ชื่อผู้แต่ง | เทพประวิณ จันทร์แรง |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารบัณฑิตวิจัย |
เดือน | มกราคม-มิถุนายน |
ปี | 2559 |
ปีที่ | 7 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 137-151 |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | คัมภีร์จามเทวีวงศ์ การอนุรักษ์โบราณสถาน Conservation of Archaeological Scripture Camadevivamsa |
หมายเหตุ | <p>วิจัยจากหลักฐานชั้นรองเป็นหลัก</p> |
การศึกษาวิจัยสภาพและแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์ ในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์วิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และได้ทำการสัมภาษณ์ข้อมูลภาคสนามมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลในคัมภีร์จามเทวีวงศ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผลของการศึกษาพบว่าประวัติและความเป็นมาเกี่ยวกับคัมภีร์จามเทวีวงศ์นั้น มีจุดเริ่มจากการที่ฤๅษีวาสุเทพได้สร้างเมืองขึ้น และได้ส่งทูตนำราชสารไปอัญเชิญเชื้อพระวงศ์จากเมืองละโว้เพื่อมาปกครองเมืองแห่งนี้ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระเจ้ากรุงละโว้ได้พระราชทานพระนางจามเทวีมาเป็นกษัตรีย์ครองเมืองหริภุญไชย
เส้นทางโบราณสถานที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์ มีปรากฏชัดเจนว่า เมื่อครั้งที่พระนางจามเทวีเสด็จขึ้นมาเมืองหริภุญไชยในครั้งนั้น พระองค์ทรงนำพระไตรปิฎกพร้อมนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 500 รูปมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในระหว่างเส้นทางที่พระนางได้เดินทางมาทรงมีดำริให้สร้างพระพุทธรูป และสร้างวัดเป็นจำนวนมาก และเมื่อเสด็จมาถึงเมืองหริภุญไชยแล้วได้สร้างวัดไว้ประจำ 4 ทิศ จำนวน 7 วัด ปรากฏตามหลักฐานประกอบด้วย วัดกู่ละมัก วัดพระคง วัดประตูลี้ วัดดอนแก้ว วัดมหาวัน วัดสันป่ายางหลวง และ วัดจามเทวี
สำหรับแนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์ คือ การดูแลรักษาโครงสร้างของโบราณสถานให้คงไว้ตามสภาพเดิม การชะลอความเสียหายที่จะเกิดขึ้น การบูรณะการซ่อมแซมให้เหมือนเดิม และการทำให้โครงสร้างของโบราณกลับคืนสู่สภาพเดิม สิ่งสำคัญในการอนุรักษ์บำรุงรักษาโบราณนั้นก็คือสร้างจิตสำนึก ความรัก ความหวงแหนของคนในพื้นที่และรู้จักคุณค่าความเป็นมาของโบราณตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และพัฒนาเพื่อนำไปสู่การนำทุนทางวัฒนธรรม ภายใต้วัฒนธรรมแห่งภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาให้คงความงดงามอย่างถาวรสืบต่อไป
คัมภีร์จามเทวีวงศ์ และโบราณสถานที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์
วิจัยจากหลักฐานชั้นรองเป็นหลัก
การศึกษาวิจัยสภาพและแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์ ในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์วิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และได้ทำการสัมภาษณ์ข้อมูลภาคสนามมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลในคัมภีร์จามเทวีวงศ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผลของการศึกษาพบว่าประวัติและความเป็นมาเกี่ยวกับคัมภีร์จามเทวีวงศ์นั้น มีจุดเริ่มจากการที่ฤๅษีวาสุเทพได้สร้างเมืองขึ้น และได้ส่งทูตนำราชสารไปอัญเชิญเชื้อพระวงศ์จากเมืองละโว้เพื่อมาปกครองเมืองแห่งนี้ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระเจ้ากรุงละโว้ได้พระราชทานพระนางจามเทวีมาเป็นกษัตรีย์ครองเมืองหริภุญไชย
เส้นทางโบราณสถานที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์ มีปรากฏชัดเจนว่า เมื่อครั้งที่พระนางจามเทวีเสด็จขึ้นมาเมืองหริภุญไชยในครั้งนั้น พระองค์ทรงนำพระไตรปิฎกพร้อมนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 500 รูปมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในระหว่างเส้นทางที่พระนางได้เดินทางมาทรงมีดำริให้สร้างพระพุทธรูป และสร้างวัดเป็นจำนวนมาก และเมื่อเสด็จมาถึงเมืองหริภุญไชยแล้วได้สร้างวัดไว้ประจำ 4 ทิศ จำนวน 7 วัด ปรากฏตามหลักฐานประกอบด้วย วัดกู่ละมัก วัดพระคง วัดประตูลี้ วัดดอนแก้ว วัดมหาวัน วัดสันป่ายางหลวง และ วัดจามเทวี
สำหรับแนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์ คือ การดูแลรักษาโครงสร้างของโบราณสถานให้คงไว้ตามสภาพเดิม การชะลอความเสียหายที่จะเกิดขึ้น การบูรณะการซ่อมแซมให้เหมือนเดิม และการทำให้โครงสร้างของโบราณกลับคืนสู่สภาพเดิม สิ่งสำคัญในการอนุรักษ์บำรุงรักษาโบราณนั้นก็คือสร้างจิตสำนึก ความรัก ความหวงแหนของคนในพื้นที่และรู้จักคุณค่าความเป็นมาของโบราณตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และพัฒนาเพื่อนำไปสู่การนำทุนทางวัฒนธรรม ภายใต้วัฒนธรรมแห่งภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนาให้คงความงดงามอย่างถาวรสืบต่อไป
คัมภีร์จามเทวีวงศ์ และโบราณสถานที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์