หน้าแรก บทความ การศึกษาประติมากรรมพระอุมาสมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทย

การศึกษาประติมากรรมพระอุมาสมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทย

การศึกษาประติมากรรมพระอุมาสมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทย

ชื่อผู้แต่ง เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
เดือน มกราคม-มิถุนายน
ปี 2558
ปีที่ 41
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 125-148
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

พระอุมาเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าที่ได้รับความเคารพสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะนิกาย ในอินเดียความเชื่อเกี่ยวกับพระอุมามีพื้นฐานมาจากการบูชาพระแม่แห่งความอุดมสมบูรณ์ ในสมัยพระเวท เทพและเทวีต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนปรากฏการณ์ธรรมชาติได้รับการพัฒนาให้มีคุณสมบัติซับซ้อนมากขึ้นและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ตั้งแต่สมัยคุปตะเป็นต้นมาพระอุมาหรือนางปารวตีได้รวมคุณสมบัติของเทวีท้องถิ่นไว้ที่พระองค์และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นชายาหรือศักติของพระศิวะโดยพระนางคือต้นเค้าหรือแหล่งเสริมอำนาจที่สำคัญของพระศิวะ ในดินแดนไทยพบประติมากรรมพระอุมาทั้งแกะสลักจากศิลาและหล่อด้วยโลหะอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 มีลักษณะร่วมแบบศิลปะเขมรมากกว่าศิลปะอินเดีย ประติมานวิทยาที่เด่นชัดของพระอุมาในดินแดนไทยกับพระอุมาในเขมรที่ต่างไปจากอินเดียคือ พระอุมาไม่ทรงอาวุธของพระศิวะแต่มักทรงสังข์ในพระหัตถ์ซ้ายบนและทรงจักรในพระหัตถ์ขวาบน ซึ่งทั้งสังข์และจักรเป็นอาวุธของพระนารายณ์

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ศิลปะเขมร ประติมานวิทยา พระอุมา ศิลปะเขมรในไทย

ยุคสมัย

พุทธศตวรรษที่12 พุทธศตวรรษที่18

จำนวนผู้เข้าชม

43

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

8 ธ.ค. 2567

การศึกษาประติมากรรมพระอุมาสมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทย

  • การศึกษาประติมากรรมพระอุมาสมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทย
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว

    ชื่อบทความ :
    การศึกษาประติมากรรมพระอุมาสมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทย

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม-มิถุนายน

    ปี :
    2558

    ปีที่ :
    41

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    125-148

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    พระอุมาเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าที่ได้รับความเคารพสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะนิกาย ในอินเดียความเชื่อเกี่ยวกับพระอุมามีพื้นฐานมาจากการบูชาพระแม่แห่งความอุดมสมบูรณ์ ในสมัยพระเวท เทพและเทวีต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนปรากฏการณ์ธรรมชาติได้รับการพัฒนาให้มีคุณสมบัติซับซ้อนมากขึ้นและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ตั้งแต่สมัยคุปตะเป็นต้นมาพระอุมาหรือนางปารวตีได้รวมคุณสมบัติของเทวีท้องถิ่นไว้ที่พระองค์และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นชายาหรือศักติของพระศิวะโดยพระนางคือต้นเค้าหรือแหล่งเสริมอำนาจที่สำคัญของพระศิวะ ในดินแดนไทยพบประติมากรรมพระอุมาทั้งแกะสลักจากศิลาและหล่อด้วยโลหะอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 มีลักษณะร่วมแบบศิลปะเขมรมากกว่าศิลปะอินเดีย ประติมานวิทยาที่เด่นชัดของพระอุมาในดินแดนไทยกับพระอุมาในเขมรที่ต่างไปจากอินเดียคือ พระอุมาไม่ทรงอาวุธของพระศิวะแต่มักทรงสังข์ในพระหัตถ์ซ้ายบนและทรงจักรในพระหัตถ์ขวาบน ซึ่งทั้งสังข์และจักรเป็นอาวุธของพระนารายณ์

    หลักฐานสำคัญ

    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    พุทธศตวรรษที่12 พุทธศตวรรษที่18

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ศิลปะเขมร ประติมานวิทยา พระอุมา ศิลปะเขมรในไทย

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 8 ธ.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 43