ชื่อผู้แต่ง | Nuanla-ong Sippanan |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
เดือน | มกราคม-มิถุนายน |
ปี | 2561 |
ปีที่ | 14 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 276-313 |
ภาษา | อังกฤษ |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง: การสื่อความหมายวิวัฒนาการ
ของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม "สยาม-ละโว้ และศรีวิชัย" เพื่อรองรับ
การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม บริเวณรอบอ่าวบ้านดอน
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บทความนี้มีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
การสืบสวนพัฒนาการภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ เส้นทางการค้าจากบันทึกเอกสารของ
หลวงจีนอี้จิงและราชฑูตเสี่ยงจุ่นเพื่อรองรับส้นทางการท่องเที่ยว โดยสะท้อนสะท้อน
การเป็นเมืองหลวงสมัยอาณาจักรศรีวิชัยของพื้นที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และพื้นที่รอบอ่าวบ้านดอนจากบันทึกของหลวงจีนอี้จิงและราชฑูตเสี่ยงจุ่นโดยนำมา
เปรียบเทียบกับร่องรอยหลักฐานอื่นๆ ซึ่งกุญแจสำคัญในการวิเคราะห์ คือ
การเชื่อมโยงกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ตั้งแต่ยุคศรีวิชัย เพื่อพิสูจน์ว่าไชยาเป็นเมือง
หลวงของศรีวิชัย กระบวนการศึกษาของงานวิจัยนี้เป็นแบบเชิงคุณภาพจาก
การสำรวจและสังเกตการณ์ในภูมิทัศน์วัฒนธรรม โดยทำการสืบค้นหาข้อมูลและเก็บ
ข้อมูลจากการถ่ายภาพและการทำแผนที่ร่วมกับการศึกษาวรรณกรรมและ
การสัมภาษณ์เชิงลึกบริเวณรอบอ่าวบ้านดอน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในอดีตศรีวิชัยเคยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธมหายานและศูนย์กลาง
การค้าระหว่างพ่อค้าจากจากฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก เส้นทางตะกั่วป่า-อ่าวบ้าน
ดอนถือว่าเป็นเส้นทางที่มีความสะดวกที่สุดจึงเป็นที่นิยมในการเดินทางของ
นักเดินทางบนเส้นทางข้ามทวีปตั้งแต่ยุคก่อนศรีวิชัย การสืบสวนพัฒนาการ
ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ เส้นทางการดจากบันทึกเอกสารของหลวงจีนอี้จิง และราชทูต
เสี่ยงจุ่น ทำให้สามารถสรุปได้ว่าที่ตั้งของพื้นที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและ
พื้นที่รอบอ่าวบ้านดอนเคยเป็นเมืองหลวงสมัยอาณาจักรศรีวิชัยและเหมาะสำหรับ
เป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลโดยควบคุมการค้าของพ่อคชาวอินเดีย จีน อาหรับ
และเปอร์เซีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การสื่อความหมายของมรดกเพื่อรองรับ
การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญในการอนุรักษ์
และการพัฒนามรดกของชาติอย่างยั่งยืน
บันทึกการขุดค้นทางโบราณคดี แผนที่ โบราณวัตถุ และอื่นๆ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง: การสื่อความหมายวิวัฒนาการ
ของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม "สยาม-ละโว้ และศรีวิชัย" เพื่อรองรับ
การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม บริเวณรอบอ่าวบ้านดอน
อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี บทความนี้มีวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
การสืบสวนพัฒนาการภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ เส้นทางการค้าจากบันทึกเอกสารของ
หลวงจีนอี้จิงและราชฑูตเสี่ยงจุ่นเพื่อรองรับส้นทางการท่องเที่ยว โดยสะท้อนสะท้อน
การเป็นเมืองหลวงสมัยอาณาจักรศรีวิชัยของพื้นที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และพื้นที่รอบอ่าวบ้านดอนจากบันทึกของหลวงจีนอี้จิงและราชฑูตเสี่ยงจุ่นโดยนำมา
เปรียบเทียบกับร่องรอยหลักฐานอื่นๆ ซึ่งกุญแจสำคัญในการวิเคราะห์ คือ
การเชื่อมโยงกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ตั้งแต่ยุคศรีวิชัย เพื่อพิสูจน์ว่าไชยาเป็นเมือง
หลวงของศรีวิชัย กระบวนการศึกษาของงานวิจัยนี้เป็นแบบเชิงคุณภาพจาก
การสำรวจและสังเกตการณ์ในภูมิทัศน์วัฒนธรรม โดยทำการสืบค้นหาข้อมูลและเก็บ
ข้อมูลจากการถ่ายภาพและการทำแผนที่ร่วมกับการศึกษาวรรณกรรมและ
การสัมภาษณ์เชิงลึกบริเวณรอบอ่าวบ้านดอน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในอดีตศรีวิชัยเคยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธมหายานและศูนย์กลาง
การค้าระหว่างพ่อค้าจากจากฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก เส้นทางตะกั่วป่า-อ่าวบ้าน
ดอนถือว่าเป็นเส้นทางที่มีความสะดวกที่สุดจึงเป็นที่นิยมในการเดินทางของ
นักเดินทางบนเส้นทางข้ามทวีปตั้งแต่ยุคก่อนศรีวิชัย การสืบสวนพัฒนาการ
ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ เส้นทางการดจากบันทึกเอกสารของหลวงจีนอี้จิง และราชทูต
เสี่ยงจุ่น ทำให้สามารถสรุปได้ว่าที่ตั้งของพื้นที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีและ
พื้นที่รอบอ่าวบ้านดอนเคยเป็นเมืองหลวงสมัยอาณาจักรศรีวิชัยและเหมาะสำหรับ
เป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลโดยควบคุมการค้าของพ่อคชาวอินเดีย จีน อาหรับ
และเปอร์เซีย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การสื่อความหมายของมรดกเพื่อรองรับ
การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือสำคัญในการอนุรักษ์
และการพัฒนามรดกของชาติอย่างยั่งยืน
บันทึกการขุดค้นทางโบราณคดี แผนที่ โบราณวัตถุ และอื่นๆ