หน้าแรก บทความ จินตนาการ "สุวรรณภูมิ"

จินตนาการ "สุวรรณภูมิ"

จินตนาการ "สุวรรณภูมิ"

ชื่อผู้แต่ง พจนก กาญจนจันทร
วารสาร/นิตยสาร 25ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
หน้าที่ 36 - 49
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

      ในปีพุทธศักราช 2558 นี้ กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเข้าร่วมการเป็น ‘ประชาคมอาเซียน’ (ASEAN: The Association of South East Asian Nations) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเข้มแข็ง ด้านการเมืองและความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของภูมิภาค เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองในเวทีระดับโลก และจากกำหนดที่กำลังเคลื่อนเข้ามาทุกขณะนี้ ทำให้มีการตื่นตัวกันอย่างมากแทบทุกแวดวงในประเทศไทย อย่างเช่นวงวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย มีนโยบายกระตุ้นให้มีการร่วมมือทางวิชาการกับ มหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งสนับสนุนให้ เกิดโครงการวิจัยที่จะเป็นการเปิดพรมแดนเพื่อทำความเข้าใจกับสังคมวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และนี่ก็จะเป็นความหวังสำหรับวงวิชาการอย่างโบราณคดี ที่ว่าโครงการความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนความรู้จะได้รับการ สนับสนุนมากยิ่งขึ้น แล้วมายาคติที่เกิดจากเส้นเขตแดน ที่กำหนดโดยความเป็นรัฐชาติในสมัยปัจจุบันก็จะได้ ลดน้อยลงไปจนกระทั่งมลายหายไปในที่สุด แต่ก่อนที่จะวาดหวังไปไกลกว่านี้และก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าร่วม กับประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า คำถามก็คือ การศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีของไทยพร้อมหรือ ยังที่จะก้าวเข้าสู่โลกของการศึกษาแบบไร้พรมแดนและไร้อคติ และยอมรับว่าแนวความคิดและการแปลความมี ความหลากหลายซึ่งมาจากมุมมองที่แตกต่างกัน

       เมื่อกล่าวถึงอาเซียน ผู้เขียนนึกถึงคำ ถามเกี่ยวกับ ‘สุวรรณภูมิ’ ที่มาจากข้อสงสัยของนักศึกษาบางคน และ คิดว่าเป็นความสงสัยหรือความสับสนของใครหลายๆคนด้วยเช่นกัน กับความหมายและขอบเขตของ ‘สุวรรณภูมิ’ (Suvarnabhumi) ที่ปัจจุบันนี้มีการใช้เป็นชื่อเรียกที่หมาย ถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด แต่ในขณะที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่มีในปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน บทความนี้ต้องการที่จะชี้ให้เห็นถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ เกี่ยวข้องกับ ‘สุวรรณภูมิ’ ว่ามีความก้าวหน้าไปอย่างไร แล้วความหมายของ ‘สุวรรณภูมิ’ มีการเลื่อนไหลไปอย่างไร อันที่จริงแล้วในประเทศไทยมีผู้ศึกษาเรื่อง สุวรรณภูมิกันไว้มากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเสนอในบริบทที่เน้นประเทศไทยเป็นสำคัญ ซึ่งบทความนี้ต้องการจะทำความเข้าใจ ‘สุวรรณภูมิ’ ในเวทีวิชาการในระดับ ‘อาเซียน’ ว่าความหมายที่รับรู้และเข้าใจกันในประเทศไทยนั้นสอดคล้อง กับความเข้าใจในเวทีวิชาการของประชาคมอาเซียนหรือ ไม่อย่างไร

หลักฐานสำคัญ

-

ห้องสมุดแนะนำ

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

สุวรรณภูมิ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียน ประชาคมอาเซียน

ยุคสมัย

สุวรรณภูมิ

จำนวนผู้เข้าชม

169

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

26 ม.ค. 2566

จินตนาการ "สุวรรณภูมิ"

  • จินตนาการ "สุวรรณภูมิ"
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    พจนก กาญจนจันทร

    ชื่อบทความ :
    จินตนาการ "สุวรรณภูมิ"

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    25ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    หน้าที่ :
    36 - 49

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

          ในปีพุทธศักราช 2558 นี้ กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเข้าร่วมการเป็น ‘ประชาคมอาเซียน’ (ASEAN: The Association of South East Asian Nations) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเข้มแข็ง ด้านการเมืองและความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของภูมิภาค เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองในเวทีระดับโลก และจากกำหนดที่กำลังเคลื่อนเข้ามาทุกขณะนี้ ทำให้มีการตื่นตัวกันอย่างมากแทบทุกแวดวงในประเทศไทย อย่างเช่นวงวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย มีนโยบายกระตุ้นให้มีการร่วมมือทางวิชาการกับ มหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งสนับสนุนให้ เกิดโครงการวิจัยที่จะเป็นการเปิดพรมแดนเพื่อทำความเข้าใจกับสังคมวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และนี่ก็จะเป็นความหวังสำหรับวงวิชาการอย่างโบราณคดี ที่ว่าโครงการความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนความรู้จะได้รับการ สนับสนุนมากยิ่งขึ้น แล้วมายาคติที่เกิดจากเส้นเขตแดน ที่กำหนดโดยความเป็นรัฐชาติในสมัยปัจจุบันก็จะได้ ลดน้อยลงไปจนกระทั่งมลายหายไปในที่สุด แต่ก่อนที่จะวาดหวังไปไกลกว่านี้และก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าร่วม กับประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า คำถามก็คือ การศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีของไทยพร้อมหรือ ยังที่จะก้าวเข้าสู่โลกของการศึกษาแบบไร้พรมแดนและไร้อคติ และยอมรับว่าแนวความคิดและการแปลความมี ความหลากหลายซึ่งมาจากมุมมองที่แตกต่างกัน

           เมื่อกล่าวถึงอาเซียน ผู้เขียนนึกถึงคำ ถามเกี่ยวกับ ‘สุวรรณภูมิ’ ที่มาจากข้อสงสัยของนักศึกษาบางคน และ คิดว่าเป็นความสงสัยหรือความสับสนของใครหลายๆคนด้วยเช่นกัน กับความหมายและขอบเขตของ ‘สุวรรณภูมิ’ (Suvarnabhumi) ที่ปัจจุบันนี้มีการใช้เป็นชื่อเรียกที่หมาย ถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด แต่ในขณะที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่มีในปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน บทความนี้ต้องการที่จะชี้ให้เห็นถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ เกี่ยวข้องกับ ‘สุวรรณภูมิ’ ว่ามีความก้าวหน้าไปอย่างไร แล้วความหมายของ ‘สุวรรณภูมิ’ มีการเลื่อนไหลไปอย่างไร อันที่จริงแล้วในประเทศไทยมีผู้ศึกษาเรื่อง สุวรรณภูมิกันไว้มากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเสนอในบริบทที่เน้นประเทศไทยเป็นสำคัญ ซึ่งบทความนี้ต้องการจะทำความเข้าใจ ‘สุวรรณภูมิ’ ในเวทีวิชาการในระดับ ‘อาเซียน’ ว่าความหมายที่รับรู้และเข้าใจกันในประเทศไทยนั้นสอดคล้อง กับความเข้าใจในเวทีวิชาการของประชาคมอาเซียนหรือ ไม่อย่างไร

    หลักฐานสำคัญ

    -


    ห้องสมุดแนะนำ :
    ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    สุวรรณภูมิ

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    สุวรรณภูมิ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียน ประชาคมอาเซียน

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 26 ม.ค. 2566
    จำนวนผู้เข้าชม : 169