หน้าแรก บรรณนิทัศน์ สุวรรณภูมิ

สุวรรณภูมิ

สุวรรณภูมิ

ชื่อผู้แต่ง กรมดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ
บรรณาธิการ สุจิตต์ วงษ์เทศ
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ มติชน (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ)
ปี พ.ศ. 2545
ปี ค.ศ. 2002
จำนวนหน้า 207
ภาษา ภาษาไทย
หัวเรื่อง พระเจ้าอโศก, มหาวงศ์, นครปฐม, พระปฐมเจดีย์

เนื้อหาโดยย่อ

     เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงเชื่อว่าเมืองนครปฐมโบราณคือสุวรรณภูมิ โดยมีการนำเอาเนื้อความจากจารึกกับหนังสือมหาวงศ์มาประกอบการพิจารณา โดยได้มีการกล่าวถึงเนื้อความในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช ในเรื่องของการริเริ่มดำริในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ประกอบกับรายละเอียดจากคัมภีร์มหาวงศ์ที่ตัดตอนในช่วงของชื่อสมณฑูตและดินแดนที่เดินทางไป และได้อ้างคำอธิบายของอาจารย์ริส เดวิดส์ถึงคำแปลของคัมภีร์ดังกล่าว และมีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อวิเคราะห์เกี่ยวกับที่ตั้งของเมืองสุวรรณภูมิ
 
     มีการกล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพุทธควบคู่ไปกับพราหมณ์ในอินเดียหลังสมัยพระเจ้าอโศก และพุทธศาสนาในลังกาทวีป รวมไปถึงการสังคายนาพระศาสนาในช่วงเวลาหลังจากนั้นและการเกิดขึ้นของนิกายมหายาน เพื่อที่จะนำมายืนยันถึงการเข้ามาของพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิแต่ครั้งพระเจ้าอโศก ว่าเป็นนิกายฝ่ายหีนยาน ไม่ใช่มหายาน แต่ก็ได้มีการอธิบายถึงการเข้ามาของนิกายมหายานในภายหลังในดินแดนประเทศไทยโดยอ้างจากบันทึกของหลวงจีนยวนฉ่าง หรือหลวงจีนเหี้ยนจัง

สาระสำคัญ

- สุวรรณภูมิประเทศที่ถูกกล่าวถึงนี้ ฝ่ายมอญอ้างว่าคือเมืองสะเทิม ในขณะที่หลักฐานทางฝ่ายไทยนั้นเห็นว่ามีหลักฐานมากกว่าฝ่ายมอญ ด้วยมีเมืองอู่ทอง ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่าสุวรรณภูมิ อีกทั้งในไทยยังมีบ่อทอง (หน้า 8)
 
- คำเรียกสุวรรณภูมินั้นอาจหมายถึงดินแดนแถบนี้ทั้งหมดได้เช่นกัน โดยมีความหมายถึงดินแดนตั้งแต่ประเทศรามัญลงมาจนถึงสยามข้างตะวันตก หรืออาจรวมถึงพื้นที่เมืองญวณ โดยพระโสณะและพระอุตตระอาจขึ้นฝั่งทางอ่าวเบงกอลและได้เดินทางเข้ามาในดินแดน ซึ่งนักวิชาการต่างชาติยังไม่ทราบว่ามีเมืองที่ปรากฏร่อยรอยสถูปเจดีย์ที่เก่าแก่และใหญ่โตมากมายในสยามประเทศทางตะวันตก ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เมืองชัยศิริบ้าง เมืองศิริชัยบ้าง เมืองศรีวิชัยบ้าง ซึ่งคือเมืองนครปฐมโบราณนั่นเอง (หน้า 9)
 
- ข้อสันนิษฐานนั้นตรงกับพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 ว่าเมืองนครปฐมโบราณนั้นเป็นเมืองที่รับพระพุทธศาสนามาประดิษฐานไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศก โดยสันนิษฐานจากรูปสัณฐานสถูปและธรรมจักรที่พบ จึงมีการกล่าวนามสถูปเจดีย์ที่พบในเมืองนครปฐมนั้นว่า พระปฐมเจดีย์ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นเป็นเจดีย์องค์แรกที่เริ่มสร้างขึ้น (หน้า 9-10)
 
- พุทธศาสนานิกายมหายานคงได้มีการแพร่หลายเข้ามาในสุวรรณภูมิบ้างในภายหลังในครั้งที่พระเจ้าศีลาทิตย์ทรงส่งสมณฑูตไปยังดินแดนต่างๆ โดยกฎหลักฐานสนับสนุนหลายชิ้น (หน้า 13-15)

ข้อวิจารณ์

-

โบราณวัตถุสำคัญ

-

ห้องสมุดแนะนำ

หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร, หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หอสมุดกลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

เมืองสะเทิม อู่ทอง สมณทูต

ยุคสมัย

สุววรณภูมิ

จำนวนผู้เข้าชม

247

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

1 ม.ค. 2513

สุวรรณภูมิ

สุวรรณภูมิ
blog-img
ชื่อผู้แต่ง :
กรมดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ

บรรณาธิการ :
สุจิตต์ วงษ์เทศ

ชื่อเอกสาร :
สุวรรณภูมิอยู่ที่นี่ ที่แผ่นดินสยาม

สถานที่พิมพ์ :
กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :
มติชน (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ)

ปีพุทธศักราช :
2545

ปีคริสต์ศักราช :
2002

จำนวนหน้า :
207

ภาษา :
ภาษาไทย

หัวเรื่อง :
พระเจ้าอโศก, มหาวงศ์, นครปฐม, พระปฐมเจดีย์

เนื้อหาโดยย่อ
     เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงเชื่อว่าเมืองนครปฐมโบราณคือสุวรรณภูมิ โดยมีการนำเอาเนื้อความจากจารึกกับหนังสือมหาวงศ์มาประกอบการพิจารณา โดยได้มีการกล่าวถึงเนื้อความในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช ในเรื่องของการริเริ่มดำริในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ประกอบกับรายละเอียดจากคัมภีร์มหาวงศ์ที่ตัดตอนในช่วงของชื่อสมณฑูตและดินแดนที่เดินทางไป และได้อ้างคำอธิบายของอาจารย์ริส เดวิดส์ถึงคำแปลของคัมภีร์ดังกล่าว และมีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อวิเคราะห์เกี่ยวกับที่ตั้งของเมืองสุวรรณภูมิ
 
     มีการกล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพุทธควบคู่ไปกับพราหมณ์ในอินเดียหลังสมัยพระเจ้าอโศก และพุทธศาสนาในลังกาทวีป รวมไปถึงการสังคายนาพระศาสนาในช่วงเวลาหลังจากนั้นและการเกิดขึ้นของนิกายมหายาน เพื่อที่จะนำมายืนยันถึงการเข้ามาของพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิแต่ครั้งพระเจ้าอโศก ว่าเป็นนิกายฝ่ายหีนยาน ไม่ใช่มหายาน แต่ก็ได้มีการอธิบายถึงการเข้ามาของนิกายมหายานในภายหลังในดินแดนประเทศไทยโดยอ้างจากบันทึกของหลวงจีนยวนฉ่าง หรือหลวงจีนเหี้ยนจัง
สาระสำคัญ
- สุวรรณภูมิประเทศที่ถูกกล่าวถึงนี้ ฝ่ายมอญอ้างว่าคือเมืองสะเทิม ในขณะที่หลักฐานทางฝ่ายไทยนั้นเห็นว่ามีหลักฐานมากกว่าฝ่ายมอญ ด้วยมีเมืองอู่ทอง ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่าสุวรรณภูมิ อีกทั้งในไทยยังมีบ่อทอง (หน้า 8)
 
- คำเรียกสุวรรณภูมินั้นอาจหมายถึงดินแดนแถบนี้ทั้งหมดได้เช่นกัน โดยมีความหมายถึงดินแดนตั้งแต่ประเทศรามัญลงมาจนถึงสยามข้างตะวันตก หรืออาจรวมถึงพื้นที่เมืองญวณ โดยพระโสณะและพระอุตตระอาจขึ้นฝั่งทางอ่าวเบงกอลและได้เดินทางเข้ามาในดินแดน ซึ่งนักวิชาการต่างชาติยังไม่ทราบว่ามีเมืองที่ปรากฏร่อยรอยสถูปเจดีย์ที่เก่าแก่และใหญ่โตมากมายในสยามประเทศทางตะวันตก ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เมืองชัยศิริบ้าง เมืองศิริชัยบ้าง เมืองศรีวิชัยบ้าง ซึ่งคือเมืองนครปฐมโบราณนั่นเอง (หน้า 9)
 
- ข้อสันนิษฐานนั้นตรงกับพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 ว่าเมืองนครปฐมโบราณนั้นเป็นเมืองที่รับพระพุทธศาสนามาประดิษฐานไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศก โดยสันนิษฐานจากรูปสัณฐานสถูปและธรรมจักรที่พบ จึงมีการกล่าวนามสถูปเจดีย์ที่พบในเมืองนครปฐมนั้นว่า พระปฐมเจดีย์ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นเป็นเจดีย์องค์แรกที่เริ่มสร้างขึ้น (หน้า 9-10)
 
- พุทธศาสนานิกายมหายานคงได้มีการแพร่หลายเข้ามาในสุวรรณภูมิบ้างในภายหลังในครั้งที่พระเจ้าศีลาทิตย์ทรงส่งสมณฑูตไปยังดินแดนต่างๆ โดยกฎหลักฐานสนับสนุนหลายชิ้น (หน้า 13-15)

ข้อวิจารณ์ :
-

โบราณวัตถุสำคัญ :
-

ห้องสมุดแนะนำ :
หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร, หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หอสมุดกลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลิงก์ที่มา :

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
สุววรณภูมิ สุววรณภูมิ สุววรณภูมิ

ยุคสมัย :
สุววรณภูมิ

วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 1 ม.ค. 2513
จำนวนผู้เข้าชม : 247