ชื่อผู้แต่ง | รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | มกราคม-มิถุนายน |
ปี | 2557 |
ปีที่ | 13 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 133-158 |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | ปุษยคิริ, เมืองอู่ทอง |
จารึกปุษยคิริเป็นจารึกที่มีอายุอยู่ในราวช่วง พ.ศ. 1300–1400 โดยประมาณ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จารึกหลักนี้มีข้อความสั้น คือ ปุษยคิริ มีความหมายว่า เขาปุษยะ ซึ่งในเทพนิยายของศาสนาพราหมณ์กล่าวว่า ปุษยคิริ เป็นสวนของพระวรุณ แต่อย่างไรก็ตามในชมพูทวีปก็ปรากฏนาม “เขาปุษยคิริ” ว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ 2 แห่ง คือ
1. ในเมืองนาคารชุนโกณฑะ อานธรประเทศ
2. ในรัฐโอริสสา
จากหลักฐานหลายชิ้นชี้ชัดว่า จารึกปุษยคิริ พบที่เมืองโบราณอู่ทอง ดังนั้น “เขาปุษยคิริ” ก็ต้องอยู่ในบริเวณอู่ทอง ซึ่งผู้เขียนตีความว่า เป็นแนวเขาทำเทียม เพราะเป็นแนวเขาขนาดใหญ่ที่ใกล้เมืองอู่ทองมากที่สุด และในพื้นที่ของเขาทำเทียมพบโบราณสถานสำคัญในสมัยทวารวดีหลายแห่ง รวมกับมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในพื้นที่แถบนี้
สาเหตุที่ทำให้แนวเขาทำเทียมเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองอู่ทอง เพราะ
1. เป็นภูเขาที่เด่นสง่าก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้เป็นหลักหมาย (Landmark)เพื่อให้เดินทาง
2. ความเชื่อของผู้คนในอดีต ผีที่ศักดิ์สิทธิ์หรือผีผู้ใหญ่จะต้องอยู่ที่ภูเขา ซึ่ง เป็นความเชื่อที่พบในดินแดนอุษาคเนย์
แม้ว่าในช่วงระยะเวลาหลังปี พ.ศ. 1500 เมืองโบราณอู่ทองจะได้ลดบทบาทลง แต่แนวเขาทำเทียมก็ยังเป็นแนวเขาศักดิ์สิทธิ์อยู่ ดังปรากฏหลักฐานเจดีย์ทรงระฆังที่สามารถเทียบเคียงรูปแบบได้กับเจดีย์รายในวัดพระศรีสรรเพชญ์พระนครศรีอยุธยา จึงพอที่จะกำหนดอายุเจดีย์องค์นี้ว่าอยู่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 เราไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าผู้คนได้ลืมเลือนว่าแนวเขาทำเทียมเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่อย่างน้อยก็ควรอยู่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์เป็นอย่างช้า
จารึกปุษยคิริ
จารึกปุษยคิริเป็นจารึกที่มีอายุอยู่ในราวช่วง พ.ศ. 1300–1400 โดยประมาณ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จารึกหลักนี้มีข้อความสั้น คือ ปุษยคิริ มีความหมายว่า เขาปุษยะ ซึ่งในเทพนิยายของศาสนาพราหมณ์กล่าวว่า ปุษยคิริ เป็นสวนของพระวรุณ แต่อย่างไรก็ตามในชมพูทวีปก็ปรากฏนาม “เขาปุษยคิริ” ว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ 2 แห่ง คือ
1. ในเมืองนาคารชุนโกณฑะ อานธรประเทศ
2. ในรัฐโอริสสา
จากหลักฐานหลายชิ้นชี้ชัดว่า จารึกปุษยคิริ พบที่เมืองโบราณอู่ทอง ดังนั้น “เขาปุษยคิริ” ก็ต้องอยู่ในบริเวณอู่ทอง ซึ่งผู้เขียนตีความว่า เป็นแนวเขาทำเทียม เพราะเป็นแนวเขาขนาดใหญ่ที่ใกล้เมืองอู่ทองมากที่สุด และในพื้นที่ของเขาทำเทียมพบโบราณสถานสำคัญในสมัยทวารวดีหลายแห่ง รวมกับมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในพื้นที่แถบนี้
สาเหตุที่ทำให้แนวเขาทำเทียมเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองอู่ทอง เพราะ
1. เป็นภูเขาที่เด่นสง่าก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้เป็นหลักหมาย (Landmark)เพื่อให้เดินทาง
2. ความเชื่อของผู้คนในอดีต ผีที่ศักดิ์สิทธิ์หรือผีผู้ใหญ่จะต้องอยู่ที่ภูเขา ซึ่ง เป็นความเชื่อที่พบในดินแดนอุษาคเนย์
แม้ว่าในช่วงระยะเวลาหลังปี พ.ศ. 1500 เมืองโบราณอู่ทองจะได้ลดบทบาทลง แต่แนวเขาทำเทียมก็ยังเป็นแนวเขาศักดิ์สิทธิ์อยู่ ดังปรากฏหลักฐานเจดีย์ทรงระฆังที่สามารถเทียบเคียงรูปแบบได้กับเจดีย์รายในวัดพระศรีสรรเพชญ์พระนครศรีอยุธยา จึงพอที่จะกำหนดอายุเจดีย์องค์นี้ว่าอยู่ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 เราไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าผู้คนได้ลืมเลือนว่าแนวเขาทำเทียมเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่อย่างน้อยก็ควรอยู่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์เป็นอย่างช้า
จารึกปุษยคิริ