หน้าแรก บทความ พระวิษณุจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศิลปะในประเทศไทย

พระวิษณุจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศิลปะในประเทศไทย

พระวิษณุจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศิลปะในประเทศไทย

ชื่อผู้แต่ง จีราวรรณ แสงเพ็ชร์
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
เดือน มกราคม-มิถุนายน
ปี 2561
ปีที่ 17
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 69-90
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

เทวรูปพระวิษณุจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศิลปะในประเทศไทย ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 มีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่กับเส้นทางเผยแพร่ศาสนา การค้าและศิลปกรรม จัดจำแนกตามพื้นที่ที่พบ 3 กลุ่ม คือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก ภาคใต้ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก จากการศึกษาสามารถแบ่งออกได้ 5 แบบ พระวิษณุระยะแรกจะมีความสัมพันธ์กับศิลปะอินเดียที่พบตามแนวชายฝั่งเมืองท่าทางทะเล ระยะต่อมาพบเทวรูปพระวิษณุบริเวณเมืองท่าภาคใต้ของประเทศไทยรวมถึงเมืองท่าใกล้ลำน้ำสำคัญในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังแสดงให้ถึงความสัมพันธ์ด้านรูปแบบศิลปะกับเทวรูปพระวิษณุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คติการนับถือเทวรูปพระวิษณุยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏหลักฐานในชุมชนพ่อค้าคหบดีที่ให้ความสำคัญกับการค้าโดยเฉพาะภาคกลางของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ได้พบเทวรูปพระวิษณุขนาดเล็ก จำหลักอย่างประณีตไม่มีเดือยสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ สันนิษฐานว่าคงเป็นประติมากรรมต้นแบบ เพื่อการจำหลักพระวิษณุองค์ใหญ่ที่เป็นประธานในเทวาลัย ซึ่งเทคนิคดังกล่าวยังคงปรากฏเป็นขั้นตอนสำคัญในการจำหลักหรือการปั้นประติมากรรมที่สืบมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับการศึกษาเทวรูปพระวิษณุวัดดงสัก ต.พงตึก จังหวัดกาญจนบุรี ได้ใช้วิธีบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ โดยใช้เทคนิค Radition X-Ray Gamma ทางวิศวกรรมนิวเคลียร์ เพื่อวิเคราะห์และจำแนกชิ้นส่วนเดิมของพระวิษณุร่วมกับการศึกษารูปแบบศิลปกรรม ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ด้านรูปแบบศิลปะและเทคนิคการจำหลักกับเทวรูปพระวิษณุที่ทรงผ้าสมพตสั้น ศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครและตอนใต้ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

หลักฐานสำคัญ

เทวรูปพระวิษณุวัดดงสัก ต.พงตึก จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ศิลกรรม ศิลปะเขมรในไทย ศิลปะเขมรก่อนพระนคร เทวรูป พระศิวะ

ยุคสมัย

ก่อนพุทธศตวรรษที่19

จำนวนผู้เข้าชม

63

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

8 ธ.ค. 2567

พระวิษณุจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศิลปะในประเทศไทย

  • พระวิษณุจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศิลปะในประเทศไทย
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    จีราวรรณ แสงเพ็ชร์

    ชื่อบทความ :
    พระวิษณุจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศิลปะในประเทศไทย

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม-มิถุนายน

    ปี :
    2561

    ปีที่ :
    17

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    69-90

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    เทวรูปพระวิษณุจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศิลปะในประเทศไทย ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 มีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่กับเส้นทางเผยแพร่ศาสนา การค้าและศิลปกรรม จัดจำแนกตามพื้นที่ที่พบ 3 กลุ่ม คือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก ภาคใต้ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก จากการศึกษาสามารถแบ่งออกได้ 5 แบบ พระวิษณุระยะแรกจะมีความสัมพันธ์กับศิลปะอินเดียที่พบตามแนวชายฝั่งเมืองท่าทางทะเล ระยะต่อมาพบเทวรูปพระวิษณุบริเวณเมืองท่าภาคใต้ของประเทศไทยรวมถึงเมืองท่าใกล้ลำน้ำสำคัญในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังแสดงให้ถึงความสัมพันธ์ด้านรูปแบบศิลปะกับเทวรูปพระวิษณุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คติการนับถือเทวรูปพระวิษณุยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏหลักฐานในชุมชนพ่อค้าคหบดีที่ให้ความสำคัญกับการค้าโดยเฉพาะภาคกลางของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ได้พบเทวรูปพระวิษณุขนาดเล็ก จำหลักอย่างประณีตไม่มีเดือยสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ สันนิษฐานว่าคงเป็นประติมากรรมต้นแบบ เพื่อการจำหลักพระวิษณุองค์ใหญ่ที่เป็นประธานในเทวาลัย ซึ่งเทคนิคดังกล่าวยังคงปรากฏเป็นขั้นตอนสำคัญในการจำหลักหรือการปั้นประติมากรรมที่สืบมาจนถึงปัจจุบัน

    สำหรับการศึกษาเทวรูปพระวิษณุวัดดงสัก ต.พงตึก จังหวัดกาญจนบุรี ได้ใช้วิธีบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ โดยใช้เทคนิค Radition X-Ray Gamma ทางวิศวกรรมนิวเคลียร์ เพื่อวิเคราะห์และจำแนกชิ้นส่วนเดิมของพระวิษณุร่วมกับการศึกษารูปแบบศิลปกรรม ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ด้านรูปแบบศิลปะและเทคนิคการจำหลักกับเทวรูปพระวิษณุที่ทรงผ้าสมพตสั้น ศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครและตอนใต้ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

    หลักฐานสำคัญ

    เทวรูปพระวิษณุวัดดงสัก ต.พงตึก จังหวัดกาญจนบุรี


    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ก่อนพุทธศตวรรษที่19

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ศิลกรรม ศิลปะเขมรในไทย ศิลปะเขมรก่อนพระนคร เทวรูป พระศิวะ

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 8 ธ.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 63