หน้าแรก บทความ การศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี

การศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี

การศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี

ชื่อผู้แต่ง โขมสี แสนจิตต์
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
เดือน มกราคม - มิถุนายน
ปี 2553
ปีที่ 9
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 3 - 18
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

เป็นการศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี โดยนำมาสอบทานกับหลักฐานด้านเอกสารและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐานด้านเอกสารโดยใช้ หลักฐานโบราณคดี พบว่าเมืองโบราณหริภุญไชยมีร่องรอยของการอยู่อาศัยมาแล้ว 3 ระยะ ระยะแรก ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 บริเวณวัดสะดือเมืองเก่ากลางเมืองโบราณหริภุญไชย ระยะที่สอง ราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 มีการอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องปรากฏหลักฐานจากการขุดค้นบริเวณศาลากลางจังหวัดลำพูน ระยะที่สาม ราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 ชุมชนได้กระจายตัวออกไปยังบริเวณโดยรอบและพัฒนาเจริญสูงสุดก่อนที่จะล่มสลาย ทั้งยังได้ส่งอิทธิพลไปยังเมืองโบราณใกล้เคียงได้แก่ เวียงมโน เวียงเถาะ และเวียงท่ากาน ซึ่งมีความเจริญขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน วัฒนธรรมของหริภุญไชยในช่วงแรกเริ่มได้รับอิทธิพลจากหลายวัฒนธรรมได้แก่ วัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรม พยู และ พุกาม รวมทั้งวัฒนธรรมเขมร โดยในช่วงหลังก็ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมหริภุญไชยของตัวเองอย่างแท้จริงและเจริญถึงขั้นสูงสุด เมื่อนำหลักฐานจารึกตำนานและพงศาวดารมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือ พบว่ากำเนิดและพัฒนาการของเมืองโบราณหริภุญไชยจากหลักฐานโบราณคดี มีความสอดคล้องในบางประการกับหลัก ฐานด้านจารึก ตำนานและพงศาวดาร แต่ หากจะนำตำนานและพงศาวดารมาใช้ในการศึกษา ต้องใช้หลักฐานโบราณคดีและหลักฐานอื่นๆ ร่วมด้วย

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

โบราณคดี วัฒนธรรมเขมร หริภุญไชย อิทธิพลทวารวดี

จำนวนผู้เข้าชม

51

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

26 ส.ค. 2567

การศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี

  • การศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    โขมสี แสนจิตต์

    ชื่อบทความ :
    การศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม - มิถุนายน

    ปี :
    2553

    ปีที่ :
    9

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    3 - 18

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    เป็นการศึกษาเมืองโบราณหริภุญไชย จากหลักฐานโบราณคดี โดยนำมาสอบทานกับหลักฐานด้านเอกสารและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐานด้านเอกสารโดยใช้ หลักฐานโบราณคดี พบว่าเมืองโบราณหริภุญไชยมีร่องรอยของการอยู่อาศัยมาแล้ว 3 ระยะ ระยะแรก ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 บริเวณวัดสะดือเมืองเก่ากลางเมืองโบราณหริภุญไชย ระยะที่สอง ราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 มีการอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องปรากฏหลักฐานจากการขุดค้นบริเวณศาลากลางจังหวัดลำพูน ระยะที่สาม ราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 ชุมชนได้กระจายตัวออกไปยังบริเวณโดยรอบและพัฒนาเจริญสูงสุดก่อนที่จะล่มสลาย ทั้งยังได้ส่งอิทธิพลไปยังเมืองโบราณใกล้เคียงได้แก่ เวียงมโน เวียงเถาะ และเวียงท่ากาน ซึ่งมีความเจริญขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน วัฒนธรรมของหริภุญไชยในช่วงแรกเริ่มได้รับอิทธิพลจากหลายวัฒนธรรมได้แก่ วัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรม พยู และ พุกาม รวมทั้งวัฒนธรรมเขมร โดยในช่วงหลังก็ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมหริภุญไชยของตัวเองอย่างแท้จริงและเจริญถึงขั้นสูงสุด เมื่อนำหลักฐานจารึกตำนานและพงศาวดารมาตรวจสอบความน่าเชื่อถือ พบว่ากำเนิดและพัฒนาการของเมืองโบราณหริภุญไชยจากหลักฐานโบราณคดี มีความสอดคล้องในบางประการกับหลัก ฐานด้านจารึก ตำนานและพงศาวดาร แต่ หากจะนำตำนานและพงศาวดารมาใช้ในการศึกษา ต้องใช้หลักฐานโบราณคดีและหลักฐานอื่นๆ ร่วมด้วย

    หลักฐานสำคัญ

    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    โบราณคดี วัฒนธรรมเขมร หริภุญไชย อิทธิพลทวารวดี

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 26 ส.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 51