หน้าแรก บทความ เทคโนโลยีการผลิต “หม้อมีสัน” สมัยทวารวดีในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

เทคโนโลยีการผลิต “หม้อมีสัน” สมัยทวารวดีในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

เทคโนโลยีการผลิต “หม้อมีสัน” สมัยทวารวดีในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

ชื่อผู้แต่ง ดวงกมล อัศวมาศ
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
เดือน มกราคม
ปีที่ 11
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 1 - 27
ภาษา ภาษาไทย
หัวเรื่อง -

เนื้อหาโดยย่อ

      บทความนี้เป็นการนำเสนอเรื่องการผลิตภาชนะดินเผาแบบหม้อมีสันในวัฒนธรรมทวารวดีในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จากแหล่งโบราณคดี 15 แหล่ง จำนวน 128 ตัวอย่าง ด้วยวิธีศิลาวรรณนา (petro-graphic analysis) เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบเชิงลึกของโบราณวัตถุประเภทดินเผา โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 ประการ คือ 1) เทคโนโลยีการผลิตหม้อมีสัน ตั้งแต่วัตถุดิบและส่วนผสม การขึ้นรูปภาชนะ การตกแต่งภาชนะ รวมไปถึงอุณหภูมิและการเผาของภาชนะ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนทวารวดีที่ใช้หม้อมีสันในภาคกลาง

    ผลการศึกษาพบว่าจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงลึกของกลุ่มตัวอย่างหม้อมีสันแสดงคุณลักษณะของภาชนะที่เรียกว่า “ภาชนะประเภทเนื้อดิน” (earthenware) โดยแหล่งดินวัตถุดิบของตัวอย่างส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งดินภายในภูมิภาค โดยมีส่วนผสม 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่เติมส่วนผสม ตั้งแต่ 1-3 ชนิดได้แก่ ทราย ทรายผสมแกลบข้าว ทรายผสมดินเชื้อ และทรายผสมดินเชื้อ และแกลบข้าว 2) กลุ่มที่ไม่เติมส่วนผสม คือ การใช้เนื้อดินธรรมชาติเพียงอย่างเดียว พบหลักฐานการขึ้นรูปภาชนะ 2 วิธี คือแป้นหมุน และการใช้มืออย่างอิสระประกอบกับการใช้หินดุร่วม ส่วนการตกแต่งผิวภาชนะ ได้แก่ การขัดผิว การกดด้วยลายเชือกทาบ การทานำดินสีแดง และการรมดำ สำหรับการเผาภาชนะเป็นแบบสุมเผากลางแจ้ง มีอุณหภูมิระหว่าง 400-550 องศาเซลเซียส จากหลักฐานองค์ประกอบเชิงลึกของหม้อมีสันที่นำมาศึกษาพบว่า มีความเป็นมาตรฐานภายในภูมิภาคของตนเอง และมีความสัมพันธ์กับภูมิภาคอื่นๆ

หลักฐานสำคัญ

-

ห้องสมุดแนะนำ

หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ศิลาวรรณา หม้อมีสัน ทวารวดี petro-graphic analysis

ยุคสมัย

ทวารวดี

จำนวนผู้เข้าชม

248

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

2 ธ.ค. 2565

เทคโนโลยีการผลิต “หม้อมีสัน” สมัยทวารวดีในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

  • เทคโนโลยีการผลิต “หม้อมีสัน” สมัยทวารวดีในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    ดวงกมล อัศวมาศ

    ชื่อบทความ :
    เทคโนโลยีการผลิต “หม้อมีสัน” สมัยทวารวดีในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม

    ปีที่ :
    11

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    1 - 27

    ภาษา :
    ภาษาไทย

    หัวเรื่อง :
    -

    เนื้อหาโดยย่อ

          บทความนี้เป็นการนำเสนอเรื่องการผลิตภาชนะดินเผาแบบหม้อมีสันในวัฒนธรรมทวารวดีในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จากแหล่งโบราณคดี 15 แหล่ง จำนวน 128 ตัวอย่าง ด้วยวิธีศิลาวรรณนา (petro-graphic analysis) เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบเชิงลึกของโบราณวัตถุประเภทดินเผา โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 ประการ คือ 1) เทคโนโลยีการผลิตหม้อมีสัน ตั้งแต่วัตถุดิบและส่วนผสม การขึ้นรูปภาชนะ การตกแต่งภาชนะ รวมไปถึงอุณหภูมิและการเผาของภาชนะ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนทวารวดีที่ใช้หม้อมีสันในภาคกลาง

        ผลการศึกษาพบว่าจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงลึกของกลุ่มตัวอย่างหม้อมีสันแสดงคุณลักษณะของภาชนะที่เรียกว่า “ภาชนะประเภทเนื้อดิน” (earthenware) โดยแหล่งดินวัตถุดิบของตัวอย่างส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งดินภายในภูมิภาค โดยมีส่วนผสม 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่เติมส่วนผสม ตั้งแต่ 1-3 ชนิดได้แก่ ทราย ทรายผสมแกลบข้าว ทรายผสมดินเชื้อ และทรายผสมดินเชื้อ และแกลบข้าว 2) กลุ่มที่ไม่เติมส่วนผสม คือ การใช้เนื้อดินธรรมชาติเพียงอย่างเดียว พบหลักฐานการขึ้นรูปภาชนะ 2 วิธี คือแป้นหมุน และการใช้มืออย่างอิสระประกอบกับการใช้หินดุร่วม ส่วนการตกแต่งผิวภาชนะ ได้แก่ การขัดผิว การกดด้วยลายเชือกทาบ การทานำดินสีแดง และการรมดำ สำหรับการเผาภาชนะเป็นแบบสุมเผากลางแจ้ง มีอุณหภูมิระหว่าง 400-550 องศาเซลเซียส จากหลักฐานองค์ประกอบเชิงลึกของหม้อมีสันที่นำมาศึกษาพบว่า มีความเป็นมาตรฐานภายในภูมิภาคของตนเอง และมีความสัมพันธ์กับภูมิภาคอื่นๆ

    หลักฐานสำคัญ

    -


    ห้องสมุดแนะนำ :
    หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ทวารวดี

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ศิลาวรรณา หม้อมีสัน ทวารวดี petro-graphic analysis

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 2 ธ.ค. 2565
    จำนวนผู้เข้าชม : 248