ชื่อผู้แต่ง | ตรงใจ หุตางกูร |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | มกราคม-มิถุนายน |
ปี | 2557 |
ปีที่ | 13 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 15-44 |
ภาษา | ไทย |
หมายเหตุ | <p>ผู้วิจัยตั้งคำถามว่าเมืองโบราณในยุคทวารวดีที่ตั้งกระจายอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เหตุใดจึงไม่มีร่องรอยของเมืองยุคทวารวดีในลุ่มบางกอก จึงตั้งข้อสันนิฐานว่า ในเวลานั้นตั้งเมืองตามแนวชายฝั่งทะเล ผู้วิจัยจึงหาคำตอบโดยใช้ข้อมูลด้านธรณีสัณฐาน เรณูวิทยา และค่าอายุเรดิโอคาร์บอน เพื่อกำหนดแนวชายฝั่งทะเลโบราณสมัยทวารวดี</p> |
งานวิจัยนี้ วิเคราะห์หาพัฒนาการของภูมิศาสตร์พืชพรรณสมัยโฮโลซีนในพื้นที่ราบภาคกลางตอนล่าง โดยบูรณาการข้อมูลด้านธรณีสัณฐาน เรณูวิทยา และค่าอายุเรดิโอคาร์บอน เพื่อกำหนดแนวชายฝั่งทะเลโบราณสมัยทวารวดี ผลการวิจัยพบว่า แนวชายฝั่งทะเลโบราณตลอดสมัยโฮโลซีน มีสภาพนิเวศแบบผืนป่าชายเลน เมื่อราว 8,400 ปีมาแล้วตามปีปฏิทิน เกิดปรากฎการณ์การรุกเข้าสูงสุดของน้ำทะเลสมัยโฮโลซีน ทำให้น้ำทะเลขึ้นมาถึงพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ต่อไปถึง จ. อ่างทอง ต่อมาเมื่อเกิดการถดถอยของน้ำทะเลสมัยโฮโลซีนตั้งแต่ราว 7,000 ปีมาแล้วตามปีปฏิทิน ทำให้แนวชายฝั่งทะเลเคลื่อนที่ลงมาทางทิศใต้อย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ระดับปัจจุบัน แนวชายฝั่งทะเลสมัยทวารวดี มีผืนป่าชายเลนอยู่ในพื้นที่ตอนใต้ของกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ดังนั้น แนวชายฝั่งทะเลร่วมสมัยกับทวารวดี จึงมีขอบเขตไม่อยู่เหนือไปกว่าพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเป็นไปไม่ได้ที่น้ำทะเลจะขึ้นไปประชิดถึงที่ตั้งเมืองสำคัญของทวารวดี อาทิอู่ทอง หรือ เมืองนครปฐมโบราณ
ผู้วิจัยตั้งคำถามว่าเมืองโบราณในยุคทวารวดีที่ตั้งกระจายอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เหตุใดจึงไม่มีร่องรอยของเมืองยุคทวารวดีในลุ่มบางกอก จึงตั้งข้อสันนิฐานว่า ในเวลานั้นตั้งเมืองตามแนวชายฝั่งทะเล ผู้วิจัยจึงหาคำตอบโดยใช้ข้อมูลด้านธรณีสัณฐาน เรณูวิทยา และค่าอายุเรดิโอคาร์บอน เพื่อกำหนดแนวชายฝั่งทะเลโบราณสมัยทวารวดี
งานวิจัยนี้ วิเคราะห์หาพัฒนาการของภูมิศาสตร์พืชพรรณสมัยโฮโลซีนในพื้นที่ราบภาคกลางตอนล่าง โดยบูรณาการข้อมูลด้านธรณีสัณฐาน เรณูวิทยา และค่าอายุเรดิโอคาร์บอน เพื่อกำหนดแนวชายฝั่งทะเลโบราณสมัยทวารวดี ผลการวิจัยพบว่า แนวชายฝั่งทะเลโบราณตลอดสมัยโฮโลซีน มีสภาพนิเวศแบบผืนป่าชายเลน เมื่อราว 8,400 ปีมาแล้วตามปีปฏิทิน เกิดปรากฎการณ์การรุกเข้าสูงสุดของน้ำทะเลสมัยโฮโลซีน ทำให้น้ำทะเลขึ้นมาถึงพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ต่อไปถึง จ. อ่างทอง ต่อมาเมื่อเกิดการถดถอยของน้ำทะเลสมัยโฮโลซีนตั้งแต่ราว 7,000 ปีมาแล้วตามปีปฏิทิน ทำให้แนวชายฝั่งทะเลเคลื่อนที่ลงมาทางทิศใต้อย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ระดับปัจจุบัน แนวชายฝั่งทะเลสมัยทวารวดี มีผืนป่าชายเลนอยู่ในพื้นที่ตอนใต้ของกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ดังนั้น แนวชายฝั่งทะเลร่วมสมัยกับทวารวดี จึงมีขอบเขตไม่อยู่เหนือไปกว่าพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเป็นไปไม่ได้ที่น้ำทะเลจะขึ้นไปประชิดถึงที่ตั้งเมืองสำคัญของทวารวดี อาทิอู่ทอง หรือ เมืองนครปฐมโบราณ