจากประวัติศาสตร์ยุคแรกเรียกชายฝั่งนี้ว่า Kalah (ภาษาอาหรับ) Kataha (สันสกฤต) และ Kadaram (ทมิฬ) ซึ่งช่วงเวลาต่าง ๆ ในอดีต ท่าเรือต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ทางตอนใต้ของรัฐเคดะห์ เคยเป็นจุดแวะพักของนักเดินทางจากตะวันตก พวกเขามาที่นี่เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าก่อนเดินทางกลับ หรือเพื่อจัดหาเสบียงสำหรับเดินทางต่อ (Andaya, 2008: 174)

 

บันทึกแรกสุดของตะวันตกเกี่ยวกับชนกลุ่มนี้ คือบันทึก  Suma Oriental  โดย Tome Pires ศตวรรษที่ 16 ในช่วงโปรตุเกสปกครองมะละกา เขาเรียกกลุ่มชาวทะเลบริเวณช่องแคบว่า “Celates” เป็นกลุ่มโจรสลัดที่ออกปล้นสะดมและภักดีต่อเจ้าผู้ปกครองเมืองมะละกา  ในบันทึกของชาวตะวันตกผ่านกลุ่มชาวโปรตุเกสยังได้อธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าผู้ปกครองกับโอรังละอุตไว้ว่า มีลักษณะในเชิงอุปถัมภ์และการเป็นคู่ค้า (patron-client) ซึ่งสามารถสืบย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ก่อนมะละกา อย่าง Palembang จากอาณาจักรศรีวิชัย บันทึกประวัติศาสตร์ของมะละกาในศตวรรษที่ 16  “the Sejarah Melayu” ได้บันทึกถึงเจ้าชายพลัดถิ่นจาก Palembang นาม Paramesvara ผู้ได้อพยพมาตั้งเมืองที่มะละกา พร้อมกับผู้ติดตามชาวโอรังละอุต  เรื่องเล่าดังกล่าวได้สะท้อนถึงความภักดีของโอรังละอุตต่อเจ้าผู้ปกครอง และบทบาทสำคัญในการพัฒนารัฐการค้า (Barnard, 2007: 35-37) ในขณะที่บริเวณภาคใต้ของไทย พบบันทึกการตั้งถิ่นฐานของโอรังละอุต ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ของกวีจากราชสำนักไทรบุรีในศึกกู้เมืองถลาง (Ujung Salang, พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2354)  มีการกล่าวยกย่องกลุ่มชนทางทะเลพื้นเมือง ซึ่งอาศัยอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน ในความสามารถและความกล้าหาญช่วยราชสำนักสยามและไทรบุรีต่อต้านการโจมตีจากพม่าได้สำเร็จ (Andaya, 2015: 292; รัตติยา สาและ, 2561)

วัฒนธรรมที่สำคัญ

พิธีลอยเรือที่เรียกว่าปลาจั๊ก (Belajak) หรือลาจัง (Lajung) เป็นพิธีความเชื่อของกลุ่มอูรักลาโวยจ์ ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  เพื่อสะเดาะเคราะห์ และส่งวิญญาณของพี่น้องที่เสียชีวิต ชุมชนอูรักลาโวยจ์กลุ่มบ้านหัวแหลม อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ยังคงสืบสานพิธีกรรมนี้โดยจัดพิธีลอยเรือขึ้นปีละ 2 ครั้ง ในวันขึ้น 13 ค่ำ-แรม 1 ค่ำ เดือน 6 และเดือน 11 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หรือ "ลมพลัด" และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ “ลมออก” เมื่อถึงพิธีลอยเรือ ชาวบ้านหมู่เกาะใกล้เคียงต่างรวมตัวเพื่อเดินทางไปร่วมพิธีลอยเรือที่จัดขึ้น เรือที่สร้างขึ้นประกอบพิธีนั้นจะต้องมีโครงสร้างและรูปแบบเรือที่สืบมาจากเรือปลาจั๊กของบรรพบุรุษ เช่น ไม้ระกำที่เป็นกรรเชียงเรือ 7 คู่ ไม้พาย ฉมวก สามง่าม ที่วิดน้ำเรือ หม้อข้าว เตาไฟ และฆ้องสำหรับให้สัญญานประจำเรือ อย่างละ 1 อัน รวมทั้งรูปฝากซึ่งเป็นตัวแทนของสมาชิกในครัวเรือน และรูปสัตว์ ที่ส่งไปไถ่บาป สิ่งของบางชิ้น เช่น ฉมวก สามง่าย และฆ้องสำหรับให้สัญญาณประจำเรือ ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมบางอย่างที่สูญหายไปในวิถีชีวิตของอูรักลาโวยจ์ในปัจจุบันด้วย ส่วนความพิถีพิถันและตั้งอกตั้งใจในการประดิษฐ์เรือปลาจั๊ก และวัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบของเรือแต่ละชิ้นนั้น แสดงถึงความศรัทธาที่มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ  เป็นสัญลักษณ์ของความสุข ความสะดวกสบาย และอิ่มหนำสำราญที่มอบแก่สิ่งเหนือธรรมชาติ ในระหว่างการเดินทางไปยัง “ฆูนุงฌึรัย” ดินแดนสถานที่สำคัญซึ่งเชื่อว่าเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของบรรพบุรุษ (อาภรณ์ อุกฤษณ์, 2532: 110, 210, 152, 156-157)

ความเชื่อ

อูรักลาโวยจ์เป็นกลุ่มชนที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษและสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นความเชื่อดั้งเดิมของพวกเขา แต่ละกลุ่มจะมีผีบรรพบุรุษประจำกลุ่มที่ยึดถือถือร่วมกันแล้ว และมีผีบรรพบุรุษประจำชุมชนแต่ละชุมชนด้วย ซึ่งพวกเขาเชื่อกันว่าวิญญาณของผีบรรพบุรุษเหล่านั้นจะสิงอยู่ในตัวสัตว์ สถานที่ หรือสิ่งต่าง ๆ เมื่อมีพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีลอยเรือ พิธีแก้บน จะเชิญผีบรรพบุรุษของแต่ละชุมชนหรือประจำกลุ่ม ซึ่งมีความสามสามารถพิเศษเฉพาะตัวมาร่วมในพิธีกรรม การเรียกชื่อผีบรรพบุษจะขึ้นด้วยคำว่า "ดาโต๊ะ" หรือ "โต๊ะ" (โตะ) ซึ่งอูรักลาโวยจ์และชาวมุสลิมภาคใต้ใช้เรียก ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้สูงอายุทั่วไป แล้วตามด้วยชื่อบรรพบุรุษ (อาภรณ์ อุกฤษณ์, 2532: 86)

 

หมู่บ้านของชาวอูรักลาโวยจ์มีศาลประจำหมู่บ้าน ซึ่งพวกเขาเรียกว่า “rumah dato” (บ้านของเทพผู้พิทักษ์) หรือ “balai dato” (ศาลของเทพผู้พิทักษ์) ศาลเหล่านี้มีการตกแต่งที่ได้รับอิทธิพลจากทั้งวัฒนธรรมไทยและจีน โดยจะทำพิธีบูชาที่ศาลเหล่านี้ในช่วงพิธีลอยเรือ หรือในช่วงเวลาที่หมอผีเห็นสมควร พวกเขาเรียกสถานที่เหล่านี้ว่า “kramai” (กามัย-สถานที่ที่มีพลังเหนือธรรมชาติ) เช่นเดียวกับแหลมและสถานที่อื่น ๆ ที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (Hogan, 1972: 216) เช่น ยอดเขา โดยในอดีตเกาะที่มียอดเขาสูงมักถูกเลือกเป็นสถานที่ฝังศพ เกาะเหล่านี้สามารถสังเกตได้จากธงสีขาวจำนวนมากที่ปักล้อมพื้นที่ฝังศพ และจากเศษอาหารที่เหลือเป็นเครื่องสังเวยแด่ผู้ล่วงลับ (Andaya, 2008: 180) ปัจจุบันพบว่ามักมีสถานที่เฉพาะสำหรับฝังศพ เช่นกลุ่มอูรักลาโวยจ์ที่ภูเก็ต พวกเขาฝังร่างผู้เสียชีวิตในสุสานชุมชน ที่เรียกว่า "เปลว" และมีการสร้างหลังคาคลุมหลุมไว้ 

ความเชื่อมโยงกับโบราณคดี

ในการศึกษาทางโบราณคดีเกี่ยวกับกลุ่มชนพื้นเมืองยุคต้นของคาบสมุทรมลายู นักโบราณคดีได้เสนอข้อค้นพบเกี่ยวกับหมู่เกาะนอกชายฝั่งที่เรียกรวมกันว่า Pulau Kelumpang ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ Kuala Selinsing ในรัฐเปรัก โดยได้เสนอความเห็นไว้ว่าหมู่เกาะเหล่านี้มีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ช่วงต้นของยุคสามัญ (Common Era) ชาวเกาะที่นี่สามารถเข้าถึงลูกปัดและเครื่องปั้นดินเผาที่นำเข้า ภายหลังปี 500 CE ชาวเกาะยังสามารถผลิตลูกปัดด้วยตนเอง โดยใช้วัสดุอย่างแก้วและหินกึ่งรัตนชาติ มีการข้อค้นพบลูกปัด เซรามิก และหลุมฝั่งศพเรือแคนูที่นี่ ซึ่งอาจสะท้อนความสำคัญของการเดินเรือในวัฒนธรรมของชาวเกาะ อีกทั้งชาวเกาะเหล่านี้อาจเป็นบรรพบุรุษของอูรักลาโวยจ์และมอแกน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณตอนเหนือของช่องแคบมะละกา โดยชุมชน Kuala Selinsing อาจมีบทบาทในการเปิดเส้นทางการค้าทางทะเลในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับหมู่เกาะนิโคบาร์และอันดามัน (Bulbeck, 2004 อ้างถึงใน Andaya, 2008: 192-193) จากข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงเป็นไปได้ว่ากลุ่มเรือที่เดินทางมาจากทางตะวันตก จะได้พบกับชาวเกาะบนหมู่เกาะดังกล่าวก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่คอคอดกระหรือคาบสมุทรมลายูตอนเหนือ เช่นเดียวกับกลุ่มชนทะเลทางตอนใต้ บรรพบุรุษของอูรักลาโวยจ์และมอแกน อาจมีบทบาทในการลาดตระเวนและนำทางเรือเข้าสู่ท่าเรือหลักในยุคนั้น ซึ่งทางตอนเหนือคือแนวชายฝั่ง “Kalah” รวมถึงพื้นที่สำคัญในรัฐเคดะห์ทางตอนใต้ เครือข่ายการค้าเช่นนี้ได้สร้างประโยชน์ต่ออารยธรรมในพื้นที่คาบสมุทรพม่าและไทย นอกจากนี้อูรักลาโวยจ์และมอแกนยังมีบทบาทสำคัญในฐานะคนกลางค้าขายระหว่างโอรังอัสลีกับชุมชนที่ราบลุ่ม และยังเป็นนักเก็บรวบรวม (collector) ทรัพยากรจากท้องทะเลอีกด้วย (Andaya, 2008: 193)

แกลเลอรี

บรรณานุกรม

1. Andaya, Barbara Watson, Leonard Y. Andaya. (2015). A History of Early Modern Southeast Asia 1400-1830. Cambridge: Cambridge University Press. 2. Andaya, L. Y. (2008). Leaves of the Same Tree: Trade and Ethnicity in the Straits of Melaka. Honolulu: University of Hawaii Press. 3. Barnard, Timothy P. (2007). “Celates, Rayat-Laut, Pirates: The Orang Laut and Their Decline in History.” Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society 80, 2 (December 2007): 33-49. 4. Hogan, David. (1972). “Men of the sea: Coastal tribes of south Thailand’s west coast.” Journey of the Siam society 60: 205-235. 5. Sather, Clifford. (2006). “Sea Nomads and Rainforest Hunter-Gatherers: Foraging Adaptations in the Indo-Malaysian Archipelago.” In The Austronesians: Historical and Comparative Perspectives, 245-286. Edited by Peter Bellwood, James J. Fox and Darrell Tryon. Canberra: ANU Press. 6. Stacey Natasha. (2007). Boats to Burn: Bajo Fishing Activity in the Australian Fishing Zone. Canberra: ANU Press. 7. รัตติยา สาและ. (2561). พินิจภาพสะท้อนที่หลากหลายในต้นฉบับตัวเขียน ‘ฉาอิรสุลตันเมาลานา’. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. 8. อาภรณ์ อุกฤษณ์. (2532). พิธีลอยเรือ: ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมของชาวเล กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหัวแหลม เกาะลันตา กระบี่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จำนวนผู้เข้าชม

350

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

16 ก.ค. 2568

อูรักลาโวยจ์ (Urak Lawoi), โอรังละอุต (Orang Laut)

  • อูรักลาโวยจ์ (Urak Lawoi), โอรังละอุต (Orang Laut)
  • blog-img
    ชื่อชาติพันธุ์
    อูรักลาโวยจ์ (Urak Lawoi), โอรังละอุต (Orang Laut)

    ภาษา
    ออสโตรนีเชียน

    ถิ่นอาศัย
    กลุ่มหมู่เกาะตะวันตก (Western Archipelago) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันในประเทศไทยพบกระจายอยู่ตามหมู่เกาะและชายฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณจังหวัดสตูล กระบี่ และภูเก็ต
  • ประวัติความเป็นมา
  • ประวัติศาสตร์ของรัฐชายฝั่งหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นหมู่เกาะมักกล่าวถึงโอรังละอุต (Orang Laut) กลุ่มชนชาวทะเล ผู้มีบทบาทสำคัญในการลาดตระเวนทางทะเล ปกป้องชายฝั่ง และทำหน้าที่เป็นแนวหน้าในการจัดตั้งและพัฒนาท่าการค้าระหว่างเมือง  พร้อมกันนั้นพวกเขายังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดส่งทรัพยากรทางทะเล เช่น กระดองเต่า ปะการัง สาหร่าย เปลือกหอย และสินค้าอื่น ๆ ไปสู่ตลาด   ซึ่งสามารถสืบย้อนไปถึงรัฐการค้าโบราณต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ (Andaya, 2015: 29)

     

    พื้นที่หมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Island Southeast Asia) มีกลุ่มคนผู้มีวิถีเคลื่อนย้ายตามท้องทะเล พวกเขาได้รับขนาดนามกันว่า “ชนเผ่าเร่ร่อนทางทะเล กลุ่มชนทางทะเล หรือยิปซีทะเล” (sea nomads, sea people or sea gypsies) (Sopher 1977 อ้างถึงใน Stacey, 2007: 7) โดยสามารถแบ่งตามภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และภาษาของกลุ่มคนเหล่านี้อย่างกว้าง ๆ  ประกอบด้วย มอแกนและมอเกล็น (Moken, Moklen), โอรังละอุต (Orang Laut) และซามา บาจาว (Sama Bajau)  (Sather, 2006: 256)

     

    กลุ่มโอรังละอุต (Orang Laut)  มอแกนและมอเกล็น (Moken, Moklen) พบตั้งถิ่นฐานบริเวณกลุ่มหมู่เกาะด้านตะวันตก (Western Archipelago) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า โอรังละอุต (โอรังแปลว่า คน ละอุตแปลว่า ทะเล)  เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มชุมชนชาวทะเลและชุมชนชายฝั่งที่อาศัยอยู่ตามช่องทางเข้าออกทางตอนเหนือและตอนใต้ของช่องแคบมะละกา บริเวณลุ่มน้ำตอนล่างและปากแม่น้ำสายสำคัญในสุมาตรา คาบสมุทรมลายู รวมถึงหมู่เกาะ Riau-Lingga และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้  ส่วนมอแกนและมอเกล็น (Moken, Moklen) เป็นกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกัน พวกเขาอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งและหมู่เกาะทางด้านตะวันตกของคาบสมุทรพม่าและไทย (Andaya, 2008: 173-174) 

     

    อูรักลาโวยจ์ (Urak Lawoi) เป็นกลุ่มย่อยทางตอนเหนือของโอรังละอุต (Orang Laut) พบอาศัยอยู่บนเกาะนอกชายฝั่งตั้งแต่ภูเก็ตไปจนถึงกลุ่มเกาะอาดัง และตามแนวขอบด้านใต้ของเทือกเขาที่กลุ่มมอแกนและมอเกล็น (Moken, Moklen) กระจายตัว (Hogan 1989: 1-2 อ้างถึงใน Sather, 2006: 256) ส่วนซามา บาจาว (Sama Bajau) พบตั้งถิ่นฐานบริเวณหมู่เกาะด้านตะวันออกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Eastern Archipelago) ปัจจุบันพบตั้งถิ่นฐานบริเวณหมู่เกาะประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนและฟิลิปปินส์ (Andaya, Barbara Watson and Andaya, 2015)

     

    ภาษาของกลุ่มชาวทะเลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาอูรักลาโวยจ์ และภาษามอแกน พวกเขาไม่มีภาษาเขียน วิถีชีวิตดั้งเดิมมักล่องเรือเคลื่อนย้ายไปมา โดยตั้งถิ่นฐานตามชายฝั่งทะเลเฉพาะช่วงฤดูมรสุม และย้ายถิ่นหากินไปอาศัยชั่วคราวบริเวณหมู่เกาะต่าง ๆ ตามฤดูกาล แล้วหวนกลับถิ่นเดิมในฤดูกาลเดียวกันของทุกปี บางครั้งเมื่อหวนกลับมายังถิ่นเดิมปรากฏว่าชนกลุ่มอื่นเข้ามาครอบครองจึงต้องหาแหล่งใหม่ บางครั้งต้องอพยพเพราะถูกคนต่างกลุ่มรุกราน (อาภรณ์ อุกฤษณ์, 2532: 18, 21, 23)

     

    จากบันทึกทางประวัติศาสตร์พบบทบาทของโอรังละอุตในแง่มุมต่าง ๆ บางแง่มุมได้รับตำแหน่งเกียรติยศ การเข้าถึงสินค้า และการแต่งงานกับราชวงศ์ สามารถดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เช่น Laksamana (พลเรือเอก) ในมะละกา อย่างไรก็ตามบางแง่มุมก็พบว่ามักถูกรุกรานจากกลุ่มชนอื่น เกิดความหวาดกลัวจนต้องอพยพเคลื่อนย้าย ซึ่งแม้จะให้ภาพลักษณ์ที่ขัดแย้งกัน แต่โอรังละอุตมีกลุ่มย่อยจำนวนมาก และมีเพียงส่วนน้อยที่ติดตามเจ้าผู้ปกครอง ในขณะที่กลุ่มโอรังละอุตส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตล่องเรืออย่างอิสระในทะเล (Barnard, 2007: 38)

     

    มีตำนานอูรักลาโวยจ์หลายเรื่องที่กล่าวถึงความเป็นมาของกลุ่มชนชาวทะเลที่อพยพมาสู่น่านน้ำไทย ตำนานหนึ่งของชาวอูรักลาโวยจ์ระบุว่าบ้านเกิดของพวกเขาอยู่ที่เกาะลังกาวี ขณะที่อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงต้นกำเนิดของพวกเขาแถบภูเขาฆูนุงฌึรัย (Gunung Jerai) หรือยอดเขาเคดะห์ (Kedah) การอพยพย้ายถิ่นของพวกเขามักถูกอธิบายว่า “พวกเขาหวาดกลัวจากภายคุกคามต่าง ๆ” จึงได้อพยพเคลื่อนย้าย การมีอยู่ของตำนานที่เชื่อมโยงอูรักลาโวยจ์กับเคดะห์ อาจเกิดจากความสัมพันธ์ทางการค้าในยุคต้นระหว่างกลุ่มชนทะเลนี้กับผู้คนในเคดะห์ โดยฆูนุงฌึรัย เป็นจุดสังเกตที่สามารถมองเห็นได้ง่ายสำหรับนักเดินเรือในยุคต้น เมื่อพวกเขาเดินทางมายังชายฝั่งด้านตะวันตกของคอคอดกระหรือคาบสมุทรมลายูตอนเหนือ บันทึกจากประวัติศาสตร์ยุคแรกเรียกชายฝั่งนี้ว่า Kalah (ภาษาอาหรับ) Kataha (สันสกฤต) และ Kadaram (ทมิฬ) ซึ่งช่วงเวลาต่าง ๆ ในอดีต ท่าเรือต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ทางตอนใต้ของรัฐเคดะห์ เคยเป็นจุดแวะพักของนักเดินทางจากตะวันตก พวกเขามาที่นี่เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าก่อนเดินทางกลับ หรือเพื่อจัดหาเสบียงสำหรับเดินทางต่อ (Andaya, 2008: 174)

     

    บันทึกแรกสุดของตะวันตกเกี่ยวกับชนกลุ่มนี้ คือบันทึก  Suma Oriental  โดย Tome Pires ศตวรรษที่ 16 ในช่วงโปรตุเกสปกครองมะละกา เขาเรียกกลุ่มชาวทะเลบริเวณช่องแคบว่า “Celates” เป็นกลุ่มโจรสลัดที่ออกปล้นสะดมและภักดีต่อเจ้าผู้ปกครองเมืองมะละกา  ในบันทึกของชาวตะวันตกผ่านกลุ่มชาวโปรตุเกสยังได้อธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าผู้ปกครองกับโอรังละอุตไว้ว่า มีลักษณะในเชิงอุปถัมภ์และการเป็นคู่ค้า (patron-client) ซึ่งสามารถสืบย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ก่อนมะละกา อย่าง Palembang จากอาณาจักรศรีวิชัย บันทึกประวัติศาสตร์ของมะละกาในศตวรรษที่ 16  “the Sejarah Melayu” ได้บันทึกถึงเจ้าชายพลัดถิ่นจาก Palembang นาม Paramesvara ผู้ได้อพยพมาตั้งเมืองที่มะละกา พร้อมกับผู้ติดตามชาวโอรังละอุต  เรื่องเล่าดังกล่าวได้สะท้อนถึงความภักดีของโอรังละอุตต่อเจ้าผู้ปกครอง และบทบาทสำคัญในการพัฒนารัฐการค้า (Barnard, 2007: 35-37) ในขณะที่บริเวณภาคใต้ของไทย พบบันทึกการตั้งถิ่นฐานของโอรังละอุต ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ของกวีจากราชสำนักไทรบุรีในศึกกู้เมืองถลาง (Ujung Salang, พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2354)  มีการกล่าวยกย่องกลุ่มชนทางทะเลพื้นเมือง ซึ่งอาศัยอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน ในความสามารถและความกล้าหาญช่วยราชสำนักสยามและไทรบุรีต่อต้านการโจมตีจากพม่าได้สำเร็จ (Andaya, 2015: 292; รัตติยา สาและ, 2561)

  • วัฒนธรรมที่สำคัญ
  • พิธีลอยเรือที่เรียกว่าปลาจั๊ก (Belajak) หรือลาจัง (Lajung) เป็นพิธีความเชื่อของกลุ่มอูรักลาโวยจ์ ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  เพื่อสะเดาะเคราะห์ และส่งวิญญาณของพี่น้องที่เสียชีวิต ชุมชนอูรักลาโวยจ์กลุ่มบ้านหัวแหลม อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ยังคงสืบสานพิธีกรรมนี้โดยจัดพิธีลอยเรือขึ้นปีละ 2 ครั้ง ในวันขึ้น 13 ค่ำ-แรม 1 ค่ำ เดือน 6 และเดือน 11 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ หรือ "ลมพลัด" และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ “ลมออก” เมื่อถึงพิธีลอยเรือ ชาวบ้านหมู่เกาะใกล้เคียงต่างรวมตัวเพื่อเดินทางไปร่วมพิธีลอยเรือที่จัดขึ้น เรือที่สร้างขึ้นประกอบพิธีนั้นจะต้องมีโครงสร้างและรูปแบบเรือที่สืบมาจากเรือปลาจั๊กของบรรพบุรุษ เช่น ไม้ระกำที่เป็นกรรเชียงเรือ 7 คู่ ไม้พาย ฉมวก สามง่าม ที่วิดน้ำเรือ หม้อข้าว เตาไฟ และฆ้องสำหรับให้สัญญานประจำเรือ อย่างละ 1 อัน รวมทั้งรูปฝากซึ่งเป็นตัวแทนของสมาชิกในครัวเรือน และรูปสัตว์ ที่ส่งไปไถ่บาป สิ่งของบางชิ้น เช่น ฉมวก สามง่าย และฆ้องสำหรับให้สัญญาณประจำเรือ ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมบางอย่างที่สูญหายไปในวิถีชีวิตของอูรักลาโวยจ์ในปัจจุบันด้วย ส่วนความพิถีพิถันและตั้งอกตั้งใจในการประดิษฐ์เรือปลาจั๊ก และวัตถุที่ใช้เป็นส่วนประกอบของเรือแต่ละชิ้นนั้น แสดงถึงความศรัทธาที่มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ  เป็นสัญลักษณ์ของความสุข ความสะดวกสบาย และอิ่มหนำสำราญที่มอบแก่สิ่งเหนือธรรมชาติ ในระหว่างการเดินทางไปยัง “ฆูนุงฌึรัย” ดินแดนสถานที่สำคัญซึ่งเชื่อว่าเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของบรรพบุรุษ (อาภรณ์ อุกฤษณ์, 2532: 110, 210, 152, 156-157)

  • ความเชื่อ
  • อูรักลาโวยจ์เป็นกลุ่มชนที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษและสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นความเชื่อดั้งเดิมของพวกเขา แต่ละกลุ่มจะมีผีบรรพบุรุษประจำกลุ่มที่ยึดถือถือร่วมกันแล้ว และมีผีบรรพบุรุษประจำชุมชนแต่ละชุมชนด้วย ซึ่งพวกเขาเชื่อกันว่าวิญญาณของผีบรรพบุรุษเหล่านั้นจะสิงอยู่ในตัวสัตว์ สถานที่ หรือสิ่งต่าง ๆ เมื่อมีพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีลอยเรือ พิธีแก้บน จะเชิญผีบรรพบุรุษของแต่ละชุมชนหรือประจำกลุ่ม ซึ่งมีความสามสามารถพิเศษเฉพาะตัวมาร่วมในพิธีกรรม การเรียกชื่อผีบรรพบุษจะขึ้นด้วยคำว่า "ดาโต๊ะ" หรือ "โต๊ะ" (โตะ) ซึ่งอูรักลาโวยจ์และชาวมุสลิมภาคใต้ใช้เรียก ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้สูงอายุทั่วไป แล้วตามด้วยชื่อบรรพบุรุษ (อาภรณ์ อุกฤษณ์, 2532: 86)

     

    หมู่บ้านของชาวอูรักลาโวยจ์มีศาลประจำหมู่บ้าน ซึ่งพวกเขาเรียกว่า “rumah dato” (บ้านของเทพผู้พิทักษ์) หรือ “balai dato” (ศาลของเทพผู้พิทักษ์) ศาลเหล่านี้มีการตกแต่งที่ได้รับอิทธิพลจากทั้งวัฒนธรรมไทยและจีน โดยจะทำพิธีบูชาที่ศาลเหล่านี้ในช่วงพิธีลอยเรือ หรือในช่วงเวลาที่หมอผีเห็นสมควร พวกเขาเรียกสถานที่เหล่านี้ว่า “kramai” (กามัย-สถานที่ที่มีพลังเหนือธรรมชาติ) เช่นเดียวกับแหลมและสถานที่อื่น ๆ ที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (Hogan, 1972: 216) เช่น ยอดเขา โดยในอดีตเกาะที่มียอดเขาสูงมักถูกเลือกเป็นสถานที่ฝังศพ เกาะเหล่านี้สามารถสังเกตได้จากธงสีขาวจำนวนมากที่ปักล้อมพื้นที่ฝังศพ และจากเศษอาหารที่เหลือเป็นเครื่องสังเวยแด่ผู้ล่วงลับ (Andaya, 2008: 180) ปัจจุบันพบว่ามักมีสถานที่เฉพาะสำหรับฝังศพ เช่นกลุ่มอูรักลาโวยจ์ที่ภูเก็ต พวกเขาฝังร่างผู้เสียชีวิตในสุสานชุมชน ที่เรียกว่า "เปลว" และมีการสร้างหลังคาคลุมหลุมไว้ 

  • ความเชื่อมโยงกับโบราณคดี
  • ในการศึกษาทางโบราณคดีเกี่ยวกับกลุ่มชนพื้นเมืองยุคต้นของคาบสมุทรมลายู นักโบราณคดีได้เสนอข้อค้นพบเกี่ยวกับหมู่เกาะนอกชายฝั่งที่เรียกรวมกันว่า Pulau Kelumpang ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำ Kuala Selinsing ในรัฐเปรัก โดยได้เสนอความเห็นไว้ว่าหมู่เกาะเหล่านี้มีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ช่วงต้นของยุคสามัญ (Common Era) ชาวเกาะที่นี่สามารถเข้าถึงลูกปัดและเครื่องปั้นดินเผาที่นำเข้า ภายหลังปี 500 CE ชาวเกาะยังสามารถผลิตลูกปัดด้วยตนเอง โดยใช้วัสดุอย่างแก้วและหินกึ่งรัตนชาติ มีการข้อค้นพบลูกปัด เซรามิก และหลุมฝั่งศพเรือแคนูที่นี่ ซึ่งอาจสะท้อนความสำคัญของการเดินเรือในวัฒนธรรมของชาวเกาะ อีกทั้งชาวเกาะเหล่านี้อาจเป็นบรรพบุรุษของอูรักลาโวยจ์และมอแกน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณตอนเหนือของช่องแคบมะละกา โดยชุมชน Kuala Selinsing อาจมีบทบาทในการเปิดเส้นทางการค้าทางทะเลในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับหมู่เกาะนิโคบาร์และอันดามัน (Bulbeck, 2004 อ้างถึงใน Andaya, 2008: 192-193) จากข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงเป็นไปได้ว่ากลุ่มเรือที่เดินทางมาจากทางตะวันตก จะได้พบกับชาวเกาะบนหมู่เกาะดังกล่าวก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่คอคอดกระหรือคาบสมุทรมลายูตอนเหนือ เช่นเดียวกับกลุ่มชนทะเลทางตอนใต้ บรรพบุรุษของอูรักลาโวยจ์และมอแกน อาจมีบทบาทในการลาดตระเวนและนำทางเรือเข้าสู่ท่าเรือหลักในยุคนั้น ซึ่งทางตอนเหนือคือแนวชายฝั่ง “Kalah” รวมถึงพื้นที่สำคัญในรัฐเคดะห์ทางตอนใต้ เครือข่ายการค้าเช่นนี้ได้สร้างประโยชน์ต่ออารยธรรมในพื้นที่คาบสมุทรพม่าและไทย นอกจากนี้อูรักลาโวยจ์และมอแกนยังมีบทบาทสำคัญในฐานะคนกลางค้าขายระหว่างโอรังอัสลีกับชุมชนที่ราบลุ่ม และยังเป็นนักเก็บรวบรวม (collector) ทรัพยากรจากท้องทะเลอีกด้วย (Andaya, 2008: 193)
  • คลังภาพ
  • บรรณานุกรม
    1. Andaya, Barbara Watson, Leonard Y. Andaya. (2015). A History of Early Modern Southeast Asia 1400-1830. Cambridge: Cambridge University Press. 2. Andaya, L. Y. (2008). Leaves of the Same Tree: Trade and Ethnicity in the Straits of Melaka. Honolulu: University of Hawaii Press. 3. Barnard, Timothy P. (2007). “Celates, Rayat-Laut, Pirates: The Orang Laut and Their Decline in History.” Journal of the Malaysian Branch of the Royal Asiatic Society 80, 2 (December 2007): 33-49. 4. Hogan, David. (1972). “Men of the sea: Coastal tribes of south Thailand’s west coast.” Journey of the Siam society 60: 205-235. 5. Sather, Clifford. (2006). “Sea Nomads and Rainforest Hunter-Gatherers: Foraging Adaptations in the Indo-Malaysian Archipelago.” In The Austronesians: Historical and Comparative Perspectives, 245-286. Edited by Peter Bellwood, James J. Fox and Darrell Tryon. Canberra: ANU Press. 6. Stacey Natasha. (2007). Boats to Burn: Bajo Fishing Activity in the Australian Fishing Zone. Canberra: ANU Press. 7. รัตติยา สาและ. (2561). พินิจภาพสะท้อนที่หลากหลายในต้นฉบับตัวเขียน ‘ฉาอิรสุลตันเมาลานา’. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. 8. อาภรณ์ อุกฤษณ์. (2532). พิธีลอยเรือ: ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมของชาวเล กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหัวแหลม เกาะลันตา กระบี่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.


    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 16 ก.ค. 2568
    จำนวนผู้เข้าชม : 350