หน้าแรก ผู้คนและชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ จาไฮ (Jahai), โอรังอัสลี (Orang Asli)

จาไฮ (Jahai), โอรังอัสลี (Orang Asli)

จาไฮ (Jahai), โอรังอัสลี (Orang Asli)

ภาษา ออสโตรเอเชียติก
ถิ่นอาศัย คาบสมุทรมลายู ในประเทศไทยพบตั้งถิ่นฐานลึกเข้าไปบริเวณตอนในของแผ่นดิน (Inland) บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรีของทางภาคใต้

ประวัติความเป็นมา

โอรังอัสลี (Orang Asli) ถือเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่คาบสมุทรมลายู คำว่า “โอรังอัสลี” ในภาษามลายูแปลว่า “คนดั้งเดิม” (โอรัง แปลว่า คน และ อัสลี แปลว่า ดั้งเดิม) ถือเป็นคำเรียกที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ในประเทศมาเลเซียคำนี้เป็นคำเรียกโดยรวมกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองทุกกลุ่ม ทั้งนี้มีชื่อเฉพาะเรียกกลุ่มโอรังอัสลีผู้พูดภาษาออสโตรเอเชียติก ที่มีถิ่นที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลาและนราธิวาสกันว่า “จาไฮ” (the Jahai) ในขณะที่กลุ่มซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง สงขลา  และสตูล จะเรียกกันว่า “มานิ” หรือ “มันนิ” (the Maniq) ทั้งสองกลุ่มนี้ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนในของแผ่นดิน (inland) บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรีและเทือกเขาบรรทัด ดำรงชีวิตมาอย่างยาวนานในป่าเขาทางภาคใต้ของประเทศไทย (นฤมล ขุนวีช่วย, 2568: ออนไลน์)

 

สังคมไทยคุ้นเคยเรียกชาติพันธุ์กลุ่มนี้ว่า “เงาะป่า” หรือ “ซาไก” มีความทรงจำและบันทึกเรื่องราวของพวกเขา โดยเฉพาะผ่าน  “คนัง” มหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 ที่ทรงรับเลี้ยงมาจากทางภาคใต้  เรื่องราวของเขากลายเป็นบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ เด็กชายผิวคล้ำดำ หัวหยิกขด ไม่แต่งตัวใส่เสื้อผ้า เป็นคนป่าอยู่ห่างไกลผู้กินอยู่ไม่เข้าใจขนบเมืองกรุง ต่างรูปต่างภาษาซึ่งผู้คนในเมืองไม่เคยพบเห็น  (กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม, 2567: ออนไลน์; โรม บุญนาค, 2568: ออนไลน์) คนังจึงประหนึ่งคนที่ทั้งเข้าไปและออกมาจากวรรณคดีเรื่อง “เงาะป่า” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งกลายเป็นภาพจำของชาติพันธุ์กลุ่มนี้มาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้สังคมไทยพอคุ้นเคยเรื่องราวของชาติพันธุ์กลุ่มนี้ผ่านนิทานพื้นบ้านต่างๆ  เช่น “เจ้าเงาะ” ในเรื่องสังข์ทอง ตัวเอกผู้มีท่าทางตลกขบขัน ถูกมองว่าบ้าใบ้ไม่รู้ความและชอบดอกไม้สีแดง อย่างไรก็ตามบางภาพจำเป็นมายาคติและเหมารวม จากการขาดความเข้าใจและการเห็นใจความแตกต่างของกลุ่มคนอื่น  อีกทั้งย่างก้าวของชาติพันธุ์กลุ่มนี้ในปัจจุบันหลายๆ ด้านแตกต่างจากภาพจำเหล่านั้น  จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่กำลังรอให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจอัตลักษณ์และการเปลี่ยนแปลงของพวกเขา บนพื้นฐานของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน

 

ทั้งนี้การเรียก “เงาะ” หรือ “ซาไก” ปัจจุบันนี้ในแง่วิชาการไม่นิยมเรียกกันเช่นนี้แล้ว เนื่องจากมีความเห็นว่าสร้างการรับรู้ในแง่ลบ สื่อถึงการเป็นทาสหรือการล้อเลียนตลกขบขัน และพวกเขาเองไม่ได้นิยามตัวเองเช่นนั้น นักวิชาการรุ่นอาณานิคมเรียกชาวโอรังอัสลีหลายๆ กลุ่มว่าชาวนิกริโต (Negrito) ในขณะที่ชาวมาเลย์เรียกชื่อพวกเขารวมๆ ว่า “เซมัง” (the Semang) ในกลุ่มเหล่านี้นอกจากจะมีชาวจาไฮอยู่ด้วยแล้ว ยังมีกลุ่มชนอื่น เช่น Bateq,  Kensiu, Kintak,  Lanoh, Mendriq (Porath, 2010: 267 อ้างถึงใน บัณฑิต ไกลวิจิตร, 2564: 58-59) ทั้งนี้คำเรียกต่างๆ มักเป็นสิ่งที่ผู้อื่นตั้งให้พวกเขา   

 

กลุ่มจาไฮใช้ชีวิตส่วนใหญ่แบบย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ มีการข้ามแดนไปมาตามผืนป่าระหว่างชายแดนไทยและมาเลเซีย ซึ่งมีระบบนิเวศเป็นป่าดิบชื้นเขตร้อน (tropical rain forest) พื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันคืออุทยานแห่งชาติบางลางและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส และอุทยานแห่งชาติเบอลุม ประเทศมาเลเซีย ป่าดังกล่าวถือเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง (บัณฑิต ไกลวิจิตร, 2564: 53, 75)

 

วิถีดั้งเดิมของพวกเขาคือ “กินอยู่กับธรรมชาติ” ขุดหาอาหารจำพวกเผือกและมันชนิดต่างๆ และล่าสัตว์ขนาดเล็ก ชีวิตในป่าไม่ได้ตั้งถิ่นฐานถาวร ได้ย้ายถิ่นฐานตามสัตว์และพืชผลในป่าไปเรื่อยๆ ตามความอุดมสมบูรณ์และสภาพอากาศระหว่างผืนป่าไทยและมาเลเซีย ชีวิตของพวกเขาอิงตามนาฬิกาธรรมชาติ วันเวลากิจวัตรต่างๆ เป็นไปตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือฤดูกาลที่หมุนเวียนไป อาศัยองค์ความรู้ที่สั่งสมกันมาและการชี้แนะจากผู้อาวุโสซึ่งถือเป็นปราชญ์ในเผ่า เป็นองค์ความรู้อย่างหนึ่งเพื่อเอาชีวิตรอด เพื่อพิจารณาว่าสิ่งไหน กินได้ กินไม่ได้ ประดิษฐ์เครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นเอง เช่น ลูกดอกยาพิษไว้ล่าสัตว์ ไปจนถึงงานหัตถกรรมที่มีความสวยงาม ซึ่งน้อยคนจะเคยพบเห็น เช่น หวีไม้ไผ่ที่เหล่าหญิงสาวใช้ พวกเขารู้ว่าพืชชนิดใดเป็นสมุนไพร สามารถรักษาด้วยยาที่หาได้ในผืนป่า จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในป่า ไม่จำเป็นต้องออกมาข้างนอกโดยเฉพาะในหมู่สตรีและเด็ก ในขณะที่ผู้ชาย นานครั้งจะออกจากป่าเพื่อมาแลกเปลี่ยนสิ่งของ หรือเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะถือเป็นช่วงทำงานของเหล่าชายหนุ่ม พวกเขาจะลงมาจาก “ฮายะอ์” เพิงที่พักในป่าเขา มาเป็นลูกจ้างแรงงานแลกข้าวสาร อาหารแห้ง หรือยาสูบ โดยจะนำกลับไปแจกจ่ายเท่าๆ กันให้สมาชิก ตามคติสำคัญของพวกเขาที่ทุกอย่างที่หามาได้ ต้องแบ่งให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม

วัฒนธรรมที่สำคัญ

จาไฮอาศัยอยู่ในผืนป่าโดยอยู่รวมเป็นกลุ่ม (commune) ในลักษณะเครือญาติ พวกเขามีแนวคิดที่ว่าอาหารทุกอย่างที่หามาได้ต้องแบ่งให้ทุกคนในเผ่า ซึ่งแนวคิดดังกล่าวช่วยให้ทุกคนในเผ่ามีโอกาสรอดมากขึ้น ชาวจาไฮไม่มีภาษาเขียนแต่มีศิลปะลวดลาย อยู่ในอาวุธและของขวัญ (gift) ที่ผู้ชายทำให้แก่ภรรยา ในอดีตเครื่องมือล่าสัตว์ส่วนใหญ่ทำจากไม้ไผ่ เรียกว่า “เบอเลา” “บอเลา” หรือ “บลาว” ทำมาจากไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ 2.5 เมตร ใส่ลูกดอกอาบยาพิษเรียกว่า “บีลา” ยาพิษเป็นยางไม้ที่เรียกกันว่า “อีโป๊ะ” หรือที่คนไทยเรียก “ยางน่อง” เครื่องมีเหล่านี้ต้องฝึกจนชำนาญและต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยจะยิงเฉพาะบริเวณหัวของสัตว์ เนื้อในส่วนร่างกายเก็บไว้เป็นอาหาร (บัณฑิต ไกลวิจิตร, 2564: 53, 87)

 

วิถีชีวิตของจาไฮนั้นสัมพันธ์กับผืนป่าเป็นอย่างมาก ทรัพยากรจากผืนป่าถือเป็นยารักษาเมื่อยามเจ็บไข้ และเป็นสินค้าที่นำไปใช้แลกเปลี่ยนตั้งแต่อดีต พวกเขามีความรู้ด้านสมุนไพรและสัตว์ป่าซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาสำคัญที่ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตในป่ามาอย่างยาวนาน ชาวบ้านรอบผืนป่ารับรู้ถึงสรรพคุณยารักษาของจาไฮ และเชื่อว่าสามารถรักษาโรคภัยต่างๆ ได้  โดยเฉพาะสมุนไพรบำรุงสำหรับเพศชาย ถือเป็นที่เลื่องลือในหมู่คนพื้นที่ราบ (เพิ่งอ้าง, 2562: 85) 

 

ในด้านการแต่งกายกลุ่มหญิงสาวจาไฮแม้ปัจจุบันนิยมแต่งกายตามสมัยมากขึ้น แต่มักจะคาดหวีไม้ไผ่ที่ผมไว้เสมอ หวีเหล่านี้เป็นหวีที่ชายหนุ่มมักนำมามอบให้กับหญิงสาว สลักลวดลายเรขาคณิตที่ซ้ำกันจนเป็นลวดลายสวยงาม พวกเขามักสลักลวดลายเหล่านี้ไว้บนสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำจากไม้ไผ่ เช่น กระบอกไม้ไผ่บรรจุลูกดอก (เพิ่งอ้าง, 2562: 114)

ความเชื่อ

จาไฮมีการนับถือผู้มีอำนาจศักดิ์สิทธิสูงสุดคนเดียวกัน เป็นทั้งพระเจ้า ศาสดา และบรรพบุรุษผู้เป็นต้นกำเนิดของพวกเขา เรียกว่า "อลึจ" (Aluj) โดยจะขอให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง ล่าสัตว์ได้โดยง่าย และขอให้ช่วยรักษาให้เมื่อเจ็บไข้ ควบคู่กับการกินยาสมุนไพรและวิธีการรักษาที่ผู้อาวุโสเยียวยา มีการท่องเวทย์มนต์คาถาต่างๆ ทำให้เกิดสิ่งที่ดีและทำให้เกิดสิ่งให้ร้ายได้ (บัณฑิต ไกลวิจิตร, 2562: 70, 73)

 

พวกเขามีความเชื่อเรื่องโลกคนเป็นกับโลกคนตาย สมาชิกในกลุ่มที่เสียชีวิตจะเดินทางไปอยู่ในอีกโลกหนึ่ง ในการจัดการเกี่ยวกับผู้ตายจะใช้เสื่อห่อหุ้มศพวางไว้ในป่า และสมาชิกที่เหลือจะต้องย้ายถิ่นไปอยู่ที่อื่น หากไม่อย่างนั้นผู้ตายจะคอยติดตามคนในกลุ่มไม่เดินทางไปสู่โลกคนตาย ปัจจุบันมีตำแหน่งในป่าที่ตั้งเป็นสุสานของกลุ่ม เมื่อมีใครตายก็จะแบกศพไปฝังไว้ที่นั้น และมักหลีกเลี่ยงเดินทางไปบริเวณนั้น (เพิ่งอ้าง, 2562: 71)

ความเชื่อมโยงกับโบราณคดี

กลุ่มคนโอรังอัสลีมีการแลกเปลี่ยนกับโลกภายนอกมาตั้งแต่อดีตกาล โดยหลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าในยุคโฮบินห์ (Hoabinhian period) บนคาบสมุทรมลายู กลุ่มโอรังอัสลีเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเปลือกหอยชายฝั่ง (coastal shells) ซึ่งเปลือกหอยเหล่านี้ถูกนำมาแลกเปลี่ยนกับผลิตภัณฑ์จากป่า กลุ่มโอรังอัสลีมีบทบาทเป็นผู้เก็บสินค้าจากป่า (collectors) โดยการค้าเช่นนี้ได้ขยายไปสู่ชุมชนที่ห่างไกลออกไปถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทยเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช การค้าทางทะเลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากป่ายังคงเฟื่องฟูต่อเนื่องไปจนถึงช่วงการก่อตั้งมะละกาในปลายศตวรรษที่ 15 โดยได้รับการส่งเสริมจากรัฐโบราณสำคัญในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศไทย คอคอดกระ และตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู พ่อค้าและเจ้าผู้ปกครองในอดีตได้พึ่งพาความรู้ของโอรังอัสลีในการหาแหล่งสินค้าและกำหนดเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งสินค้าจากป่าที่สำคัญ เช่น ยางไม้ ไม้หอม และหวาย (Andaya, 2008: 218-219) นอกจากนี้ยังพบเรื่องราวของพวกเขาจากแง่มุมภายนอก ซึ่งพบในวรรณกรรมของชาวดัตช์เรื่อง “The Adventures of John Smith in Malaya: 1600-1605” ได้กล่าวถึงโอรังอัสลี กลุ่มเซมัง (Semang) ไว้ว่า เป็นกองธนูผู้รับใช้ราชินีแห่งปัตตานี โดยใช้อาวุธลูกธนูที่มีปลายเป็นโลหะอาบยาพิษ (Brandt, 1961: 124) ประเทศไทยมีการขุดค้นทางโบราณคดีเกี่ยวกับโอรังอัสลีบริเวณภาคใต้ตอนบน เช่น ที่ถ้ำซาไก จังหวัดตรัง จากการวิเคราะห์ตีความโครงกระดูกคน สัตว์ ภาชนะ และเครื่องมือหินที่พบ ได้นำไปสู่หลักฐานการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนที่คล้ายคลึงกับกลุ่มคนโอรังอัสลีในปัจจุบัน เช่น พบข้อสังเกตว่าสัตว์ต่างๆ ที่คนกลุ่มนี้ล่า ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ถูกล่าโดยใช้อาวุธไม้ เช่น ที่ดักจับสัตว์ ธนู หน้าไม้หรือไม้ซาง มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มโอรังอัสลี จ.ตรังที่เคยอาศัยอยู่ในถ้ำนี้และบริเวณใกล้เคียงใช้ล่าสัตว์ต่างๆ ส่วนหอยที่พบในยุคนี้ส่วนใหญ่เป็นหอยตามหนองและลำธาร ยกเว้นหอยเบี้ย (Cypraca sp) และหอยแมลงภู่ (Perna sp) ซึ่งเป็นหอยทะเล ในขณะที่สภาพภูมิศาสตร์ปัจจุบันนั้นถ้ำซาไกอยู่ห่างจากพื้นที่ทะเล ดังนั้นหอยทะเลทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว อาจเป็นของมีค่าสำหรับคนก่อนประวัติศาสตร์ที่นำมาทำเป็นเครื่องประดับ จึงพบร่วมกับกับโครงกระดูกที่ฝั่งไว้ในถ่ำแห่งนี้ (สุรินทร์ ภู่ขจร และคณะ, 2539: 172-173)

แกลเลอรี

บรรณานุกรม

1. Andaya, L. Y. (2008). Leaves of the Same Tree: Trade and Ethnicity in the Straits of Melaka. Honolulu: University of Hawaii Press. 2. Brandt, J. H. (1961). “The Negritos of Peninsular Thailand.” Journal of the Siam Society. 49, 2: 123–160. 3. กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. (2567). “นายคนัง มหาดเล็ก” จาก “ก็อย” อาศัยในป่า สู่มหาดเล็กตัวน้อยในร.5 ราชสำนักฮือฮา. เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2568. เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_65016https://www.silpa-mag.com/history/article_65016 4. นฤมล ขุนวีช่วย. (2568). มานิ. เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม. เข้าถึงได้จาก https://ethnicity.sac.or.th/database-ethnic/200 5. บัณฑิต ไกรวิจิตร. (2562). โครงการชาวโอรังอัสลี ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน). 6. บัณฑิต ไกรวิจิตร. (2564). “ชาวโอรังอัสลี กลุ่มจาไฮ จังหวัดยะลา-นราธิวาส: การวิจัยสำรวจภาคสนามเบื้องต้น”. วารสารมานุษยวิทยา. 4, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม): 53-108. 7. โรม บุญนาค. (2568). “คนัง” เงาะป่าผู้ทะยานด้วยวาสนา มาเป็นมหาดเล็กพิเศษ “คุณพ่อหลวง” ร.๕!!! โดย โรม บุนนาค. เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน. เข้าถึงได้จากhttps://www.finearts.go.th/kamphaengphethistoricalpark/view/9621- -คนัง--เงาะป่าผู้ทะยานด้วยวาสนา-มาเป็นมหาดเล็กพิเศษ--คุณพ่อหลวง--ร-๕----โดย-โรม-บุนนาค 8. สุรินทร์ ภู่ขจร และคณะ. (2539). รายงานขั้นสรุปการขุดค้นที่ถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่, ถ้ำซาไก จ.ตรัง และการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดีชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก จ.ตรัง. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย.

จำนวนผู้เข้าชม

383

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

16 เม.ย. 2568

จาไฮ (Jahai), โอรังอัสลี (Orang Asli)

  • จาไฮ (Jahai), โอรังอัสลี (Orang Asli)
  • blog-img
    ชื่อชาติพันธุ์
    จาไฮ (Jahai), โอรังอัสลี (Orang Asli)

    ภาษา
    ออสโตรเอเชียติก

    ถิ่นอาศัย
    คาบสมุทรมลายู ในประเทศไทยพบตั้งถิ่นฐานลึกเข้าไปบริเวณตอนในของแผ่นดิน (Inland) บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรีของทางภาคใต้
  • ประวัติความเป็นมา
  • โอรังอัสลี (Orang Asli) ถือเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่คาบสมุทรมลายู คำว่า “โอรังอัสลี” ในภาษามลายูแปลว่า “คนดั้งเดิม” (โอรัง แปลว่า คน และ อัสลี แปลว่า ดั้งเดิม) ถือเป็นคำเรียกที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ในประเทศมาเลเซียคำนี้เป็นคำเรียกโดยรวมกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองทุกกลุ่ม ทั้งนี้มีชื่อเฉพาะเรียกกลุ่มโอรังอัสลีผู้พูดภาษาออสโตรเอเชียติก ที่มีถิ่นที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลาและนราธิวาสกันว่า “จาไฮ” (the Jahai) ในขณะที่กลุ่มซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง สงขลา  และสตูล จะเรียกกันว่า “มานิ” หรือ “มันนิ” (the Maniq) ทั้งสองกลุ่มนี้ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนในของแผ่นดิน (inland) บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรีและเทือกเขาบรรทัด ดำรงชีวิตมาอย่างยาวนานในป่าเขาทางภาคใต้ของประเทศไทย (นฤมล ขุนวีช่วย, 2568: ออนไลน์)

     

    สังคมไทยคุ้นเคยเรียกชาติพันธุ์กลุ่มนี้ว่า “เงาะป่า” หรือ “ซาไก” มีความทรงจำและบันทึกเรื่องราวของพวกเขา โดยเฉพาะผ่าน  “คนัง” มหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 ที่ทรงรับเลี้ยงมาจากทางภาคใต้  เรื่องราวของเขากลายเป็นบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ เด็กชายผิวคล้ำดำ หัวหยิกขด ไม่แต่งตัวใส่เสื้อผ้า เป็นคนป่าอยู่ห่างไกลผู้กินอยู่ไม่เข้าใจขนบเมืองกรุง ต่างรูปต่างภาษาซึ่งผู้คนในเมืองไม่เคยพบเห็น  (กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม, 2567: ออนไลน์; โรม บุญนาค, 2568: ออนไลน์) คนังจึงประหนึ่งคนที่ทั้งเข้าไปและออกมาจากวรรณคดีเรื่อง “เงาะป่า” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งกลายเป็นภาพจำของชาติพันธุ์กลุ่มนี้มาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้สังคมไทยพอคุ้นเคยเรื่องราวของชาติพันธุ์กลุ่มนี้ผ่านนิทานพื้นบ้านต่างๆ  เช่น “เจ้าเงาะ” ในเรื่องสังข์ทอง ตัวเอกผู้มีท่าทางตลกขบขัน ถูกมองว่าบ้าใบ้ไม่รู้ความและชอบดอกไม้สีแดง อย่างไรก็ตามบางภาพจำเป็นมายาคติและเหมารวม จากการขาดความเข้าใจและการเห็นใจความแตกต่างของกลุ่มคนอื่น  อีกทั้งย่างก้าวของชาติพันธุ์กลุ่มนี้ในปัจจุบันหลายๆ ด้านแตกต่างจากภาพจำเหล่านั้น  จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่กำลังรอให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจอัตลักษณ์และการเปลี่ยนแปลงของพวกเขา บนพื้นฐานของการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน

     

    ทั้งนี้การเรียก “เงาะ” หรือ “ซาไก” ปัจจุบันนี้ในแง่วิชาการไม่นิยมเรียกกันเช่นนี้แล้ว เนื่องจากมีความเห็นว่าสร้างการรับรู้ในแง่ลบ สื่อถึงการเป็นทาสหรือการล้อเลียนตลกขบขัน และพวกเขาเองไม่ได้นิยามตัวเองเช่นนั้น นักวิชาการรุ่นอาณานิคมเรียกชาวโอรังอัสลีหลายๆ กลุ่มว่าชาวนิกริโต (Negrito) ในขณะที่ชาวมาเลย์เรียกชื่อพวกเขารวมๆ ว่า “เซมัง” (the Semang) ในกลุ่มเหล่านี้นอกจากจะมีชาวจาไฮอยู่ด้วยแล้ว ยังมีกลุ่มชนอื่น เช่น Bateq,  Kensiu, Kintak,  Lanoh, Mendriq (Porath, 2010: 267 อ้างถึงใน บัณฑิต ไกลวิจิตร, 2564: 58-59) ทั้งนี้คำเรียกต่างๆ มักเป็นสิ่งที่ผู้อื่นตั้งให้พวกเขา   

     

    กลุ่มจาไฮใช้ชีวิตส่วนใหญ่แบบย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ มีการข้ามแดนไปมาตามผืนป่าระหว่างชายแดนไทยและมาเลเซีย ซึ่งมีระบบนิเวศเป็นป่าดิบชื้นเขตร้อน (tropical rain forest) พื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันคืออุทยานแห่งชาติบางลางและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส และอุทยานแห่งชาติเบอลุม ประเทศมาเลเซีย ป่าดังกล่าวถือเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง (บัณฑิต ไกลวิจิตร, 2564: 53, 75)

     

    วิถีดั้งเดิมของพวกเขาคือ “กินอยู่กับธรรมชาติ” ขุดหาอาหารจำพวกเผือกและมันชนิดต่างๆ และล่าสัตว์ขนาดเล็ก ชีวิตในป่าไม่ได้ตั้งถิ่นฐานถาวร ได้ย้ายถิ่นฐานตามสัตว์และพืชผลในป่าไปเรื่อยๆ ตามความอุดมสมบูรณ์และสภาพอากาศระหว่างผืนป่าไทยและมาเลเซีย ชีวิตของพวกเขาอิงตามนาฬิกาธรรมชาติ วันเวลากิจวัตรต่างๆ เป็นไปตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือฤดูกาลที่หมุนเวียนไป อาศัยองค์ความรู้ที่สั่งสมกันมาและการชี้แนะจากผู้อาวุโสซึ่งถือเป็นปราชญ์ในเผ่า เป็นองค์ความรู้อย่างหนึ่งเพื่อเอาชีวิตรอด เพื่อพิจารณาว่าสิ่งไหน กินได้ กินไม่ได้ ประดิษฐ์เครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นเอง เช่น ลูกดอกยาพิษไว้ล่าสัตว์ ไปจนถึงงานหัตถกรรมที่มีความสวยงาม ซึ่งน้อยคนจะเคยพบเห็น เช่น หวีไม้ไผ่ที่เหล่าหญิงสาวใช้ พวกเขารู้ว่าพืชชนิดใดเป็นสมุนไพร สามารถรักษาด้วยยาที่หาได้ในผืนป่า จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในป่า ไม่จำเป็นต้องออกมาข้างนอกโดยเฉพาะในหมู่สตรีและเด็ก ในขณะที่ผู้ชาย นานครั้งจะออกจากป่าเพื่อมาแลกเปลี่ยนสิ่งของ หรือเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะถือเป็นช่วงทำงานของเหล่าชายหนุ่ม พวกเขาจะลงมาจาก “ฮายะอ์” เพิงที่พักในป่าเขา มาเป็นลูกจ้างแรงงานแลกข้าวสาร อาหารแห้ง หรือยาสูบ โดยจะนำกลับไปแจกจ่ายเท่าๆ กันให้สมาชิก ตามคติสำคัญของพวกเขาที่ทุกอย่างที่หามาได้ ต้องแบ่งให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม

  • วัฒนธรรมที่สำคัญ
  • จาไฮอาศัยอยู่ในผืนป่าโดยอยู่รวมเป็นกลุ่ม (commune) ในลักษณะเครือญาติ พวกเขามีแนวคิดที่ว่าอาหารทุกอย่างที่หามาได้ต้องแบ่งให้ทุกคนในเผ่า ซึ่งแนวคิดดังกล่าวช่วยให้ทุกคนในเผ่ามีโอกาสรอดมากขึ้น ชาวจาไฮไม่มีภาษาเขียนแต่มีศิลปะลวดลาย อยู่ในอาวุธและของขวัญ (gift) ที่ผู้ชายทำให้แก่ภรรยา ในอดีตเครื่องมือล่าสัตว์ส่วนใหญ่ทำจากไม้ไผ่ เรียกว่า “เบอเลา” “บอเลา” หรือ “บลาว” ทำมาจากไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ 2.5 เมตร ใส่ลูกดอกอาบยาพิษเรียกว่า “บีลา” ยาพิษเป็นยางไม้ที่เรียกกันว่า “อีโป๊ะ” หรือที่คนไทยเรียก “ยางน่อง” เครื่องมีเหล่านี้ต้องฝึกจนชำนาญและต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยจะยิงเฉพาะบริเวณหัวของสัตว์ เนื้อในส่วนร่างกายเก็บไว้เป็นอาหาร (บัณฑิต ไกลวิจิตร, 2564: 53, 87)

     

    วิถีชีวิตของจาไฮนั้นสัมพันธ์กับผืนป่าเป็นอย่างมาก ทรัพยากรจากผืนป่าถือเป็นยารักษาเมื่อยามเจ็บไข้ และเป็นสินค้าที่นำไปใช้แลกเปลี่ยนตั้งแต่อดีต พวกเขามีความรู้ด้านสมุนไพรและสัตว์ป่าซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาสำคัญที่ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตในป่ามาอย่างยาวนาน ชาวบ้านรอบผืนป่ารับรู้ถึงสรรพคุณยารักษาของจาไฮ และเชื่อว่าสามารถรักษาโรคภัยต่างๆ ได้  โดยเฉพาะสมุนไพรบำรุงสำหรับเพศชาย ถือเป็นที่เลื่องลือในหมู่คนพื้นที่ราบ (เพิ่งอ้าง, 2562: 85) 

     

    ในด้านการแต่งกายกลุ่มหญิงสาวจาไฮแม้ปัจจุบันนิยมแต่งกายตามสมัยมากขึ้น แต่มักจะคาดหวีไม้ไผ่ที่ผมไว้เสมอ หวีเหล่านี้เป็นหวีที่ชายหนุ่มมักนำมามอบให้กับหญิงสาว สลักลวดลายเรขาคณิตที่ซ้ำกันจนเป็นลวดลายสวยงาม พวกเขามักสลักลวดลายเหล่านี้ไว้บนสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำจากไม้ไผ่ เช่น กระบอกไม้ไผ่บรรจุลูกดอก (เพิ่งอ้าง, 2562: 114)

  • ความเชื่อ
  • จาไฮมีการนับถือผู้มีอำนาจศักดิ์สิทธิสูงสุดคนเดียวกัน เป็นทั้งพระเจ้า ศาสดา และบรรพบุรุษผู้เป็นต้นกำเนิดของพวกเขา เรียกว่า "อลึจ" (Aluj) โดยจะขอให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง ล่าสัตว์ได้โดยง่าย และขอให้ช่วยรักษาให้เมื่อเจ็บไข้ ควบคู่กับการกินยาสมุนไพรและวิธีการรักษาที่ผู้อาวุโสเยียวยา มีการท่องเวทย์มนต์คาถาต่างๆ ทำให้เกิดสิ่งที่ดีและทำให้เกิดสิ่งให้ร้ายได้ (บัณฑิต ไกลวิจิตร, 2562: 70, 73)

     

    พวกเขามีความเชื่อเรื่องโลกคนเป็นกับโลกคนตาย สมาชิกในกลุ่มที่เสียชีวิตจะเดินทางไปอยู่ในอีกโลกหนึ่ง ในการจัดการเกี่ยวกับผู้ตายจะใช้เสื่อห่อหุ้มศพวางไว้ในป่า และสมาชิกที่เหลือจะต้องย้ายถิ่นไปอยู่ที่อื่น หากไม่อย่างนั้นผู้ตายจะคอยติดตามคนในกลุ่มไม่เดินทางไปสู่โลกคนตาย ปัจจุบันมีตำแหน่งในป่าที่ตั้งเป็นสุสานของกลุ่ม เมื่อมีใครตายก็จะแบกศพไปฝังไว้ที่นั้น และมักหลีกเลี่ยงเดินทางไปบริเวณนั้น (เพิ่งอ้าง, 2562: 71)

  • ความเชื่อมโยงกับโบราณคดี
  • กลุ่มคนโอรังอัสลีมีการแลกเปลี่ยนกับโลกภายนอกมาตั้งแต่อดีตกาล โดยหลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าในยุคโฮบินห์ (Hoabinhian period) บนคาบสมุทรมลายู กลุ่มโอรังอัสลีเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเปลือกหอยชายฝั่ง (coastal shells) ซึ่งเปลือกหอยเหล่านี้ถูกนำมาแลกเปลี่ยนกับผลิตภัณฑ์จากป่า กลุ่มโอรังอัสลีมีบทบาทเป็นผู้เก็บสินค้าจากป่า (collectors) โดยการค้าเช่นนี้ได้ขยายไปสู่ชุมชนที่ห่างไกลออกไปถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทยเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช การค้าทางทะเลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากป่ายังคงเฟื่องฟูต่อเนื่องไปจนถึงช่วงการก่อตั้งมะละกาในปลายศตวรรษที่ 15 โดยได้รับการส่งเสริมจากรัฐโบราณสำคัญในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศไทย คอคอดกระ และตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู พ่อค้าและเจ้าผู้ปกครองในอดีตได้พึ่งพาความรู้ของโอรังอัสลีในการหาแหล่งสินค้าและกำหนดเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งสินค้าจากป่าที่สำคัญ เช่น ยางไม้ ไม้หอม และหวาย (Andaya, 2008: 218-219) นอกจากนี้ยังพบเรื่องราวของพวกเขาจากแง่มุมภายนอก ซึ่งพบในวรรณกรรมของชาวดัตช์เรื่อง “The Adventures of John Smith in Malaya: 1600-1605” ได้กล่าวถึงโอรังอัสลี กลุ่มเซมัง (Semang) ไว้ว่า เป็นกองธนูผู้รับใช้ราชินีแห่งปัตตานี โดยใช้อาวุธลูกธนูที่มีปลายเป็นโลหะอาบยาพิษ (Brandt, 1961: 124) ประเทศไทยมีการขุดค้นทางโบราณคดีเกี่ยวกับโอรังอัสลีบริเวณภาคใต้ตอนบน เช่น ที่ถ้ำซาไก จังหวัดตรัง จากการวิเคราะห์ตีความโครงกระดูกคน สัตว์ ภาชนะ และเครื่องมือหินที่พบ ได้นำไปสู่หลักฐานการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนที่คล้ายคลึงกับกลุ่มคนโอรังอัสลีในปัจจุบัน เช่น พบข้อสังเกตว่าสัตว์ต่างๆ ที่คนกลุ่มนี้ล่า ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ถูกล่าโดยใช้อาวุธไม้ เช่น ที่ดักจับสัตว์ ธนู หน้าไม้หรือไม้ซาง มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มโอรังอัสลี จ.ตรังที่เคยอาศัยอยู่ในถ้ำนี้และบริเวณใกล้เคียงใช้ล่าสัตว์ต่างๆ ส่วนหอยที่พบในยุคนี้ส่วนใหญ่เป็นหอยตามหนองและลำธาร ยกเว้นหอยเบี้ย (Cypraca sp) และหอยแมลงภู่ (Perna sp) ซึ่งเป็นหอยทะเล ในขณะที่สภาพภูมิศาสตร์ปัจจุบันนั้นถ้ำซาไกอยู่ห่างจากพื้นที่ทะเล ดังนั้นหอยทะเลทั้ง 2 ชนิดดังกล่าว อาจเป็นของมีค่าสำหรับคนก่อนประวัติศาสตร์ที่นำมาทำเป็นเครื่องประดับ จึงพบร่วมกับกับโครงกระดูกที่ฝั่งไว้ในถ่ำแห่งนี้ (สุรินทร์ ภู่ขจร และคณะ, 2539: 172-173)
  • คลังภาพ
  • บรรณานุกรม
    1. Andaya, L. Y. (2008). Leaves of the Same Tree: Trade and Ethnicity in the Straits of Melaka. Honolulu: University of Hawaii Press. 2. Brandt, J. H. (1961). “The Negritos of Peninsular Thailand.” Journal of the Siam Society. 49, 2: 123–160. 3. กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. (2567). “นายคนัง มหาดเล็ก” จาก “ก็อย” อาศัยในป่า สู่มหาดเล็กตัวน้อยในร.5 ราชสำนักฮือฮา. เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2568. เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_65016https://www.silpa-mag.com/history/article_65016 4. นฤมล ขุนวีช่วย. (2568). มานิ. เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม. เข้าถึงได้จาก https://ethnicity.sac.or.th/database-ethnic/200 5. บัณฑิต ไกรวิจิตร. (2562). โครงการชาวโอรังอัสลี ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน). 6. บัณฑิต ไกรวิจิตร. (2564). “ชาวโอรังอัสลี กลุ่มจาไฮ จังหวัดยะลา-นราธิวาส: การวิจัยสำรวจภาคสนามเบื้องต้น”. วารสารมานุษยวิทยา. 4, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม): 53-108. 7. โรม บุญนาค. (2568). “คนัง” เงาะป่าผู้ทะยานด้วยวาสนา มาเป็นมหาดเล็กพิเศษ “คุณพ่อหลวง” ร.๕!!! โดย โรม บุนนาค. เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน. เข้าถึงได้จากhttps://www.finearts.go.th/kamphaengphethistoricalpark/view/9621- -คนัง--เงาะป่าผู้ทะยานด้วยวาสนา-มาเป็นมหาดเล็กพิเศษ--คุณพ่อหลวง--ร-๕----โดย-โรม-บุนนาค 8. สุรินทร์ ภู่ขจร และคณะ. (2539). รายงานขั้นสรุปการขุดค้นที่ถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่, ถ้ำซาไก จ.ตรัง และการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดีชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก จ.ตรัง. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย.


    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 16 เม.ย. 2568
    จำนวนผู้เข้าชม : 383