หน้าแรก บทความ จารึกเตลากาบาตู: คติความเชื่อของชนชั้นปกครอง จากรูปลักษณ์และสารัตถะ

จารึกเตลากาบาตู: คติความเชื่อของชนชั้นปกครอง จากรูปลักษณ์และสารัตถะ

จารึกเตลากาบาตู: คติความเชื่อของชนชั้นปกครอง จากรูปลักษณ์และสารัตถะ

ชื่อผู้แต่ง ณภัทร เชาว์นวม และ อุเทน วงศ์สถิตย์
วารสาร/นิตยสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2566)
เดือน มกราคม - มิถุนายน
ปี 2566
ปีที่ 15
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 236-255
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

จารึกเตลากาบาตูเป็นจารึกสำคัญหลักหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย จารึกขึ้นในช่วงต้นของการก่อตั้งอาณาจักรศรีวิชัย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อของชนชั้นปกครองโดยพิจารณาจากรูปลักษณ์และจากเนื้อหาสารัตถะของจารึก ปรากฏผลการศึกษาดังนี้
ผลการศึกษาวิเคราะห์รูปลักษณ์ของจารึกเตลากาบาตู สันนิษฐานว่ารูปลักษณ์ของจารึกเตลากาบาตูสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพิธีถือน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ประติมากรรมหัวนาคทั้งเจ็ดตรงส่วนบนของจารึกเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ด้านอำนาจ รูปลักษณ์ของจารึกจึงปรากฏคติความเชื่อเรื่องบุญญาธิการและการแสดงพระราชอำนาจของกษัตริย์ ที่เป็นดังสมมติเทพตามคติฮินดู ผลการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสารัตถะของจารึกเตลากาบาตู พบว่าเนื้อหาสาระสำคัญของจารึกปรากฏคำสาปแช่งผู้คิดและกระทำการทรยศต่อกษัตริย์ เนื้อหาสาระของจารึกสะท้อนคติความเชื่อเรื่องขนบการแสดงพระราชอำนาจของกษัตริย์ที่มีต่อผู้อยู่ใต้การปกครอง โดยใช้คำสาปซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติเป็นเครื่องมือสร้าง ความหวาดกลัวให้แก่ผู้คิดทรยศ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจารึกหลักนี้สะท้อนคติความเชื่อในหลายมิติ ได้แก่ ศาสนา อำนาจบารมีของกษัตริย์ รวมถึงอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติแห่งคำสาป นับได้ว่าจารึกเตลากาบาตูเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ผ่านการออกแบบรูปลักษณ์และสลักถ้อยคำเพื่อเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างความศรัทธาและรักษาไว้ซึ่งพระราชอำนาจของกษัตริย์ในยุคต้นแห่งการสถาปนารัฐอาณาจักรแห่งนี้

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ความเชื่อ ศรีวิชัย จารึก จารึกเตลากาบาตู ชนชั้นปกครอง

ยุคสมัย

ศรีวิชัย ศรีวิชัย

จำนวนผู้เข้าชม

51

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

5 ก.พ. 2568

จารึกเตลากาบาตู: คติความเชื่อของชนชั้นปกครอง จากรูปลักษณ์และสารัตถะ

  • จารึกเตลากาบาตู: คติความเชื่อของชนชั้นปกครอง จากรูปลักษณ์และสารัตถะ
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    ณภัทร เชาว์นวม และ อุเทน วงศ์สถิตย์

    ชื่อบทความ :
    จารึกเตลากาบาตู: คติความเชื่อของชนชั้นปกครอง จากรูปลักษณ์และสารัตถะ

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2566)

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม - มิถุนายน

    ปี :
    2566

    ปีที่ :
    15

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    236-255

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    จารึกเตลากาบาตูเป็นจารึกสำคัญหลักหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย จารึกขึ้นในช่วงต้นของการก่อตั้งอาณาจักรศรีวิชัย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อของชนชั้นปกครองโดยพิจารณาจากรูปลักษณ์และจากเนื้อหาสารัตถะของจารึก ปรากฏผลการศึกษาดังนี้
    ผลการศึกษาวิเคราะห์รูปลักษณ์ของจารึกเตลากาบาตู สันนิษฐานว่ารูปลักษณ์ของจารึกเตลากาบาตูสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพิธีถือน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ประติมากรรมหัวนาคทั้งเจ็ดตรงส่วนบนของจารึกเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ด้านอำนาจ รูปลักษณ์ของจารึกจึงปรากฏคติความเชื่อเรื่องบุญญาธิการและการแสดงพระราชอำนาจของกษัตริย์ ที่เป็นดังสมมติเทพตามคติฮินดู ผลการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสารัตถะของจารึกเตลากาบาตู พบว่าเนื้อหาสาระสำคัญของจารึกปรากฏคำสาปแช่งผู้คิดและกระทำการทรยศต่อกษัตริย์ เนื้อหาสาระของจารึกสะท้อนคติความเชื่อเรื่องขนบการแสดงพระราชอำนาจของกษัตริย์ที่มีต่อผู้อยู่ใต้การปกครอง โดยใช้คำสาปซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติเป็นเครื่องมือสร้าง ความหวาดกลัวให้แก่ผู้คิดทรยศ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจารึกหลักนี้สะท้อนคติความเชื่อในหลายมิติ ได้แก่ ศาสนา อำนาจบารมีของกษัตริย์ รวมถึงอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติแห่งคำสาป นับได้ว่าจารึกเตลากาบาตูเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ผ่านการออกแบบรูปลักษณ์และสลักถ้อยคำเพื่อเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างความศรัทธาและรักษาไว้ซึ่งพระราชอำนาจของกษัตริย์ในยุคต้นแห่งการสถาปนารัฐอาณาจักรแห่งนี้

    หลักฐานสำคัญ

    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ศรีวิชัย ศรีวิชัย

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ความเชื่อ ศรีวิชัย จารึก จารึกเตลากาบาตู ชนชั้นปกครอง

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 5 ก.พ. 2568
    จำนวนผู้เข้าชม : 51