หน้าแรก บทความ จารึกของอาณาจักรพุกาม

จารึกของอาณาจักรพุกาม

จารึกของอาณาจักรพุกาม

ชื่อผู้แต่ง นวพรรณ ภัทรมูล, ยุทธพร นาคสุข
วารสาร/นิตยสาร วารสารอักษราพิบูล
เดือน มกราคม-มิถุนายน
ปี 2566
ปีที่ 4
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 139-157
ภาษา ไทย
หัวเรื่อง จารึก, อาณาจักรพุกาม , สหภาพเมียนมา

เนื้อหาโดยย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลทั่วไปของจารึกสมัยอาณาจักรพุกาม ซึ่งอาณาจักรนี้ตั้งอยู่ในเขตที่ราบใจกลางของประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมายุคโบราณ

จารึกสมัยอาณาจักรพุกาม (พุทธศตวรรษที่ 14-19) ประมาณการว่ามีจำนวนไม่ต่ำกว่า 550 รายการ ใช้ภาษาในการบันทึก 7 ภาษา ได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาพม่า ภาษามอญ ภาษาปยู ภาษาสันสกฤต ภาษาจีน และภาษาทมิฬ อักษรที่พบในจารึกมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ อักษรปยู อักษรมอญโบราณ อักษรพม่าโบราณ อักษรจีน อักษรทมิฬ อักษรเทวนาครี และอักษรอินเดียใต้ วัตถุที่ใช้จารึกมีอยู่หลายประเภท เช่น ศิลา แผ่นดินเผา พระพิมพ์ โลหะ วัตถุจารึกพบมากที่สุด คือ ศิลา เนื้อหาของจารึกอาณาจักรพุกามแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 7 ประเภท

ประเภทที่ 1 เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับของที่อุทิศถวายให้ศาสนา

ประเภทที่ 2 เพื่อบันทึกความรู้สึกของผู้จารึก

ประการที่ 3 เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่ผู้จารึกได้กระทำและประสงค์จะเผยแพร่สู่สาธารณชน

ประเภทที่ 4 เพื่อเล่าเรื่องการสร้างถาวรวัตถุและรายละเอียดของสิ่งที่สร้าง

ประเภทที่ 5 เพื่อเป็นการสาปแช่งทำให้ผู้ที่คิดจะลบล้างหรือทำลายสิ่งที่มีผู้สร้างถวายไว้กับพระพุทธศาสนาได้เกิดความเกรงกลัวและไม่กล้าทำการดังกล่าว

ประเภทที่ 6 เพื่อบันทึกเรื่องราวในพระพุทธศาสนา  

และประเภทที่ 7 เพื่อบันทึกกฎหมายและคดีความ สำหรับแจ้งให้ประชาชนได้ทราบ ใช้เป็นแนวทางการปกครองและตัดสินคดี

อาณาจักรพุกามล่มสลายลงไปเพราะถูกกองทัพมองโกลโจมตีในปี พ.ศ.1830

หลักฐานสำคัญ

จารึกที่ร่วมสมัยกับอาณาจักรพุกาม ในพุทธศตวรรษที่ 14-19

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

พระพุทธศาสนา จารึก พุกาม

ยุคสมัย

พุทธศตวรรษที่14

จำนวนผู้เข้าชม

29

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

27 ส.ค. 2567

จารึกของอาณาจักรพุกาม

  • จารึกของอาณาจักรพุกาม
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    นวพรรณ ภัทรมูล, ยุทธพร นาคสุข

    ชื่อบทความ :
    จารึกของอาณาจักรพุกาม

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    วารสารอักษราพิบูล

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม-มิถุนายน

    ปี :
    2566

    ปีที่ :
    4

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    139-157

    ภาษา :
    ไทย

    หัวเรื่อง :
    จารึก, อาณาจักรพุกาม , สหภาพเมียนมา

    เนื้อหาโดยย่อ

    บทความวิชาการเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลทั่วไปของจารึกสมัยอาณาจักรพุกาม ซึ่งอาณาจักรนี้ตั้งอยู่ในเขตที่ราบใจกลางของประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมายุคโบราณ

    จารึกสมัยอาณาจักรพุกาม (พุทธศตวรรษที่ 14-19) ประมาณการว่ามีจำนวนไม่ต่ำกว่า 550 รายการ ใช้ภาษาในการบันทึก 7 ภาษา ได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาพม่า ภาษามอญ ภาษาปยู ภาษาสันสกฤต ภาษาจีน และภาษาทมิฬ อักษรที่พบในจารึกมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ อักษรปยู อักษรมอญโบราณ อักษรพม่าโบราณ อักษรจีน อักษรทมิฬ อักษรเทวนาครี และอักษรอินเดียใต้ วัตถุที่ใช้จารึกมีอยู่หลายประเภท เช่น ศิลา แผ่นดินเผา พระพิมพ์ โลหะ วัตถุจารึกพบมากที่สุด คือ ศิลา เนื้อหาของจารึกอาณาจักรพุกามแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 7 ประเภท

    ประเภทที่ 1 เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับของที่อุทิศถวายให้ศาสนา

    ประเภทที่ 2 เพื่อบันทึกความรู้สึกของผู้จารึก

    ประการที่ 3 เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่ผู้จารึกได้กระทำและประสงค์จะเผยแพร่สู่สาธารณชน

    ประเภทที่ 4 เพื่อเล่าเรื่องการสร้างถาวรวัตถุและรายละเอียดของสิ่งที่สร้าง

    ประเภทที่ 5 เพื่อเป็นการสาปแช่งทำให้ผู้ที่คิดจะลบล้างหรือทำลายสิ่งที่มีผู้สร้างถวายไว้กับพระพุทธศาสนาได้เกิดความเกรงกลัวและไม่กล้าทำการดังกล่าว

    ประเภทที่ 6 เพื่อบันทึกเรื่องราวในพระพุทธศาสนา  

    และประเภทที่ 7 เพื่อบันทึกกฎหมายและคดีความ สำหรับแจ้งให้ประชาชนได้ทราบ ใช้เป็นแนวทางการปกครองและตัดสินคดี

    อาณาจักรพุกามล่มสลายลงไปเพราะถูกกองทัพมองโกลโจมตีในปี พ.ศ.1830

    หลักฐานสำคัญ

    จารึกที่ร่วมสมัยกับอาณาจักรพุกาม ในพุทธศตวรรษที่ 14-19


    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    พุทธศตวรรษที่14

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    พระพุทธศาสนา จารึก พุกาม

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 27 ส.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 29