หน้าแรก บทความ งานช่างฝีมือในยุคเหล็กของวัฒนธรรมโลงไม้บนพื้นที่สูงใน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

งานช่างฝีมือในยุคเหล็กของวัฒนธรรมโลงไม้บนพื้นที่สูงใน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

งานช่างฝีมือในยุคเหล็กของวัฒนธรรมโลงไม้บนพื้นที่สูงใน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

ชื่อผู้แต่ง รัศมี ชูทรงเดช
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
ปีที่ 13
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 73 - 106
ภาษา ภาษาไทย
หัวเรื่อง -

เนื้อหาโดยย่อ

      วัฒนธรรมโลงไม้ มีอายุระหว่าง 2,600 - 1,000 ปีมาแล้ว เป็นตัวแทนของพิธีกรรมการฝังศพของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะสมัยเหล็กบนพื้นที่สูงใน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังพบกระจายใน จ.เชียงใหม่ และ จ.กาญจนบุรี มีรูปแบบการปลงศพที่โดดเด่นแตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ กล่าวคือฝังศพครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ภายในโลงไม้แล้วนำไปวางไว้ในถ้ำ หรือเพิงผา ไม่ได้ขุดหลุมฝังเช่นในที่อื่น คนในวัฒนธรรมนี้ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมความตาย พบหลักฐานแสดงถึงการคัดเลือกไม้ การเตรียมไม้ การทำโลงไม้ การแกะสลักหัวโลงจำนวน 12 รูปแบบหลัก และการตกแต่งฟันของศพในโลงไม้ แสดงลักษณะเฉพาะนัยของช่างฝีมือที่มีความชำนาญสูงในสังคม

      บทความนี้นำเสมอ ก) แนวคิดการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องรูปแบบองค์กรทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกสังคมที่เป็นช่างฝีมือ จากการศึกษาเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรมเพื่อเป็นนัยในการเชื่อมโยงกับหลักฐานทางโบราณคดี ข) องค์ความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมโลงไม้โดยสังเขปที่มีช่างฝีมือเป็นสมาชิกสำคัญในการถ่ายทอดนัยทางวัฒนธรรมและสังคม และ ค) การสังเคราะห์ข้อมูลโบราณคดีจากงานวิจัยบนพื้นที่สูงใน อ.ปางมะผ้าเพื่ออธิบายในมิติทางสังคมของวัฒนธรรมโลงไม้

หลักฐานสำคัญ

โลงไม้

ห้องสมุดแนะนำ

หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

การฝังศพ โลงไม้ ปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงใหม่

ยุคสมัย

ยุคโลหะ สมัยเหล็ก

จำนวนผู้เข้าชม

324

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

18 พ.ย. 2565

งานช่างฝีมือในยุคเหล็กของวัฒนธรรมโลงไม้บนพื้นที่สูงใน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

  • งานช่างฝีมือในยุคเหล็กของวัฒนธรรมโลงไม้บนพื้นที่สูงใน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    รัศมี ชูทรงเดช

    ชื่อบทความ :
    งานช่างฝีมือในยุคเหล็กของวัฒนธรรมโลงไม้บนพื้นที่สูงใน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    ปีที่ :
    13

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    73 - 106

    ภาษา :
    ภาษาไทย

    หัวเรื่อง :
    -

    เนื้อหาโดยย่อ

          วัฒนธรรมโลงไม้ มีอายุระหว่าง 2,600 - 1,000 ปีมาแล้ว เป็นตัวแทนของพิธีกรรมการฝังศพของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะสมัยเหล็กบนพื้นที่สูงใน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังพบกระจายใน จ.เชียงใหม่ และ จ.กาญจนบุรี มีรูปแบบการปลงศพที่โดดเด่นแตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ กล่าวคือฝังศพครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ภายในโลงไม้แล้วนำไปวางไว้ในถ้ำ หรือเพิงผา ไม่ได้ขุดหลุมฝังเช่นในที่อื่น คนในวัฒนธรรมนี้ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมความตาย พบหลักฐานแสดงถึงการคัดเลือกไม้ การเตรียมไม้ การทำโลงไม้ การแกะสลักหัวโลงจำนวน 12 รูปแบบหลัก และการตกแต่งฟันของศพในโลงไม้ แสดงลักษณะเฉพาะนัยของช่างฝีมือที่มีความชำนาญสูงในสังคม

          บทความนี้นำเสมอ ก) แนวคิดการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องรูปแบบองค์กรทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกสังคมที่เป็นช่างฝีมือ จากการศึกษาเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรมเพื่อเป็นนัยในการเชื่อมโยงกับหลักฐานทางโบราณคดี ข) องค์ความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมโลงไม้โดยสังเขปที่มีช่างฝีมือเป็นสมาชิกสำคัญในการถ่ายทอดนัยทางวัฒนธรรมและสังคม และ ค) การสังเคราะห์ข้อมูลโบราณคดีจากงานวิจัยบนพื้นที่สูงใน อ.ปางมะผ้าเพื่ออธิบายในมิติทางสังคมของวัฒนธรรมโลงไม้

    หลักฐานสำคัญ

    โลงไม้


    ห้องสมุดแนะนำ :
    หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ยุคโลหะ สมัยเหล็ก

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    การฝังศพ โลงไม้ ปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงใหม่

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 18 พ.ย. 2565
    จำนวนผู้เข้าชม : 324