ชื่อผู้แต่ง | ดีบุก เต็มมาศ |
วารสาร/นิตยสาร | Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) |
เดือน | กันยายน - ธันวาคม |
ปี | 2558 |
ปีที่ | 8 |
ฉบับที่ | 3 |
หน้าที่ | 118-131 |
ภาษา | ไทย |
มีการศึกษาพระพิมพ์ดินดิบที่พบในถ้ำหินปูนที่บริเวณลุ่มแม่น้ำตรัง โดยสามารถแบ่งพระพิมพ์ดินดิบที่แสดงภาพพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ เทพชัมภละ และพระสถูป จำนวนกว่า 850 องค์จากแหล่งโบราณคดีประเภทถ้ำหินปูน จำนวน 5 แหล่ง ออกเป็น 16 รูปแบบ พระพิมพ์ดินดิบเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นภายใต้อิทธิพลของศาสนาพุทธฝ่ายมหายานใน 3 ช่วงระยะเวลาได้แก่ พุทธศตวรรษที่ 13, พุทธศตวรรษที่ 14 – 15, และพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 พระพิมพ์ดินดิบที่พบในพุทธศตวรรษที่ 13 และ 14 – 15 นั้นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมศรีวิชัย ในขณะที่พระพิมพ์ดินดิบที่พบในพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมลพบุรี การบรรจุพระพิมพ์ในถ้ำหินปูนนั้นเป็นรูปแบบวัฒนธรรมที่พบได้ทั่วไปในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย จากรูปแบบที่คล้ายคลึงกันกับพระพิมพ์ที่พบในวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมของชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำตรังกับชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดี, ศรีวิชัย และลพบุรี
พระพิมพ์ดินดิบที่ลุ่มแม่น้ำตรัง
มีการศึกษาพระพิมพ์ดินดิบที่พบในถ้ำหินปูนที่บริเวณลุ่มแม่น้ำตรัง โดยสามารถแบ่งพระพิมพ์ดินดิบที่แสดงภาพพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ เทพชัมภละ และพระสถูป จำนวนกว่า 850 องค์จากแหล่งโบราณคดีประเภทถ้ำหินปูน จำนวน 5 แหล่ง ออกเป็น 16 รูปแบบ พระพิมพ์ดินดิบเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นภายใต้อิทธิพลของศาสนาพุทธฝ่ายมหายานใน 3 ช่วงระยะเวลาได้แก่ พุทธศตวรรษที่ 13, พุทธศตวรรษที่ 14 – 15, และพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 พระพิมพ์ดินดิบที่พบในพุทธศตวรรษที่ 13 และ 14 – 15 นั้นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมศรีวิชัย ในขณะที่พระพิมพ์ดินดิบที่พบในพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมลพบุรี การบรรจุพระพิมพ์ในถ้ำหินปูนนั้นเป็นรูปแบบวัฒนธรรมที่พบได้ทั่วไปในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย จากรูปแบบที่คล้ายคลึงกันกับพระพิมพ์ที่พบในวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมของชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำตรังกับชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดี, ศรีวิชัย และลพบุรี
พระพิมพ์ดินดิบที่ลุ่มแม่น้ำตรัง