ชื่อผู้แต่ง | รัศมี ชูทรงเดช |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | กรกฎาคม |
ปีที่ | 1 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 45 - 80 |
ภาษา | ภาษาไทย |
หัวเรื่อง | - |
ในอดีตเมื่อประมาณ8,000กว่าปีมาแล้วประเทศไทยและดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปรากฏการณ์ของการเกิดธารน้ำแข็งครั้งสุดท้าย (Last Glacial) ในบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านธรณีสัณฐานและสภาพแวดล้อมในขณะที่พื้นที่หลาย ๆ แห่งของโลก เช่นทวีปอเมริการเหนือ ยุโรป เอเชีย เป็นต้น ถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณอ่าวไทยค่อนข้างจะเหือดแห้ง และพื้นที่บางส่วนเชื่อมติดเป็นแผ่นดินเดียวกันกับเกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียวในประเทศอินโดนีเซีย และเกาะปาลาวันในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถูกเรียกว่า "แผ่นดินซุนดา" (Sundaland) บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ด้านอ่าวพังงาและอ่าวลึกก็ได้รับผลกระทบเช่นกันโดยพื้นที่แนวชายฝั่งจะห่างจากทะเลประมาณมากกว่า 30 กิโลเมตร และน้ำทะเลลดลงประมาณ 20 เมตร อ่าวจะแห้งลง และตื้นเขิน
นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแล้ว ช่วงระยะนี้ยังมีการพบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับร่องรอยของคนปัจจุบันในแหลมมลายู และหมู่เกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยปรากฏหลักฐานของคนในบริเวณดังกล่าวมาก่อนเลย แหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่มีการพบหลักฐานกระดูกคนมีอยู่เพียงไม่กี่แหล่งในภูมิภาคได้แก่ แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำ-ลอด จังหวัดแม่ฮ่องสอน แหล่งโบราณคดีกัว กูนุง รัสดูท์ (Gua Gunung Runtuh) รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย แหล่งโบราณคดีถ้ำนีอาร์ (Niah) เกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย และแหล่งโบราณคดีตาบง (Tabon) เกาะปาลาวัน ประเทศฟิลลิปปินส์ หากพิจารณาจากหลักฐานซากบรรพชีวิน (Fossil) ของสายพันธ์ุบรรพบุรุษของคน (Homo Eretus) ที่มีอายุเก่าแก่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอายุประมาณหนึ่งล้านกว่าปีมาแล้ว มีการพบเฉพาะในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น การปรากฏหลักฐานของคนในพื้นที่ที่ไม่มีร่องรอยของซากบรรพชีวินของคนมาก่อน ทำให้เกิดข้อกังขาสำหรับนักโบราณคดี และนักมานุษยวิทยาหรือนักมานุษวิทยากายภาพว่าคนปัจจุบันที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีสายวิวัฒนาการมาอย่างไร มาจากไหน หรือว่าอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้มาก่อน คนเหล่านี้มีเชื้อสายอะไร มีลักษณะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอย่างไร อาจจะกล่าวได้ว่าหลักฐานจากแหล่งโบราณคดีที่กล่าวมาในข้างต้นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาวิวัฒนาการของคนดั้งเดิมที่พัฒนาลักษณะทางกายภาพเหมือนคนปัจจุบัน (Homo Sapiens Sapiens) ที่เคยอาศัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นรากฐานความรู้ที่สำคัญที่จะช่วยคลี่คลายปมคำถามเกี่ยวกับเรื่องความซับซ้อนและความหลากหลาของชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในระยะต่อมา
กระบี่เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีความร่ำรวยทั้งทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมโดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม กว่าทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษาเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ของกระบี่ดินแดนชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยในอดีต โดยเฉพาะผลการขุดค้นที่ได้จากแหล่งโบราณคดีหลังโรงเรียน ในเทือกเขาหินปูนที่ตำบลทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ที่มีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ในชั้นวัฒนธรรมล่างสุด บ่งบอกการเข้ามาอยู่อาศัยในเพิงผาดังกล่าวเมื่อประมาณ 43,000 ปีมาแล้ว และผลการขุดค้นพบโครงกระดูกคนดั้งเดิม (Homo Sapiens Sapiens) ที่แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีอายุประมาณ 25,000 ปีมาแล้ว ด้วยเหตุที่แหล่งโบราณคดีทั้งสองเป็นแหล่งที่มีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยใช้ศาสตร์ต่างๆช่วยในการวิเคราะห์ตีความ ตลอดจนมีการพบหลักฐานที่หนาแน่นและมีค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน จึงอาจจะนับได้ว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่เป็นกุญแจสำคัญของการศึกษาโบราณคดีสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และของโลกอีกด้วย
อย่างไรก็ดี รายละเอียดของข้อมูลหลักฐานทางโบราณมักจะอยู่ในแวดวงที่จำกัด โดยเฉพาะหมู่นักโบราณคดี ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ หรือนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น นักธรณีวิทยา นักละอองเรณูวิทยา นักมานุษยวิทยากายภาพ เป็นต้น แม้ว่าจะมีความพยายามเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชนในรูปแบบต่างๆ แล้วก็ตาม ก็ยังเป็นการยากสำหรับประชาชนทั่วไป ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความสำคัญของช่วงสมัยไพลสโตซีนตอนปลายต่อประวัติศาสตร์ของสังคมและวัฒนธรรมประเทศไทย เนื่องจากขาดการสังเคราะห์ประมวลข้อมูลทั้งหมดและเชื่อมโยงภาพรวมเข้าด้วยกัน
ด้วยเหตุนี้ บทความนี้มีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอภาพรวมพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยอาศัยอยู่ในกระบี่เมื่อประมาณ 40,000 ถึง 7,500 ปีมาแล้ว โดยจะลำดับการนำเสนอดังนี้
ประการแรก เริ่มจากการย้อนร้อยอดีตสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อันเป็นการปูพื้นฐานของการค้นคว้าและประเมินสถานภาพองค์ความรู้เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ประการที่สอง กล่าวถึงเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ของกระบี่ในบริบทของประเทศไทย
ประการสุดท้ายจะเชื่อมโยงความสำคัญของหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในกระบี่ เข้าสู่บริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-
ในอดีตเมื่อประมาณ8,000กว่าปีมาแล้วประเทศไทยและดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปรากฏการณ์ของการเกิดธารน้ำแข็งครั้งสุดท้าย (Last Glacial) ในบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านธรณีสัณฐานและสภาพแวดล้อมในขณะที่พื้นที่หลาย ๆ แห่งของโลก เช่นทวีปอเมริการเหนือ ยุโรป เอเชีย เป็นต้น ถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณอ่าวไทยค่อนข้างจะเหือดแห้ง และพื้นที่บางส่วนเชื่อมติดเป็นแผ่นดินเดียวกันกับเกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียวในประเทศอินโดนีเซีย และเกาะปาลาวันในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถูกเรียกว่า "แผ่นดินซุนดา" (Sundaland) บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ด้านอ่าวพังงาและอ่าวลึกก็ได้รับผลกระทบเช่นกันโดยพื้นที่แนวชายฝั่งจะห่างจากทะเลประมาณมากกว่า 30 กิโลเมตร และน้ำทะเลลดลงประมาณ 20 เมตร อ่าวจะแห้งลง และตื้นเขิน
นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแล้ว ช่วงระยะนี้ยังมีการพบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับร่องรอยของคนปัจจุบันในแหลมมลายู และหมู่เกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยปรากฏหลักฐานของคนในบริเวณดังกล่าวมาก่อนเลย แหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่มีการพบหลักฐานกระดูกคนมีอยู่เพียงไม่กี่แหล่งในภูมิภาคได้แก่ แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำ-ลอด จังหวัดแม่ฮ่องสอน แหล่งโบราณคดีกัว กูนุง รัสดูท์ (Gua Gunung Runtuh) รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย แหล่งโบราณคดีถ้ำนีอาร์ (Niah) เกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย และแหล่งโบราณคดีตาบง (Tabon) เกาะปาลาวัน ประเทศฟิลลิปปินส์ หากพิจารณาจากหลักฐานซากบรรพชีวิน (Fossil) ของสายพันธ์ุบรรพบุรุษของคน (Homo Eretus) ที่มีอายุเก่าแก่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอายุประมาณหนึ่งล้านกว่าปีมาแล้ว มีการพบเฉพาะในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น การปรากฏหลักฐานของคนในพื้นที่ที่ไม่มีร่องรอยของซากบรรพชีวินของคนมาก่อน ทำให้เกิดข้อกังขาสำหรับนักโบราณคดี และนักมานุษยวิทยาหรือนักมานุษวิทยากายภาพว่าคนปัจจุบันที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีสายวิวัฒนาการมาอย่างไร มาจากไหน หรือว่าอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้มาก่อน คนเหล่านี้มีเชื้อสายอะไร มีลักษณะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอย่างไร อาจจะกล่าวได้ว่าหลักฐานจากแหล่งโบราณคดีที่กล่าวมาในข้างต้นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาวิวัฒนาการของคนดั้งเดิมที่พัฒนาลักษณะทางกายภาพเหมือนคนปัจจุบัน (Homo Sapiens Sapiens) ที่เคยอาศัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นรากฐานความรู้ที่สำคัญที่จะช่วยคลี่คลายปมคำถามเกี่ยวกับเรื่องความซับซ้อนและความหลากหลาของชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในระยะต่อมา
กระบี่เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีความร่ำรวยทั้งทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมโดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม กว่าทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษาเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ของกระบี่ดินแดนชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยในอดีต โดยเฉพาะผลการขุดค้นที่ได้จากแหล่งโบราณคดีหลังโรงเรียน ในเทือกเขาหินปูนที่ตำบลทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ที่มีการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ในชั้นวัฒนธรรมล่างสุด บ่งบอกการเข้ามาอยู่อาศัยในเพิงผาดังกล่าวเมื่อประมาณ 43,000 ปีมาแล้ว และผลการขุดค้นพบโครงกระดูกคนดั้งเดิม (Homo Sapiens Sapiens) ที่แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีอายุประมาณ 25,000 ปีมาแล้ว ด้วยเหตุที่แหล่งโบราณคดีทั้งสองเป็นแหล่งที่มีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยใช้ศาสตร์ต่างๆช่วยในการวิเคราะห์ตีความ ตลอดจนมีการพบหลักฐานที่หนาแน่นและมีค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน จึงอาจจะนับได้ว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่เป็นกุญแจสำคัญของการศึกษาโบราณคดีสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และของโลกอีกด้วย
อย่างไรก็ดี รายละเอียดของข้อมูลหลักฐานทางโบราณมักจะอยู่ในแวดวงที่จำกัด โดยเฉพาะหมู่นักโบราณคดี ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ หรือนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น นักธรณีวิทยา นักละอองเรณูวิทยา นักมานุษยวิทยากายภาพ เป็นต้น แม้ว่าจะมีความพยายามเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชนในรูปแบบต่างๆ แล้วก็ตาม ก็ยังเป็นการยากสำหรับประชาชนทั่วไป ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความสำคัญของช่วงสมัยไพลสโตซีนตอนปลายต่อประวัติศาสตร์ของสังคมและวัฒนธรรมประเทศไทย เนื่องจากขาดการสังเคราะห์ประมวลข้อมูลทั้งหมดและเชื่อมโยงภาพรวมเข้าด้วยกัน
ด้วยเหตุนี้ บทความนี้มีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอภาพรวมพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยอาศัยอยู่ในกระบี่เมื่อประมาณ 40,000 ถึง 7,500 ปีมาแล้ว โดยจะลำดับการนำเสนอดังนี้
ประการแรก เริ่มจากการย้อนร้อยอดีตสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อันเป็นการปูพื้นฐานของการค้นคว้าและประเมินสถานภาพองค์ความรู้เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ประการที่สอง กล่าวถึงเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ของกระบี่ในบริบทของประเทศไทย
ประการสุดท้ายจะเชื่อมโยงความสำคัญของหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในกระบี่ เข้าสู่บริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-