หน้าแรก ผู้คนและชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ ไท (Tai,Dai)

ไท (Tai,Dai)

ไท (Tai,Dai)

ภาษา กลุ่มภาษาไหล-เกยัน, กลุ่มภาษาลักเกีย-กัม-สุย, กลุ่มภาษาไท
ถิ่นอาศัย ประเทศไทย, ประเทศพม่า (ไทใหญ่), ประเทศลาว, ประเทศเวียดนาม, ประเทศอินเดีย (ไทคำตี้,ไทอาหม,ไทพ่าเก, ไทอ่ายตน, ไทดำยัง, ไทตุรุง) และภาคใต้ของประเทศจีน (ไท, จ้วง, ปู้อี้)

ประวัติความเป็นมา

     ชาวไท (Tai People) เป็นคำใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ตามหลักภาษาศาสตร์ โดยใช้เรียกกลุ่มชนแบบโดยรวมที่พูดกลุ่มภาษาไทกระได (Tai-kadai) ซึ่งกระจายตัวอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศจีน
 
     ที่มาของชาวไทนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายทฤษฎี ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับที่สุดมากจากการศึกษารากของภาษา โดยสันนิษฐานว่าภาษาไทกระไดนั้นมีรากมาจากกลุ่มชนพื้นเมืองจากไต้หวันซึ่งเดิมใช้ภาษาโปรโตออสโตนีเซียนที่อพยพมายังประเทศจีน ต่อมาเมื่อเกิดการติดต่อกันและกันกับกลุ่มชนอื่น เช่น Sino-Tibetan หรือ Hmong-Mien จนเกิดการผสมผสานรากภาษา และกลายเป็นภาษาไทกระได โดย James R. Chamberlain เสนอว่ากลุ่มชนแรก ๆ ที่ใช้ภาษาไทกระไดเริ่มเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงในช่วง 1200 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นจึอพยพเคลื่อนลงมายังจีนตอนใต้ และลงมาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทั้งเส้นทางบก และเส้นทางแม่น้ำในช่วงคริสตศตวรรษที่ 10 – 8 ซึ่งสันนิษฐานว่าวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไท-กระไดเริ่มผสมผสานผ่านการแลกเปลี่ยนติดต่อกับกลุ่มชนพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เดิมเป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาออสโตร-เอเชียติกในช่วงเวลานี้ และกลมกลื่นจนแตกกลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆในแต่ละพื้นที่

วัฒนธรรมที่สำคัญ

     วัฒนธรรมของกลุ่มไทนั้นมีความหลากหลายสูง โดยแต่ละกลุ่มต่างมีเอกลักษณ์และพัฒนาการที่แตกต่างกันไปแต่ลักษณะสภาพภูมิประเทศ ที่พอจะเห็นร่วมกัน คือเป็นกลุ่มชนที่ดำรงชีพด้วยการทำเกษตรกรรม ทานข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก มักนิยมปลูกเรือนเสาสูง และมีความเชื่อที่สืบเนื่องมาจากจีนตอนใต้ คือความเชื่อบูชาศาสนาผีฟ้า หรือผีเสื้อเมือง และเคารพบูชาผีบรรพบุรุษ

ความเชื่อ

     ความเชื่อของกลุ่มไท คือเป็นการนับถือศาสนาผี (Animism) ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของหลายกลุ่มชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความเชื่อเรื่องของ “ขวัญ” เชื่อเรื่อง “ขวัญ” หรือหน่วยวิญญาณที่สถิตอยู่ในทุกสิ่ง กลุ่มชนไทมีความเชื่อเรื่องของวิญญาณบรรพบุรุษ โดยจะเรียกกันว่า “ผี” ซึ่งกลุ่มชนทั่วไปจะมีพิธีกรรมบูชา “ผีฟ้า” หรือ “พญาแถน” ซึ่งตามคติชนเชื่อว่าเป็นผีที่อยู่สูงกว่าชนิดอื่น ๆ สามารถช่วยเหลือมนุษย์ที่เดือดร้อน เช่น การรักษาคนเจ็บไข้ หรือการขอฝนเพื่อช่วยในการทำการเกษตร เป็นต้น ปัจจุบันถึงแม้กลุ่มชนไทจะมีการนับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพุทธ แต่ความเชื่อบูชาผีก็ยังคงสอดแทรกอยู่ในพิธีกรรมพื้นถิ่น หรือข้อประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของชุมชน

ความเชื่อมโยงกับโบราณคดี

ร่องรอยทางโบราณคดีที่โดดเด่นของกลุ่มชนไทนั้น แฝงอยู่กับคติความเชื่อที่สะท้อนสัญญะผ่านลวดลายบนโบราณวัตถุสมัยสำริด หรือสมัยโลหะ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อของกลุ่มไท กับความเชื่อดั้งเดิมของแต่ละพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น โบราณวั

การศึกษาด้าน DNA

เนื่องจากคำใช้เรียกกลุ่มชนไท นั้นเป็นคำใช้เรียกตามหลักภาษาศาสตร์ โดยจากองค์ความรู้หลังอาณานิคมเป็นที่เข้าใจตรงกันว่าคำใช้เรียกกลุ่มชนไทนั้น ไม่ได้เชื่อมโยงกับมรดกทางพันธุกรรม

รากภาษาของกลุ่มชนไทนั้นสันนิษฐานว่ามาจากบริเวณดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ จากนั้นจึงแพร่กระจายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษาด้าน DNA ในปัจจุบันพบว่า กลุ่มชนไทนั้นมีอัตราปรากฎของ Y-DNA Haplogroup O2a สูงมาก ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่มีร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในมณฑลยูนนานของจีนตอนใต้ ซึ่งพูดภาษาออสโต-เอเชียติก และพบ 02a1 ซึ่งเป็น DNA ที่พบทั้งในกลุ่มชนที่พูดภาษาออสโตรนีเชียน และผู้ที่พูดภาษาไท ซ่งการพบการแพร่หลายของ Y-DNA haplogroup 01 ร่วมกันทั้งกลุ่มที่พูดภาษาออสโตนีเชียนและไทนั้นบ่งบอกถึงการมีบรรพบุรุษร่วมกัน คือกลุ่มคนที่พูดภาษาซิโน-ทิเบตัน ออสโต-เอเชียติก และม้งเมี่ยน เมื่อรปะมาณ 35,000 ปีก่อนในจีน

แกลเลอรี

บรรณานุกรม

Baker, Chris (2002), "From Yue To Tai" (PDF), Journal of the Siam Society, 90 (1–2): 1–26. Blench, Roger July 12, 2009), The Prehistory of the Daic (Taikadai) Speaking Peoples and the Hypothesis of an Austronesian Connection. Presented at the 12th EURASEAA meeting Leiden, 1–5th September, 2008 . Chamberlain, James R. (2000). "The Origin of the Sek: Implications for Tai and Vietnamese History" ใน Burusphat, Somsonge (บ.ก.). Proceedings of the International Conference on Tai Studies, July 29–31, 1998. Bangkok, Thailand: Institute of Language and Culture for Rural Development, Mahidol University. Chamberlain, James R. (2016). "Kra-Dai and the Proto-History of South China and Vietnam". Journal of the Siam Society. 104: 27–77. Patcharee Lertrit (2008) “Genetic history of Southeast Asian populations as revealed by ancient and modern human mitochondrial DNA analysis”. ใน Am J Phys Anthropol. Dec;137(4):425-40.

จำนวนผู้เข้าชม

621

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

30 เม.ย. 2567

ไท (Tai,Dai)



  • ไท (Tai,Dai)
  • blog-img
    ชื่อชาติพันธุ์
    ไท (Tai,Dai)

    ภาษา
    กลุ่มภาษาไหล-เกยัน, กลุ่มภาษาลักเกีย-กัม-สุย, กลุ่มภาษาไท

    ถิ่นอาศัย
    ประเทศไทย, ประเทศพม่า (ไทใหญ่), ประเทศลาว, ประเทศเวียดนาม, ประเทศอินเดีย (ไทคำตี้,ไทอาหม,ไทพ่าเก, ไทอ่ายตน, ไทดำยัง, ไทตุรุง) และภาคใต้ของประเทศจีน (ไท, จ้วง, ปู้อี้)
  • ประวัติความเป็นมา
  •      ชาวไท (Tai People) เป็นคำใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ตามหลักภาษาศาสตร์ โดยใช้เรียกกลุ่มชนแบบโดยรวมที่พูดกลุ่มภาษาไทกระได (Tai-kadai) ซึ่งกระจายตัวอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศจีน
     
         ที่มาของชาวไทนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายทฤษฎี ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับที่สุดมากจากการศึกษารากของภาษา โดยสันนิษฐานว่าภาษาไทกระไดนั้นมีรากมาจากกลุ่มชนพื้นเมืองจากไต้หวันซึ่งเดิมใช้ภาษาโปรโตออสโตนีเซียนที่อพยพมายังประเทศจีน ต่อมาเมื่อเกิดการติดต่อกันและกันกับกลุ่มชนอื่น เช่น Sino-Tibetan หรือ Hmong-Mien จนเกิดการผสมผสานรากภาษา และกลายเป็นภาษาไทกระได โดย James R. Chamberlain เสนอว่ากลุ่มชนแรก ๆ ที่ใช้ภาษาไทกระไดเริ่มเกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงในช่วง 1200 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นจึอพยพเคลื่อนลงมายังจีนตอนใต้ และลงมาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทั้งเส้นทางบก และเส้นทางแม่น้ำในช่วงคริสตศตวรรษที่ 10 – 8 ซึ่งสันนิษฐานว่าวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไท-กระไดเริ่มผสมผสานผ่านการแลกเปลี่ยนติดต่อกับกลุ่มชนพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เดิมเป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาออสโตร-เอเชียติกในช่วงเวลานี้ และกลมกลื่นจนแตกกลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆในแต่ละพื้นที่
  • วัฒนธรรมที่สำคัญ
  •      วัฒนธรรมของกลุ่มไทนั้นมีความหลากหลายสูง โดยแต่ละกลุ่มต่างมีเอกลักษณ์และพัฒนาการที่แตกต่างกันไปแต่ลักษณะสภาพภูมิประเทศ ที่พอจะเห็นร่วมกัน คือเป็นกลุ่มชนที่ดำรงชีพด้วยการทำเกษตรกรรม ทานข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก มักนิยมปลูกเรือนเสาสูง และมีความเชื่อที่สืบเนื่องมาจากจีนตอนใต้ คือความเชื่อบูชาศาสนาผีฟ้า หรือผีเสื้อเมือง และเคารพบูชาผีบรรพบุรุษ

  • ความเชื่อ
  •      ความเชื่อของกลุ่มไท คือเป็นการนับถือศาสนาผี (Animism) ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของหลายกลุ่มชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความเชื่อเรื่องของ “ขวัญ” เชื่อเรื่อง “ขวัญ” หรือหน่วยวิญญาณที่สถิตอยู่ในทุกสิ่ง กลุ่มชนไทมีความเชื่อเรื่องของวิญญาณบรรพบุรุษ โดยจะเรียกกันว่า “ผี” ซึ่งกลุ่มชนทั่วไปจะมีพิธีกรรมบูชา “ผีฟ้า” หรือ “พญาแถน” ซึ่งตามคติชนเชื่อว่าเป็นผีที่อยู่สูงกว่าชนิดอื่น ๆ สามารถช่วยเหลือมนุษย์ที่เดือดร้อน เช่น การรักษาคนเจ็บไข้ หรือการขอฝนเพื่อช่วยในการทำการเกษตร เป็นต้น ปัจจุบันถึงแม้กลุ่มชนไทจะมีการนับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพุทธ แต่ความเชื่อบูชาผีก็ยังคงสอดแทรกอยู่ในพิธีกรรมพื้นถิ่น หรือข้อประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของชุมชน

  • ความเชื่อมโยงกับโบราณคดี
  • ร่องรอยทางโบราณคดีที่โดดเด่นของกลุ่มชนไทนั้น แฝงอยู่กับคติความเชื่อที่สะท้อนสัญญะผ่านลวดลายบนโบราณวัตถุสมัยสำริด หรือสมัยโลหะ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อของกลุ่มไท กับความเชื่อดั้งเดิมของแต่ละพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น โบราณวั
  • การศึกษาด้าน DNA
  • เนื่องจากคำใช้เรียกกลุ่มชนไท นั้นเป็นคำใช้เรียกตามหลักภาษาศาสตร์ โดยจากองค์ความรู้หลังอาณานิคมเป็นที่เข้าใจตรงกันว่าคำใช้เรียกกลุ่มชนไทนั้น ไม่ได้เชื่อมโยงกับมรดกทางพันธุกรรม

    รากภาษาของกลุ่มชนไทนั้นสันนิษฐานว่ามาจากบริเวณดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ จากนั้นจึงแพร่กระจายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษาด้าน DNA ในปัจจุบันพบว่า กลุ่มชนไทนั้นมีอัตราปรากฎของ Y-DNA Haplogroup O2a สูงมาก ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่มีร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในมณฑลยูนนานของจีนตอนใต้ ซึ่งพูดภาษาออสโต-เอเชียติก และพบ 02a1 ซึ่งเป็น DNA ที่พบทั้งในกลุ่มชนที่พูดภาษาออสโตรนีเชียน และผู้ที่พูดภาษาไท ซ่งการพบการแพร่หลายของ Y-DNA haplogroup 01 ร่วมกันทั้งกลุ่มที่พูดภาษาออสโตนีเชียนและไทนั้นบ่งบอกถึงการมีบรรพบุรุษร่วมกัน คือกลุ่มคนที่พูดภาษาซิโน-ทิเบตัน ออสโต-เอเชียติก และม้งเมี่ยน เมื่อรปะมาณ 35,000 ปีก่อนในจีน
  • คลังภาพ
  • บรรณานุกรม
    Baker, Chris (2002), "From Yue To Tai" (PDF), Journal of the Siam Society, 90 (1–2): 1–26. Blench, Roger July 12, 2009), The Prehistory of the Daic (Taikadai) Speaking Peoples and the Hypothesis of an Austronesian Connection. Presented at the 12th EURASEAA meeting Leiden, 1–5th September, 2008 . Chamberlain, James R. (2000). "The Origin of the Sek: Implications for Tai and Vietnamese History" ใน Burusphat, Somsonge (บ.ก.). Proceedings of the International Conference on Tai Studies, July 29–31, 1998. Bangkok, Thailand: Institute of Language and Culture for Rural Development, Mahidol University. Chamberlain, James R. (2016). "Kra-Dai and the Proto-History of South China and Vietnam". Journal of the Siam Society. 104: 27–77. Patcharee Lertrit (2008) “Genetic history of Southeast Asian populations as revealed by ancient and modern human mitochondrial DNA analysis”. ใน Am J Phys Anthropol. Dec;137(4):425-40.


    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 19 ก.ค. 2565
    จำนวนผู้เข้าชม : 621