หน้าแรก บทความ ลำดับอายุของการตั้งถิ่นฐานทางโบราณคดีเขตเทือกเขาพนมดงรักฝั่งตะวันออก

ลำดับอายุของการตั้งถิ่นฐานทางโบราณคดีเขตเทือกเขาพนมดงรักฝั่งตะวันออก

ลำดับอายุของการตั้งถิ่นฐานทางโบราณคดีเขตเทือกเขาพนมดงรักฝั่งตะวันออก

ชื่อผู้แต่ง สุรีรัตน์ บุบผา
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
เดือน มกราคม
ปีที่ 18
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 11 - 40
ภาษา ภาษาไทย
หัวเรื่อง -

เนื้อหาโดยย่อ

      การศึกษาลำดับอายุของการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เทือกเขาพนมดงรักฝั่งตะวันออกต่อเนื่องกับที่ราบลอนลาดในเขตจังหวัดศรีสะเกษนั้น มีการสำรวจทั้งภาคสนามและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้พบการตั้งถิ่นฐานของประชากรโบราณตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อเนื่องสู่ยุคประวัติศาสตร์ จำนวน 38 แห่ง โดยปรากฏการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (สมัยเหล็ก) สืบเนื่องเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมเจนละ วัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมร วัฒนธรรมล้านช้าง และวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ต่างบ่งชี้ว่า เมื่อมีพัฒนาการเข้าสู่สังคมที่มีความซับซ้อนในช่วงประวัติศาสตร์แล้วนั้น การตั้งถิ่นฐานได้กระจายลงมาสู่พื้นที่ราบมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีชุมชนบางแห่งที่อาจมีสถานะเป็นศูนย์กลาง กระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ ทั้งนี้แม้การเพิ่มจำนวนมากขึ้นของชุมชนยุคประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนในวัฒนธรรมเขมรที่พบเป็นจำนวนมากในเขตที่ราบนั้น จะบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์กับการเพิ่มจำนวนประชากรและตอบสนองต่อความต้องการพื้นที่การผลิต โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว แต่ก็ยังพบว่าเขตพื้นที่สูงนั้นยังคงมีการใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่องที่สัมพันธ์กับคติทางศาสนา อย่างไรก็ตาม การใช้พื้นที่ควบคู่กันทั้งในเขตที่สูงและที่ราบลอนลาดนั้นเป็นแบบแผนการตั้งถิ่นฐานและการเลือกใช้พื้นที่ที่ปรากฏมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ทว่าข้อสังเกตประการหนึ่งที่พบคือการใช้พื้นที่ในเขตที่สูงช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์สัมพันธ์กับทั้งการใช้พื้นที่เพื่ออยู่อาศัย หรือเพื่อกิจกรรมทางศาสนาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผสมผสานระหว่างพื้นที่อยู่อาศัยกับพื้นที่กิจกรรมศาสนา ในขณะที่ช่วงยุคประวัติศาสตร์นั้น ไม่ปรากฏว่ามีการใช้พื้นที่ในเขตที่สูงเพื่อการอยู่อาศัยเป็นหลักเพียงอย่างเดียวดังที่เคยปรากฏในช่วงก่อนประวัติศาสตร์

หลักฐานสำคัญ

-

ห้องสมุดแนะนำ

หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ทวารวดี เจนละ ล้านช้าง เขมรโบราณ รัตนโกสินทร์ การตั้งถิ่นฐาน การเพาะปลูก เกษตรกรรม

ยุคสมัย

ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ทวารวดี เขมร สมัยก่อนเมืองพระนคร รัตนโกสินทร์ ล้านช้าง

จำนวนผู้เข้าชม

247

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

1 ธ.ค. 2565

ลำดับอายุของการตั้งถิ่นฐานทางโบราณคดีเขตเทือกเขาพนมดงรักฝั่งตะวันออก

  • ลำดับอายุของการตั้งถิ่นฐานทางโบราณคดีเขตเทือกเขาพนมดงรักฝั่งตะวันออก
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    สุรีรัตน์ บุบผา

    ชื่อบทความ :
    ลำดับอายุของการตั้งถิ่นฐานทางโบราณคดีเขตเทือกเขาพนมดงรักฝั่งตะวันออก

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม

    ปีที่ :
    18

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    11 - 40

    ภาษา :
    ภาษาไทย

    หัวเรื่อง :
    -

    เนื้อหาโดยย่อ

          การศึกษาลำดับอายุของการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เทือกเขาพนมดงรักฝั่งตะวันออกต่อเนื่องกับที่ราบลอนลาดในเขตจังหวัดศรีสะเกษนั้น มีการสำรวจทั้งภาคสนามและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้พบการตั้งถิ่นฐานของประชากรโบราณตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อเนื่องสู่ยุคประวัติศาสตร์ จำนวน 38 แห่ง โดยปรากฏการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (สมัยเหล็ก) สืบเนื่องเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมเจนละ วัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมร วัฒนธรรมล้านช้าง และวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ต่างบ่งชี้ว่า เมื่อมีพัฒนาการเข้าสู่สังคมที่มีความซับซ้อนในช่วงประวัติศาสตร์แล้วนั้น การตั้งถิ่นฐานได้กระจายลงมาสู่พื้นที่ราบมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีชุมชนบางแห่งที่อาจมีสถานะเป็นศูนย์กลาง กระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ ทั้งนี้แม้การเพิ่มจำนวนมากขึ้นของชุมชนยุคประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนในวัฒนธรรมเขมรที่พบเป็นจำนวนมากในเขตที่ราบนั้น จะบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์กับการเพิ่มจำนวนประชากรและตอบสนองต่อความต้องการพื้นที่การผลิต โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว แต่ก็ยังพบว่าเขตพื้นที่สูงนั้นยังคงมีการใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่องที่สัมพันธ์กับคติทางศาสนา อย่างไรก็ตาม การใช้พื้นที่ควบคู่กันทั้งในเขตที่สูงและที่ราบลอนลาดนั้นเป็นแบบแผนการตั้งถิ่นฐานและการเลือกใช้พื้นที่ที่ปรากฏมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ทว่าข้อสังเกตประการหนึ่งที่พบคือการใช้พื้นที่ในเขตที่สูงช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์สัมพันธ์กับทั้งการใช้พื้นที่เพื่ออยู่อาศัย หรือเพื่อกิจกรรมทางศาสนาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผสมผสานระหว่างพื้นที่อยู่อาศัยกับพื้นที่กิจกรรมศาสนา ในขณะที่ช่วงยุคประวัติศาสตร์นั้น ไม่ปรากฏว่ามีการใช้พื้นที่ในเขตที่สูงเพื่อการอยู่อาศัยเป็นหลักเพียงอย่างเดียวดังที่เคยปรากฏในช่วงก่อนประวัติศาสตร์

    หลักฐานสำคัญ

    -


    ห้องสมุดแนะนำ :
    หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ทวารวดี เขมร สมัยก่อนเมืองพระนคร รัตนโกสินทร์ ล้านช้าง

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ทวารวดี เจนละ ล้านช้าง เขมรโบราณ รัตนโกสินทร์ การตั้งถิ่นฐาน การเพาะปลูก เกษตรกรรม

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 1 ธ.ค. 2565
    จำนวนผู้เข้าชม : 247