หน้าแรก บทความ กลองมโหระทึก: ภาพสะท้อนเส้นทางโขง–สาละวินยุคแรก

กลองมโหระทึก: ภาพสะท้อนเส้นทางโขง–สาละวินยุคแรก

กลองมโหระทึก: ภาพสะท้อนเส้นทางโขง–สาละวินยุคแรก

ชื่อผู้แต่ง ธีระวัฒน์ แสนคำ
วารสาร/นิตยสาร วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน
เดือน มกราคม-มิถุนายน
ปี 2563
ปีที่ 1
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 33-38
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นภาพอย่าง ชัดเจนว่ามีผู้คนจากลุ่มแม่น้ำโขง เดินทางติดต่อกับผู้คนใน ลุ่มแม่น้ำสาละวิน โดยผ่านลุ่มแม่น้ำน่านและลุ่มแม่น้ำปิงมา แล้วอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2,000 - 2,500 ปีมาแล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่าเส้นทางดังกล่าว เป็นเส้นทางการ ติดต่อคมนาคมระหว่างเขตแคว้นสุโขทัย โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำน่านไปยังกลุ่มเมืองเวียงจันทน์ เวียงคำ (ซายฟอง) ใน สมัยทวารวดีและลพบุรี” สืบมาจนถึงสมัยสุโขทัยและ อยุธยา รวมทั้งในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะไม่มีเส้นทางคมนาคม หลักที่ทำให้เห็นภาพเส้นทางการติดต่อของผู้คนจากลุ่ม แม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำสาละวินในยุคแรกอย่างชัดเจน แต่ หากมองจากสภาพทางภูมิศาสตร์แล้วก็จะเห็นช่องเขาต่างๆ ที่บางแห่งยังคงเป็นเส้นทางการติดต่อระหว่างชาวไทยกับ ชาวลาว หรือเส้นทางสายตาก – แม่สอด - เมียวดี ที่มีการ พัฒนาจากเส้นทางโบราณจนเป็นถนนสายสำคัญในปัจจุบัน

ส่วนสาเหตุที่ผู้คนจากลุ่มแม่น้ำโขงเดินทางมาติดต่อ กับผู้คนในลุ่มแม่น้ำสาละวินนั้น สาเหตุสำคัญคือการเดิน ทางมาหาแหล่งแร่โลหะที่ใช้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธ รวมทั้งกลองมโหระทึกสาเหตุต่อมาอาจจะเกิดปัญหา มาจากการถูกรุกรานจากกลุ่มคนทางตอนใต้ของจีน ทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่น ข้ามน้ำข้ามเขาเพื่อหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ และสาเหตุสุดท้ายคงเป็นเพราะการขยายอิทธิพลและเชื่อม โยงทางวัฒนธรรมไปยังดินแดนอื่นเช่นเดียวกับอิทธิพลจาก อินเดียและตะวันออกไกลที่ขยายเข้ามาทางทะเล  ในช่วง ระยะเวลาไล่เลี่ยกัน

บทความนี้จึงเป็นเสมือนการเปิดประตูย้อนไปให้เห็น ภาพสะท้อนจากในอดีต โดยอาศัยกลองมโหระทึกที่พบใน เขตภาคเหนือตอนล่างและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นหลักฐานทาง โบราณคดีในการศึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการ ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของ ผู้คนยุคแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ จากดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง เชื่อมโยงมาจนถึงลุ่มแม่น้ำสาละวินได้อย่างชัดเจนอีกหลักฐานหนึ่ง

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

กลองมโหรทึก ลุ่มแม่น้ำโขง การค้า ดองซอน

ยุคสมัย

ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย

จำนวนผู้เข้าชม

29

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

18 ก.พ. 2568

กลองมโหระทึก: ภาพสะท้อนเส้นทางโขง–สาละวินยุคแรก

  • กลองมโหระทึก: ภาพสะท้อนเส้นทางโขง–สาละวินยุคแรก
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    ธีระวัฒน์ แสนคำ

    ชื่อบทความ :
    กลองมโหระทึก: ภาพสะท้อนเส้นทางโขง–สาละวินยุคแรก

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม-มิถุนายน

    ปี :
    2563

    ปีที่ :
    1

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    33-38

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    ข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นภาพอย่าง ชัดเจนว่ามีผู้คนจากลุ่มแม่น้ำโขง เดินทางติดต่อกับผู้คนใน ลุ่มแม่น้ำสาละวิน โดยผ่านลุ่มแม่น้ำน่านและลุ่มแม่น้ำปิงมา แล้วอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2,000 - 2,500 ปีมาแล้ว

    นอกจากนี้ ยังพบว่าเส้นทางดังกล่าว เป็นเส้นทางการ ติดต่อคมนาคมระหว่างเขตแคว้นสุโขทัย โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำน่านไปยังกลุ่มเมืองเวียงจันทน์ เวียงคำ (ซายฟอง) ใน สมัยทวารวดีและลพบุรี” สืบมาจนถึงสมัยสุโขทัยและ อยุธยา รวมทั้งในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะไม่มีเส้นทางคมนาคม หลักที่ทำให้เห็นภาพเส้นทางการติดต่อของผู้คนจากลุ่ม แม่น้ำโขงและลุ่มแม่น้ำสาละวินในยุคแรกอย่างชัดเจน แต่ หากมองจากสภาพทางภูมิศาสตร์แล้วก็จะเห็นช่องเขาต่างๆ ที่บางแห่งยังคงเป็นเส้นทางการติดต่อระหว่างชาวไทยกับ ชาวลาว หรือเส้นทางสายตาก – แม่สอด - เมียวดี ที่มีการ พัฒนาจากเส้นทางโบราณจนเป็นถนนสายสำคัญในปัจจุบัน

    ส่วนสาเหตุที่ผู้คนจากลุ่มแม่น้ำโขงเดินทางมาติดต่อ กับผู้คนในลุ่มแม่น้ำสาละวินนั้น สาเหตุสำคัญคือการเดิน ทางมาหาแหล่งแร่โลหะที่ใช้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธ รวมทั้งกลองมโหระทึกสาเหตุต่อมาอาจจะเกิดปัญหา มาจากการถูกรุกรานจากกลุ่มคนทางตอนใต้ของจีน ทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่น ข้ามน้ำข้ามเขาเพื่อหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ และสาเหตุสุดท้ายคงเป็นเพราะการขยายอิทธิพลและเชื่อม โยงทางวัฒนธรรมไปยังดินแดนอื่นเช่นเดียวกับอิทธิพลจาก อินเดียและตะวันออกไกลที่ขยายเข้ามาทางทะเล  ในช่วง ระยะเวลาไล่เลี่ยกัน

    บทความนี้จึงเป็นเสมือนการเปิดประตูย้อนไปให้เห็น ภาพสะท้อนจากในอดีต โดยอาศัยกลองมโหระทึกที่พบใน เขตภาคเหนือตอนล่างและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นหลักฐานทาง โบราณคดีในการศึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการ ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของ ผู้คนยุคแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ จากดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง เชื่อมโยงมาจนถึงลุ่มแม่น้ำสาละวินได้อย่างชัดเจนอีกหลักฐานหนึ่ง

    หลักฐานสำคัญ

    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    กลองมโหรทึก ลุ่มแม่น้ำโขง การค้า ดองซอน

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 18 ก.พ. 2568
    จำนวนผู้เข้าชม : 29