หน้าแรก บทความ การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรภาคใต้ตอนบน

การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรภาคใต้ตอนบน

การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรภาคใต้ตอนบน

ชื่อผู้แต่ง เชาวณา ไข่แก้ว
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
เดือน มกราคม
ปีที่ 11
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 32 - 60
ภาษา ภาษาไทย
หัวเรื่อง -

เนื้อหาโดยย่อ

       บทความเรื่องนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและหลักฐานที่ได้จากแหล่งสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีในทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร ระนอง และอำเภอท่า นะในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำมาใช้ในการสร้างแผนที่และข้อสันนิษฐานการใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรระหว่างฝั่งตะวันตก(อันดามัน)ไปยังฝั่ง ตะวันออก (อ่าวไทย) ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ (ประมาณ 500 ปีก่อนพุทธกาล – พุทธศตวรรษที่ 5) จนถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 - พุทธศักราช 2452) ผลการศึกษาข้อมูลจากแหล่งโบราณคดีบนพื้นที่ที่ดำเนินการศึกษาจำนวน 70 แหล่ง ปรากฏการใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรใน 3 ช่วงสมัย ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ (ประมาณ 500 ปีก่อนพุทธกาล - พุทธศตวรรษที่ 5), สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์(พุทธศตวรรษที่ 5-11) และสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 - 25) จำนวน 5 เส้นทาง คือ เส้นทางกระบุรี – ทุ่งตะโก และเส้นทาง เมืองระนอง – ทุ่งตะโก ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่, เส้นทางกะเปอร์ – ทุ่งตะโก / หลังสวน พบการใช้เส้นทางทั้งสามช่วงสมัย, เส้นทางภูเขาทอง – ทุ่งตะโก ในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และเส้นทางกระบุรี( ปากจั่น ) – ปากนำ ชุมพร ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์

       นอกจากนี้ยังปรากฏเส้นทางที่อาจมีการใช้งานอีก จำนวน 3 เส้นทางคือเส้นทางกะเปอร์ - ท่าชนะ เส้นทางปากจั่น- เขาสามแก้วและเส้นทางเมืองระนอง - เมืองหลังสวน (ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่, สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์, สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ) ซึ่งเส้นทางเหล่านี้ ควรได้รับการศึกษาค้นคว้าเพื่อยืนยันถึงการใช้เส้นทางในโอกาสต่อไป

หลักฐานสำคัญ

แหล่งโบราณตามเส้นทางข้ามคาบสมุทร

ห้องสมุดแนะนำ

หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร

ยุคสมัย

1 2 3 4 5 10 12

จำนวนผู้เข้าชม

496

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

22 พ.ย. 2565

การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรภาคใต้ตอนบน

  • การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรภาคใต้ตอนบน
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    เชาวณา ไข่แก้ว

    ชื่อบทความ :
    การศึกษาเส้นทางข้ามคาบสมุทรภาคใต้ตอนบน

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม

    ปีที่ :
    11

    ฉบับที่ :
    2

    หน้าที่ :
    32 - 60

    ภาษา :
    ภาษาไทย

    หัวเรื่อง :
    -

    เนื้อหาโดยย่อ

           บทความเรื่องนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและหลักฐานที่ได้จากแหล่งสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีในทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร ระนอง และอำเภอท่า นะในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำมาใช้ในการสร้างแผนที่และข้อสันนิษฐานการใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรระหว่างฝั่งตะวันตก(อันดามัน)ไปยังฝั่ง ตะวันออก (อ่าวไทย) ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ (ประมาณ 500 ปีก่อนพุทธกาล – พุทธศตวรรษที่ 5) จนถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 - พุทธศักราช 2452) ผลการศึกษาข้อมูลจากแหล่งโบราณคดีบนพื้นที่ที่ดำเนินการศึกษาจำนวน 70 แหล่ง ปรากฏการใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรใน 3 ช่วงสมัย ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ (ประมาณ 500 ปีก่อนพุทธกาล - พุทธศตวรรษที่ 5), สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์(พุทธศตวรรษที่ 5-11) และสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 - 25) จำนวน 5 เส้นทาง คือ เส้นทางกระบุรี – ทุ่งตะโก และเส้นทาง เมืองระนอง – ทุ่งตะโก ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่, เส้นทางกะเปอร์ – ทุ่งตะโก / หลังสวน พบการใช้เส้นทางทั้งสามช่วงสมัย, เส้นทางภูเขาทอง – ทุ่งตะโก ในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และเส้นทางกระบุรี( ปากจั่น ) – ปากนำ ชุมพร ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์

           นอกจากนี้ยังปรากฏเส้นทางที่อาจมีการใช้งานอีก จำนวน 3 เส้นทางคือเส้นทางกะเปอร์ - ท่าชนะ เส้นทางปากจั่น- เขาสามแก้วและเส้นทางเมืองระนอง - เมืองหลังสวน (ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่, สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์, สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ) ซึ่งเส้นทางเหล่านี้ ควรได้รับการศึกษาค้นคว้าเพื่อยืนยันถึงการใช้เส้นทางในโอกาสต่อไป

    หลักฐานสำคัญ

    แหล่งโบราณตามเส้นทางข้ามคาบสมุทร


    ห้องสมุดแนะนำ :
    หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    1 2 3 4 5 10 12

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 22 พ.ย. 2565
    จำนวนผู้เข้าชม : 496