ชื่อผู้แต่ง | สันติ์ ไทยานนท์ |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | มกราคม |
ปีที่ | 12 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 259 - 285 |
ภาษา | ภาษาไทย |
หัวเรื่อง | - |
ผลจากการศึกษาคันดินนอกคูเมืองโบราณอู่ทองด้านทิศตะวันตกโดยวิธีการขุดค้นทางโบราณคดีในปี พ.ศ. 2553 ทำให้พบร่องรอยหลักฐาน รวมถึงโบราณวัตถุสำคัญที่สามารถนำมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองโบราณอู่ทองได้เป็นอย่างดี จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้ทราบว่าพื้นที่บริเวณคันดินคูเมืองอู่ทอง เริ่มมีการเข้ามาใช้พื้นที่ในอดีตตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 แล้วเป็นอย่างน้อย จากหลักฐานยังแสดงให้เห็นอีกว่าเมืองโบราณอู่ทองนั้น เป็นเมืองท่าโบราณรุ่นแรกๆที่รับวัฒนธรรมจากอินเดีย เช่นเดียวกันกับเมืองออกแก้วในประเทศเวียดนาม และยังพบหลักฐานว่าเริ่มมีการใช้ภาษาในการติดต่อค้าขายกับอินเดีย รวมถึงเมืองโบราณต่างๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11 มาแล้ว
ด้านการศึกษาชั้นทับถมของคันดินนอกคูเมืองด้านทิศตะวันตกพบหลักฐานการเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างคันดินนอกคูเมืองขึ้นอย่างน้อยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 และปรากฏเป็นคันดินนอกเมืองอู่ทองราวพุทธศตวรรษที่ 13 ต่อมาเมื่อถึงในช่วงพุทธตวรรษที่ 16 คันดินคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกได้ทำหน้าที่เป็นสุสานของผู้คนในเมืองอู่ทอง จากร่องรอยหลักฐานของการฝังศพที่พบ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อดั้งเดิมของชนพื้นเมืองที่ยังคงมีอยู่ ถึงแม้ว่าผู้คนในเมืองอู่ทองนี้จะได้รับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามานับถือก่อนหน้านี้เป็นระยะเวลายาวนานแล้วก็ตาม ต่อมาในช่วงปลายสมัยทวารวดีคันดินคูเมืองอู่ทอง ยังคงได้ถูกใช้งานต่อเนื่อง เรื่อยมา ก่อนที่จะถูกเลิกใช้งานไปพร้อมกับการทิ้งร้างของเมืองอู่ทอง ที่น่าจะมีเหตุมาจากสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนไป
-
ผลจากการศึกษาคันดินนอกคูเมืองโบราณอู่ทองด้านทิศตะวันตกโดยวิธีการขุดค้นทางโบราณคดีในปี พ.ศ. 2553 ทำให้พบร่องรอยหลักฐาน รวมถึงโบราณวัตถุสำคัญที่สามารถนำมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองโบราณอู่ทองได้เป็นอย่างดี จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้ทราบว่าพื้นที่บริเวณคันดินคูเมืองอู่ทอง เริ่มมีการเข้ามาใช้พื้นที่ในอดีตตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 แล้วเป็นอย่างน้อย จากหลักฐานยังแสดงให้เห็นอีกว่าเมืองโบราณอู่ทองนั้น เป็นเมืองท่าโบราณรุ่นแรกๆที่รับวัฒนธรรมจากอินเดีย เช่นเดียวกันกับเมืองออกแก้วในประเทศเวียดนาม และยังพบหลักฐานว่าเริ่มมีการใช้ภาษาในการติดต่อค้าขายกับอินเดีย รวมถึงเมืองโบราณต่างๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11 มาแล้ว
ด้านการศึกษาชั้นทับถมของคันดินนอกคูเมืองด้านทิศตะวันตกพบหลักฐานการเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างคันดินนอกคูเมืองขึ้นอย่างน้อยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 และปรากฏเป็นคันดินนอกเมืองอู่ทองราวพุทธศตวรรษที่ 13 ต่อมาเมื่อถึงในช่วงพุทธตวรรษที่ 16 คันดินคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกได้ทำหน้าที่เป็นสุสานของผู้คนในเมืองอู่ทอง จากร่องรอยหลักฐานของการฝังศพที่พบ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อดั้งเดิมของชนพื้นเมืองที่ยังคงมีอยู่ ถึงแม้ว่าผู้คนในเมืองอู่ทองนี้จะได้รับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามานับถือก่อนหน้านี้เป็นระยะเวลายาวนานแล้วก็ตาม ต่อมาในช่วงปลายสมัยทวารวดีคันดินคูเมืองอู่ทอง ยังคงได้ถูกใช้งานต่อเนื่อง เรื่อยมา ก่อนที่จะถูกเลิกใช้งานไปพร้อมกับการทิ้งร้างของเมืองอู่ทอง ที่น่าจะมีเหตุมาจากสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนไป
-