หน้าแรก บรรณนิทัศน์ สุวรรณภูมิ ดอนตาเพชร-อู่ทอง และ ชิน อยู่ดี

สุวรรณภูมิ ดอนตาเพชร-อู่ทอง และ ชิน อยู่ดี

สุวรรณภูมิ ดอนตาเพชร-อู่ทอง และ ชิน อยู่ดี

ชื่อผู้แต่ง ศรีศักร วัลลิโภดม
บรรณาธิการ สุจิตต์ วงษ์เทศ
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ มติชน (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ)
ปี พ.ศ. 2545
ปี ค.ศ. 2002
จำนวนหน้า 207
ภาษา ภาษาไทย
หัวเรื่อง สุวรรณภูมิ, ดอนตาเพชร, อู่ทอง, ชิน อยู่ดี, ลิงลิงโอ

เนื้อหาโดยย่อ

     กล่าวถึงผลงานของศาสตร์จารย์ชิน อยู่ดี ที่สนใจในสุวรรณภูมิและฟูนัน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โดยผู้เขียนจัดจำแนกโบราณวัตถุที่พบเป็น 3 ประเภท คือ ลูกปัดและเครื่องประดับที่ทำด้วยหินสีต่างๆ และแก้ว, เครื่องสำริด และเครื่องมือเหล็ก
 
     ต่อมาดร.เอียน โกลฟเวอร์ ได้ขุดค้นต่อและพบลูกปัดหินคาร์เนเลียนขนาดใหญ่ และก้อนสำริดสามเหลี่ยมที่อาจเป็นสัญลักษณ์ของสถูป ซึ่งจากหลักฐานนั้นได้กำหนดอายุไว้ราว 2000 ปีมาแล้ว
 
     แต่สุรพล นาถะพินธุนั้นกล่าวว่าเอียน โกลฟเวอร์นั้นกำหนดอายุไว้ที่ 2300-2400 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการมากขึ้น โดยมีการแสดงความสัมพันธ์กับอินเดียและความสอดคล้องกับคัมภีร์มหาวงศ์ ซึ่งผู้เขียนสันนิษฐานว่าเป็นบริเวณลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง เมืองอู่ทอง และเมืองนครปฐม

สาระสำคัญ

     ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี เป็นผู้ที่สนใจในสุวรรณภูมิและฟูนัน โดยให้ความสนใจกับแหล่งโบราณคดีดอนตาเพชร ซึ่งเป็นแหล่งฝังศพของชุมชนโบราณ อีกทั้งยังพบของมีค่าและวัตถุมากมายร่วมด้วย (หน้า 171-173)
 
- ผู้เขียนได้จัดจำแนกโบราณวัตถุที่พบเป็น 3 ประเภท คือ

     1. ลูกปัดและเครื่องประดับที่ทำด้วยหินสีต่างๆ และแก้ว ซึ่งสวยงามและโดดเด่นกว่าที่พบในแหล่งอื่น และมีลักษณะคล้ายลูกปัดที่พบในอินเดีย โดยลูกปัดเหล่านี้อาจเป็นของต่างถิ่นที่เข้ามาพร้อมพ่อค้าหรือคนสำคัญที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน หรืออาจเป็นของคนสำคัญท้องถิ่นก็ได้

     2. เครื่องสำริด ที่ทำเป็นรูปต่างๆ และเครื่องใช้ มีลักษณะคล้ายกับเครื่องสำริดในวัฒนธรรมดองซอนและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อกับทางตะวันออก

     3. เครื่องมือเหล็ก แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายและซับซ้อนของกลุ่มเครื่องมือที่ทำขึ้นในท้องถิ่นจึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าดินแดนนี้มีสังคมที่พัฒนาในระดับหนึ่งแล้ว

     จากหลักฐานที่พบ ศาตราจารย์ชิน อยู่ดีได้กำหนดอายุสมัยแหล่งโบราณคดีดอนตาเพชรว่าอยู่ที่ราว 1700 ปีมาแล้ว แต่ผู้เขียนไม่ค่อยเห็นด้วยเนื่องจากมีความขัดแย้งกันกับหลักฐานเอกสาร ซึ่งกล่าวว่าสมัยดังกล่าว สังคมนี้ได้รับอารยธรรมฮินดู-พุทธศาสนาจากอินเดียแล้ว ดังนั้นควรจะพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมอินเดียมากกว่านี้ (หน้า 173-175)
 
- ต่อมา ดร.เอียน โกลฟเวอร์ ได้ขุดค้นต่อ แต่มีความเห็นที่ขัดแย้งกับศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี โดยเชื่อว่าดอนตาเพชรนั้นเป็นเพียงชุมขนหมู่บ้านแรกเริ่ม โดยสันนิษฐานจากการพบลูกปัดหินคาร์เนเลียนขนาดใหญ่รูปเครื่องประดับลิงลิงโอและจี้รูปสิงห์เผ่น และก้อนสำริดสามเหลี่ยมที่อาจเป็นสัญลักษณ์ของสถูป ซึ่งจากหลักฐานนั้นได้กำหนดอายุไว้ราว 2000 ปีมาแล้ว (หน้า 175-176)
 
- ต่อมาอาจารย์สุรพล นาถะพินธุ ได้กล่าวว่า ดร.เอียน โกลฟเวอร์ได้ขยับอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีไปที่ราว 2300-2400 ซึ่งผู้เขียนนั้นเห็นด้วยมากที่สุด เนื่องจากมีความสอดคล้องกับหลักฐานการติดต่อกับอินเดีย แต่ยังไม่มีการพบหลักฐานของการนับถือพุทธศาสนาในแหล่งนี้ อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานได้แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดียแล้ว นอกจากนี้ยังมีความสอดคล้องกับคัมภีร์มหาวงศ์ที่ได้กล่าวถึงการส่งสมณฑูตจากอินเดียมายังสุวรรณภูมิ ซึ่งมีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าอยู่ในพม่าตอนใต้ และจากหลักฐานที่พบแล้วไม่มีสิ่งที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ จึงมีความเป็นไปได้มากกว่าที่สุวรรณภูมิจะอยู่ที่ลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง โดยมีเมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลาง และมีเองนครปฐมและคูบัวเป็นเมืองสำคัญทางศาสนา (หน้า 176-179)

ข้อวิจารณ์

-

โบราณวัตถุสำคัญ

ลิงลิงโอ, จี้รูปสิงห์แผ่น

ห้องสมุดแนะนำ

หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร, หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หอสมุดกลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ลิงลิงโอ จี้รูปสิงห์แผ่น ชิน อยู่ดี แหล่งโบราณคดีดอนตาเพชร คัมภีร์มหาวงศ์ สมณทูต เอียน โกลฟเวอร์ สุรพล นาถะพินธุ วัฒนธรรมดองซอน

ยุคสมัย

สุววรณภูมิ

จำนวนผู้เข้าชม

271

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

24 ก.พ. 2565

สุวรรณภูมิ ดอนตาเพชร-อู่ทอง และ ชิน อยู่ดี

สุวรรณภูมิ ดอนตาเพชร-อู่ทอง และ ชิน อยู่ดี
blog-img
ชื่อผู้แต่ง :
ศรีศักร วัลลิโภดม

บรรณาธิการ :
สุจิตต์ วงษ์เทศ

ชื่อเอกสาร :
สุวรรณภูมิอยู่ที่นี่ ที่แผ่นดินสยาม

สถานที่พิมพ์ :
กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :
มติชน (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ)

ปีพุทธศักราช :
2545

ปีคริสต์ศักราช :
2002

จำนวนหน้า :
207

ภาษา :
ภาษาไทย

หัวเรื่อง :
สุวรรณภูมิ, ดอนตาเพชร, อู่ทอง, ชิน อยู่ดี, ลิงลิงโอ

เนื้อหาโดยย่อ
     กล่าวถึงผลงานของศาสตร์จารย์ชิน อยู่ดี ที่สนใจในสุวรรณภูมิและฟูนัน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โดยผู้เขียนจัดจำแนกโบราณวัตถุที่พบเป็น 3 ประเภท คือ ลูกปัดและเครื่องประดับที่ทำด้วยหินสีต่างๆ และแก้ว, เครื่องสำริด และเครื่องมือเหล็ก
 
     ต่อมาดร.เอียน โกลฟเวอร์ ได้ขุดค้นต่อและพบลูกปัดหินคาร์เนเลียนขนาดใหญ่ และก้อนสำริดสามเหลี่ยมที่อาจเป็นสัญลักษณ์ของสถูป ซึ่งจากหลักฐานนั้นได้กำหนดอายุไว้ราว 2000 ปีมาแล้ว
 
     แต่สุรพล นาถะพินธุนั้นกล่าวว่าเอียน โกลฟเวอร์นั้นกำหนดอายุไว้ที่ 2300-2400 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการมากขึ้น โดยมีการแสดงความสัมพันธ์กับอินเดียและความสอดคล้องกับคัมภีร์มหาวงศ์ ซึ่งผู้เขียนสันนิษฐานว่าเป็นบริเวณลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง เมืองอู่ทอง และเมืองนครปฐม
สาระสำคัญ
     ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี เป็นผู้ที่สนใจในสุวรรณภูมิและฟูนัน โดยให้ความสนใจกับแหล่งโบราณคดีดอนตาเพชร ซึ่งเป็นแหล่งฝังศพของชุมชนโบราณ อีกทั้งยังพบของมีค่าและวัตถุมากมายร่วมด้วย (หน้า 171-173)
 
- ผู้เขียนได้จัดจำแนกโบราณวัตถุที่พบเป็น 3 ประเภท คือ

     1. ลูกปัดและเครื่องประดับที่ทำด้วยหินสีต่างๆ และแก้ว ซึ่งสวยงามและโดดเด่นกว่าที่พบในแหล่งอื่น และมีลักษณะคล้ายลูกปัดที่พบในอินเดีย โดยลูกปัดเหล่านี้อาจเป็นของต่างถิ่นที่เข้ามาพร้อมพ่อค้าหรือคนสำคัญที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน หรืออาจเป็นของคนสำคัญท้องถิ่นก็ได้

     2. เครื่องสำริด ที่ทำเป็นรูปต่างๆ และเครื่องใช้ มีลักษณะคล้ายกับเครื่องสำริดในวัฒนธรรมดองซอนและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อกับทางตะวันออก

     3. เครื่องมือเหล็ก แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายและซับซ้อนของกลุ่มเครื่องมือที่ทำขึ้นในท้องถิ่นจึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าดินแดนนี้มีสังคมที่พัฒนาในระดับหนึ่งแล้ว

     จากหลักฐานที่พบ ศาตราจารย์ชิน อยู่ดีได้กำหนดอายุสมัยแหล่งโบราณคดีดอนตาเพชรว่าอยู่ที่ราว 1700 ปีมาแล้ว แต่ผู้เขียนไม่ค่อยเห็นด้วยเนื่องจากมีความขัดแย้งกันกับหลักฐานเอกสาร ซึ่งกล่าวว่าสมัยดังกล่าว สังคมนี้ได้รับอารยธรรมฮินดู-พุทธศาสนาจากอินเดียแล้ว ดังนั้นควรจะพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมอินเดียมากกว่านี้ (หน้า 173-175)
 
- ต่อมา ดร.เอียน โกลฟเวอร์ ได้ขุดค้นต่อ แต่มีความเห็นที่ขัดแย้งกับศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี โดยเชื่อว่าดอนตาเพชรนั้นเป็นเพียงชุมขนหมู่บ้านแรกเริ่ม โดยสันนิษฐานจากการพบลูกปัดหินคาร์เนเลียนขนาดใหญ่รูปเครื่องประดับลิงลิงโอและจี้รูปสิงห์เผ่น และก้อนสำริดสามเหลี่ยมที่อาจเป็นสัญลักษณ์ของสถูป ซึ่งจากหลักฐานนั้นได้กำหนดอายุไว้ราว 2000 ปีมาแล้ว (หน้า 175-176)
 
- ต่อมาอาจารย์สุรพล นาถะพินธุ ได้กล่าวว่า ดร.เอียน โกลฟเวอร์ได้ขยับอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีไปที่ราว 2300-2400 ซึ่งผู้เขียนนั้นเห็นด้วยมากที่สุด เนื่องจากมีความสอดคล้องกับหลักฐานการติดต่อกับอินเดีย แต่ยังไม่มีการพบหลักฐานของการนับถือพุทธศาสนาในแหล่งนี้ อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานได้แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดียแล้ว นอกจากนี้ยังมีความสอดคล้องกับคัมภีร์มหาวงศ์ที่ได้กล่าวถึงการส่งสมณฑูตจากอินเดียมายังสุวรรณภูมิ ซึ่งมีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าอยู่ในพม่าตอนใต้ และจากหลักฐานที่พบแล้วไม่มีสิ่งที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ จึงมีความเป็นไปได้มากกว่าที่สุวรรณภูมิจะอยู่ที่ลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง โดยมีเมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลาง และมีเองนครปฐมและคูบัวเป็นเมืองสำคัญทางศาสนา (หน้า 176-179)

ข้อวิจารณ์ :
-

โบราณวัตถุสำคัญ :
ลิงลิงโอ, จี้รูปสิงห์แผ่น

ห้องสมุดแนะนำ :
หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร, หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หอสมุดกลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลิงก์ที่มา :

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
สุววรณภูมิ สุววรณภูมิ สุววรณภูมิ สุววรณภูมิ สุววรณภูมิ สุววรณภูมิ สุววรณภูมิ สุววรณภูมิ สุววรณภูมิ

ยุคสมัย :
สุววรณภูมิ

วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 24 ก.พ. 2565
จำนวนผู้เข้าชม : 271