หน้าแรก บทความ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยราชวงศ์ฉินถึงราชวงศ์หยวน (221 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ.1368)

ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยราชวงศ์ฉินถึงราชวงศ์หยวน (221 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ.1368)

ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยราชวงศ์ฉินถึงราชวงศ์หยวน (221 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ.1368)

ชื่อผู้แต่ง พิภู บุษบก และ ศุภการ สิริไพศาล
วารสาร/นิตยสาร วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร
ปี 2020
ปีที่ 40
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 62 -74
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักและคุ้นเคยกับจีนมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน นเมื่อเข้าสู่สมัยราชวงศ์ฮั่นในยุคจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ จากหลักฐานเอกสารประวัติศาสตร์จีนโบราณแสดงให้เห็นว่าจีนการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัฐโบราณต่าง ๆ ขยายไปไกลถึงชายฝั่งตอนใต้ของอินเดีย ดังปรากฏว่า รัฐหวงจือ ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งอยู่บริเวณรัฐทมิฬนาฑูปัจจุบันมาถวายบรรณาการต่อราชสำนักฮั่น ขณะที่จีนก็มีการส่งขันทีออกเดินทางทางทะเลรอนแรมไปติดต่อซื้อขายสินค้ากับดินแดนต่าง ๆ นับเป็นการติดต่อค้าขายระยะแรกเริ่ม รวมถึงการปรากฏตัวของระบบบรรณาการ โดยระบบดังกล่าวกลายมาเป็นรูปแบบการติดต่อสัมพันธ์หลักที่จีนกำหนดให้ทุกชาติต้องติดต่อกับตนเอง ซึ่งทุกชาติต้องยอมรับอำนาจความยิ่งใหญ่ด้วยการมาถวายบรรณาการเพื่อแสดงความอ่อนน้อมต่อจีน ขณะที่จีนจะมอบผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล และส่วนใหญ่จะไม่มีการแทรกแซงทางการเมืองใด ๆ รูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงเป็นการติดต่อสัมพันธ์แบบที่ต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์ จีนได้แสดงความเป็นมหาอำนาจเหนือรัฐรายรอบ ขณะที่รัฐต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์หยวน ภายใต้ความพยายามขยายอำนาจทางการเมืองออกไปอย่างกว้างขวาง ระบบบรรณาการถูกนำมาบังคับใช้เพื่อให้รัฐน้อยใหญ่เข้ามาอ่อนน้อมต่อราชสำนักมองโกล และเนื่องด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่แฝงอยู่กับระบบบรรณาการ ส่งผลให้รัฐต่าง ๆ ยอมเข้ามาอ่อนน้อมต่อมองโกลแต่โดยดี นับเป็นจุดเริ่มต้นของความรุ่งเรืองของการค้าบรรณาการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก่อนจะเสื่อมลงในปลายสมัยราชวงศ์ชิง

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

เส้นทางสายไหมทางทะเล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้าสุวรรณภูมิ การค้ากับจีน

ยุคสมัย

ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย

จำนวนผู้เข้าชม

19

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

5 ม.ค. 2568

ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยราชวงศ์ฉินถึงราชวงศ์หยวน (221 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ.1368)

  • ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยราชวงศ์ฉินถึงราชวงศ์หยวน (221 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ.1368)
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    พิภู บุษบก และ ศุภการ สิริไพศาล

    ชื่อบทความ :
    ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยราชวงศ์ฉินถึงราชวงศ์หยวน (221 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ.1368)

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร

    ปี :
    2020

    ปีที่ :
    40

    ฉบับที่ :
    3

    หน้าที่ :
    62 -74

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักและคุ้นเคยกับจีนมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน นเมื่อเข้าสู่สมัยราชวงศ์ฮั่นในยุคจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ จากหลักฐานเอกสารประวัติศาสตร์จีนโบราณแสดงให้เห็นว่าจีนการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัฐโบราณต่าง ๆ ขยายไปไกลถึงชายฝั่งตอนใต้ของอินเดีย ดังปรากฏว่า รัฐหวงจือ ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งอยู่บริเวณรัฐทมิฬนาฑูปัจจุบันมาถวายบรรณาการต่อราชสำนักฮั่น ขณะที่จีนก็มีการส่งขันทีออกเดินทางทางทะเลรอนแรมไปติดต่อซื้อขายสินค้ากับดินแดนต่าง ๆ นับเป็นการติดต่อค้าขายระยะแรกเริ่ม รวมถึงการปรากฏตัวของระบบบรรณาการ โดยระบบดังกล่าวกลายมาเป็นรูปแบบการติดต่อสัมพันธ์หลักที่จีนกำหนดให้ทุกชาติต้องติดต่อกับตนเอง ซึ่งทุกชาติต้องยอมรับอำนาจความยิ่งใหญ่ด้วยการมาถวายบรรณาการเพื่อแสดงความอ่อนน้อมต่อจีน ขณะที่จีนจะมอบผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล และส่วนใหญ่จะไม่มีการแทรกแซงทางการเมืองใด ๆ รูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงเป็นการติดต่อสัมพันธ์แบบที่ต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์ จีนได้แสดงความเป็นมหาอำนาจเหนือรัฐรายรอบ ขณะที่รัฐต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์หยวน ภายใต้ความพยายามขยายอำนาจทางการเมืองออกไปอย่างกว้างขวาง ระบบบรรณาการถูกนำมาบังคับใช้เพื่อให้รัฐน้อยใหญ่เข้ามาอ่อนน้อมต่อราชสำนักมองโกล และเนื่องด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่แฝงอยู่กับระบบบรรณาการ ส่งผลให้รัฐต่าง ๆ ยอมเข้ามาอ่อนน้อมต่อมองโกลแต่โดยดี นับเป็นจุดเริ่มต้นของความรุ่งเรืองของการค้าบรรณาการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก่อนจะเสื่อมลงในปลายสมัยราชวงศ์ชิง

    หลักฐานสำคัญ

    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    เส้นทางสายไหมทางทะเล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้าสุวรรณภูมิ การค้ากับจีน

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 5 ม.ค. 2568
    จำนวนผู้เข้าชม : 19