ชื่อผู้แต่ง | ชวลิต ขาวเขียว |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | มกราคม |
ปีที่ | 11 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 28 - 47 |
ภาษา | ภาษาไทย |
หัวเรื่อง | - |
บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาลักษณะศิลาวรรณาของหม้อสามขา จากแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ภาคกลางและพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงเทคโนโลยีการผลิต แหล่งวัตถุดิบ อุณหภูมิการเผา ผลการศึกษาพบว่า หม้อสามขาจากพื้นที่ภาคกลางจะใช้ดินในท้องถิ่นมาผลิต จัดเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน ขนาดทรายละเอียด มีการเตรียมดินที่ดี อุณหภูมิการเผาประมาณ 500 – 600 องศาเซลเซียส เผาแบบสุมไฟในพื้นที่โล่งแจ้ง ส่วนหม้อสามขาจากพื้นที่ภาคใต้จะใช้ดินในท้องถิ่นมาผลิต จัดเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน ขนาดค่อนข้างหยาบ ไม่มีการเตรียมดิน อุณหภูมิการเผาประมาณ 500 – 600 องศาเซลเซียส เผาแบบสุมไฟในพื้นที่โล่งแจ้ง
-
บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาลักษณะศิลาวรรณาของหม้อสามขา จากแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ภาคกลางและพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงเทคโนโลยีการผลิต แหล่งวัตถุดิบ อุณหภูมิการเผา ผลการศึกษาพบว่า หม้อสามขาจากพื้นที่ภาคกลางจะใช้ดินในท้องถิ่นมาผลิต จัดเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน ขนาดทรายละเอียด มีการเตรียมดินที่ดี อุณหภูมิการเผาประมาณ 500 – 600 องศาเซลเซียส เผาแบบสุมไฟในพื้นที่โล่งแจ้ง ส่วนหม้อสามขาจากพื้นที่ภาคใต้จะใช้ดินในท้องถิ่นมาผลิต จัดเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน ขนาดค่อนข้างหยาบ ไม่มีการเตรียมดิน อุณหภูมิการเผาประมาณ 500 – 600 องศาเซลเซียส เผาแบบสุมไฟในพื้นที่โล่งแจ้ง
-