ชื่อผู้แต่ง | ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารปณิธาน |
เดือน | กรกฎาคม - ธันวาคม |
ปี | 2563 |
ปีที่ | 16 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 149 - 183 |
ภาษา | ไทย |
การวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหาและเรื่องนาคในตำนานอุรังคธาตุ พบว่าโครงสร้างประกอบด้วย 9 ช่วงเวลา มีลักษณะเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินที่ราบลุ่มทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำโขง ดำเนินเรื่องตามความคติความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในสมัยภัทรกัป และพระพุทธเจ้าในอนาคต ผ่านเหตุการณ์การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมลงของพระพุทธศาสนาและบ้านเมืองต่างๆ ทั้งนี้สามารถแบ่งกลุ่มเมืองในตำนานอุรังคธาตุตามการอยู่อาศัยของนาคเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเมืองสุวรรณภูมิอันเป็นที่อาศัยของเหล่านาค มีสุวรรณนาคเป็นใหญ่ ได้แก่ เมืองสุวรรณภูมิ เมืองจันทบุรี เมืองศรีสัตตนาค เมืองหนองหานน้อย และหนองหานหลวง 2) กลุ่มเมืองศรีโคตรบองที่ไม่มีนาคอยู่อาศัย แต่เป็นสถานที่ซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในสมัยภัทรกัป คือ พระธาตุพนม อย่างไรก็ตามเมืองทั้ง 2 มีความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองการปกครอง ผ่านการจุติและอุบัติพระยาติโคตรบูร และกษัตริย์องค์อื่นๆ บนแผ่นดินที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวว่า นาคมีอยู่ในสุวรรณภูมิ และไม่มีนาคอยู่ที่พระธาตุพนม
การวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหาและเรื่องนาคในตำนานอุรังคธาตุ พบว่าโครงสร้างประกอบด้วย 9 ช่วงเวลา มีลักษณะเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาบนแผ่นดินที่ราบลุ่มทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำโขง ดำเนินเรื่องตามความคติความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในสมัยภัทรกัป และพระพุทธเจ้าในอนาคต ผ่านเหตุการณ์การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมลงของพระพุทธศาสนาและบ้านเมืองต่างๆ ทั้งนี้สามารถแบ่งกลุ่มเมืองในตำนานอุรังคธาตุตามการอยู่อาศัยของนาคเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเมืองสุวรรณภูมิอันเป็นที่อาศัยของเหล่านาค มีสุวรรณนาคเป็นใหญ่ ได้แก่ เมืองสุวรรณภูมิ เมืองจันทบุรี เมืองศรีสัตตนาค เมืองหนองหานน้อย และหนองหานหลวง 2) กลุ่มเมืองศรีโคตรบองที่ไม่มีนาคอยู่อาศัย แต่เป็นสถานที่ซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในสมัยภัทรกัป คือ พระธาตุพนม อย่างไรก็ตามเมืองทั้ง 2 มีความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองการปกครอง ผ่านการจุติและอุบัติพระยาติโคตรบูร และกษัตริย์องค์อื่นๆ บนแผ่นดินที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวว่า นาคมีอยู่ในสุวรรณภูมิ และไม่มีนาคอยู่ที่พระธาตุพนม