หน้าแรก บทความ สถานการณ์การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในเมืองโบราณพุกาม

สถานการณ์การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในเมืองโบราณพุกาม

สถานการณ์การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในเมืองโบราณพุกาม

ชื่อผู้แต่ง เกรียงไกร เกิดศิริ
วารสาร/นิตยสาร หน้าจั่ว
ปี 2550
ฉบับที่ 5
หน้าที่ 113-125
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

ในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมมีความจำเป็นที่ต้องผสานแนวความคิดของการอนุรักษ์ แบบสากลเข้ากับบริบทของท้องถิ่น เพื่อทำให้แนวความคิดในการอนุรักษ์สามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้จริงและสอดคล้องกับพื้นที่ แม้ว่าดูเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นที่จะทำ มิฉะนั้นมรดกทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมทั้งหลายจะต้องสูญสลายลงด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความปรารถนาดีแต่ไม่ได้รับรู้ว่าผลของการปฏิบัตินั้นได้ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อมรดกของมนุษยชาติลงไปอย่างไม่อาจจะเรียกร้องให้กลับคืนมาได้อีกเลย

สำหรับกรณีของเมืองพุกามแห่งนี้จะเห็นได้ว่าปัจจัยคุกคามที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อมรดกทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกิดจากการพัฒนาพื้นที่และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เคารพต่อบริบทด้านต่างๆ ใช้เพียงคำว่า “อนุรักษ์” นำมาเป็น เครื่องมือในการจัดการพื้นที่และสร้างสิทธิธรรมให้แก่การจัดการพื้นที่ ด้วยการแยกประชาชนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมรดกทางวัฒนธรรมของตนมาหลายชั่วอายุคนออกไปจากพื้นที่ทางจิตวิญญาณของตน และพัฒนาพื้นที่โดยไม่เคารพต่อคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทรัพยากรทางวัฒนธรรมในเมืองพุกามถูกมองเป็นเพียงสินค้าทางการท่องเที่ยวที่จะดึงดูดเงิน รายได้จำนวนมหาศาลมาเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลทหารพม่า ทำให้การจัดการที่เกิดขึ้นเป็นการจัดการที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

การล่มสลายลงของมรดกทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองโบราณพุกามคงอยู่ไม่ไกลนักหากผู้มีอำนาจยังปฏิบัติต่อพื้นที่อย่างเลือกปฏิบัติ และผู้ปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเสียหายกลับเป็นภาครัฐที่ควรจะมีหน้าที่พิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมที่มีอายุร่วมพันปีเหล่านี้ให้ดำรงลมหายใจต่อไป

การจัดการใดๆที่เกิดขึ้นต้องให้ความเคารพต่อคุณค่าทุกๆด้านของมรดกทางวัฒนธรรมอันจะเป็นฐานทางความรู้และเป็นมรดกแก่ลูกหลานชาวพม่าและมนุษยชาติ หากคำนึงถึงคุณค่าด้านต่างๆอย่างครบถ้วนและลึกซึ้งเพียงพอแล้ว การจัดการที่เกิดขึ้นก็จะมีประสิทธิภาพและยังประโยชน์แก่ทุกๆฝ่ายอย่างแท้จริง หากมิฉะนั้นแล้วคำว่า “อนุรักษ์” คงจะเป็นเพียงหน้ากากที่งดงาม และเป็นคำที่ดูสวยหรูเพื่อสร้างสิทธิธรรมให้แก่ความไม่ชอบธรรมในการจัดการพื้นที่เช่นนี้ต่อไป

หลักฐานสำคัญ

ภาพเก่าเทียบกับภาพปัจจุบัน และหลักฐานชั้นรองอื่นๆ

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

พุกาม การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม

ยุคสมัย

พุกาม

จำนวนผู้เข้าชม

46

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

27 ส.ค. 2567

สถานการณ์การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในเมืองโบราณพุกาม

  • สถานการณ์การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในเมืองโบราณพุกาม
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    เกรียงไกร เกิดศิริ

    ชื่อบทความ :
    สถานการณ์การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในเมืองโบราณพุกาม

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    หน้าจั่ว

    ปี :
    2550

    ฉบับที่ :
    5

    หน้าที่ :
    113-125

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    ในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมมีความจำเป็นที่ต้องผสานแนวความคิดของการอนุรักษ์ แบบสากลเข้ากับบริบทของท้องถิ่น เพื่อทำให้แนวความคิดในการอนุรักษ์สามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้จริงและสอดคล้องกับพื้นที่ แม้ว่าดูเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นที่จะทำ มิฉะนั้นมรดกทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมทั้งหลายจะต้องสูญสลายลงด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความปรารถนาดีแต่ไม่ได้รับรู้ว่าผลของการปฏิบัตินั้นได้ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อมรดกของมนุษยชาติลงไปอย่างไม่อาจจะเรียกร้องให้กลับคืนมาได้อีกเลย

    สำหรับกรณีของเมืองพุกามแห่งนี้จะเห็นได้ว่าปัจจัยคุกคามที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อมรดกทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกิดจากการพัฒนาพื้นที่และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เคารพต่อบริบทด้านต่างๆ ใช้เพียงคำว่า “อนุรักษ์” นำมาเป็น เครื่องมือในการจัดการพื้นที่และสร้างสิทธิธรรมให้แก่การจัดการพื้นที่ ด้วยการแยกประชาชนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมรดกทางวัฒนธรรมของตนมาหลายชั่วอายุคนออกไปจากพื้นที่ทางจิตวิญญาณของตน และพัฒนาพื้นที่โดยไม่เคารพต่อคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทรัพยากรทางวัฒนธรรมในเมืองพุกามถูกมองเป็นเพียงสินค้าทางการท่องเที่ยวที่จะดึงดูดเงิน รายได้จำนวนมหาศาลมาเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลทหารพม่า ทำให้การจัดการที่เกิดขึ้นเป็นการจัดการที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

    การล่มสลายลงของมรดกทางสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองโบราณพุกามคงอยู่ไม่ไกลนักหากผู้มีอำนาจยังปฏิบัติต่อพื้นที่อย่างเลือกปฏิบัติ และผู้ปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเสียหายกลับเป็นภาครัฐที่ควรจะมีหน้าที่พิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมที่มีอายุร่วมพันปีเหล่านี้ให้ดำรงลมหายใจต่อไป

    การจัดการใดๆที่เกิดขึ้นต้องให้ความเคารพต่อคุณค่าทุกๆด้านของมรดกทางวัฒนธรรมอันจะเป็นฐานทางความรู้และเป็นมรดกแก่ลูกหลานชาวพม่าและมนุษยชาติ หากคำนึงถึงคุณค่าด้านต่างๆอย่างครบถ้วนและลึกซึ้งเพียงพอแล้ว การจัดการที่เกิดขึ้นก็จะมีประสิทธิภาพและยังประโยชน์แก่ทุกๆฝ่ายอย่างแท้จริง หากมิฉะนั้นแล้วคำว่า “อนุรักษ์” คงจะเป็นเพียงหน้ากากที่งดงาม และเป็นคำที่ดูสวยหรูเพื่อสร้างสิทธิธรรมให้แก่ความไม่ชอบธรรมในการจัดการพื้นที่เช่นนี้ต่อไป

    หลักฐานสำคัญ

    ภาพเก่าเทียบกับภาพปัจจุบัน และหลักฐานชั้นรองอื่นๆ


    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    พุกาม

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    พุกาม การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 27 ส.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 46