ชื่อผู้แต่ง | เพชรรัตน์ เมืองสาคร |
วารสาร/นิตยสาร | สาระศาสตร์ |
เดือน | ตุลาคม |
ปี | 2562 |
ปีที่ | 2 |
ฉบับที่ | 3 |
หน้าที่ | 405-418 |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | ลักษณะทางกายภาพ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม โบราณสถานเขาศรีวิชัย |
โบราณสถานเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่ที่มีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศาสนา เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 เริ่มทำการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. 2541 พบว่าโบราณสถานบนยอดเขาศรีวิชัยมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูและศาสนาพุทธ ปัจจุบันกรมศิลปากรขุดค้นไปได้ประมาณ 80% เหลือแต่เพียงการบูรณะโบราณสถาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์วัฒนธรรมบริเวณโบราณสถานเขาศรีวิชัยและพื้นที่โดยรอบ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์โบราณสถานเขาศรีวิชัยต่อไป
งานวิจัยนี้ดำเนินการโดยการศึกษาข้อมูลจาก 1) แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อศึกษาการเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมบริเวณเขาศรีวิชัย 2) เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับเขาศรีวิชัย 3) การสำรวจพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์เรื่องมุมมอง การเข้าถึง และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน 4) การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้แก่ นักโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เจ้าอาวาสวัดเขาศรีวิชัย และผู้สูงอายุในชุมชน และนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และสรุปเป็นปัญหาทางกายภาพและศักยภาพของพื้นที่ ที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์วัฒนธรรม
จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นสามารถสรุปได้ว่าพื้นที่บริเวณเขาศรีวิชัยมีปัญหาทางกายภาพหลายประการ ดังนี้ 1) น้ำท่วมในเขตพื้นที่โบราณสถานบริเวณเชิงเขา 2) การบดบังมุมมองเข้าสู่เขาศรีวิชัย 3) ถนนบริเวณทางเข้าและสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงแคบ สภาพไม่ดี 4) พื้นที่เกษตรกรรมบริเวณริมคลองพุนพินมีการใช้งานไม่เหมาะสมกับลักษณะทางธรณีวิทยา และ 5) พื้นที่โบราณสถานไม่สื่อความหมาย ศักยภาพของพื้นที่บริเวณเขาศรีวิชัย ได้แก่ มุมมองบนเขาศรีวิชัยสามารถมองเห็นภูมิทัศน์ได้โดยรอบ และความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่เนื่องจากเป็นโบราณสถานที่อยู่บนเขาลูกโดดเพียงไม่กี่แห่งของภาคใต้
1) แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อศึกษาการเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมบริเวณเขาศรีวิชัย
2) เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับเขาศรีวิชัย
3) การสำรวจพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์เรื่องมุมมอง การเข้าถึง และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
4) การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้แก่ นักโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เจ้าอาวาสวัดเขาศรีวิชัย และผู้สูงอายุในชุมชน
โบราณสถานเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานที่ที่มีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศาสนา เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 เริ่มทำการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. 2541 พบว่าโบราณสถานบนยอดเขาศรีวิชัยมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูและศาสนาพุทธ ปัจจุบันกรมศิลปากรขุดค้นไปได้ประมาณ 80% เหลือแต่เพียงการบูรณะโบราณสถาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์วัฒนธรรมบริเวณโบราณสถานเขาศรีวิชัยและพื้นที่โดยรอบ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์โบราณสถานเขาศรีวิชัยต่อไป
งานวิจัยนี้ดำเนินการโดยการศึกษาข้อมูลจาก 1) แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อศึกษาการเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมบริเวณเขาศรีวิชัย 2) เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับเขาศรีวิชัย 3) การสำรวจพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์เรื่องมุมมอง การเข้าถึง และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน 4) การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้แก่ นักโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เจ้าอาวาสวัดเขาศรีวิชัย และผู้สูงอายุในชุมชน และนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และสรุปเป็นปัญหาทางกายภาพและศักยภาพของพื้นที่ ที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์วัฒนธรรม
จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นสามารถสรุปได้ว่าพื้นที่บริเวณเขาศรีวิชัยมีปัญหาทางกายภาพหลายประการ ดังนี้ 1) น้ำท่วมในเขตพื้นที่โบราณสถานบริเวณเชิงเขา 2) การบดบังมุมมองเข้าสู่เขาศรีวิชัย 3) ถนนบริเวณทางเข้าและสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงแคบ สภาพไม่ดี 4) พื้นที่เกษตรกรรมบริเวณริมคลองพุนพินมีการใช้งานไม่เหมาะสมกับลักษณะทางธรณีวิทยา และ 5) พื้นที่โบราณสถานไม่สื่อความหมาย ศักยภาพของพื้นที่บริเวณเขาศรีวิชัย ได้แก่ มุมมองบนเขาศรีวิชัยสามารถมองเห็นภูมิทัศน์ได้โดยรอบ และความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่เนื่องจากเป็นโบราณสถานที่อยู่บนเขาลูกโดดเพียงไม่กี่แห่งของภาคใต้
1) แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อศึกษาการเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมบริเวณเขาศรีวิชัย
2) เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับเขาศรีวิชัย
3) การสำรวจพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์เรื่องมุมมอง การเข้าถึง และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
4) การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้แก่ นักโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เจ้าอาวาสวัดเขาศรีวิชัย และผู้สูงอายุในชุมชน