ชื่อผู้แต่ง | นันทลักษณ์ คีรีมา |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | กรกฎาคม - ธันวาคม |
ปี | 2556 |
ปีที่ | 12 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 229 - 253 |
ภาษา | ไทย |
พระพุทธรูปสกุลช่างไชยาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-21 ความสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษารูปแบบพระพุทธรูปสกุลช่างไชยา ด้วยวิธีการจำแนกและศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลทางด้านรูปแบบศิลปะ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดอายุสมัยของพระพุทธรูปสกุลช่างไชยารวมทั้งแสดงถึงความสัมพันธ์กับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของเมืองไชยาผลจากการศึกษาพบว่าพระพุทธรูปสกุลช่างไชยามีรูปแบบศิลปะที่สัมพันธ์กับพระพุทธรูปในศิลปะอินเดีย ศรีลังกา ทวารวดี เขมร และอยุธยากระทั่งได้พัฒนาจนเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของตนเอง คือ การแสดงปางประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ซ้าย การประดับรัศมีที่ด้านหน้าอุษณีษะ และการทำชายสังฆาฏิเป็นริ้วซ้อนทับกันทั้งนี้จากการศึกษารูปแบบศิลปกรรมยังสามารถสะท้อนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองไชยาให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
พระพุทธรูปสกุลช่างไชยาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-21 ความสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษารูปแบบพระพุทธรูปสกุลช่างไชยา ด้วยวิธีการจำแนกและศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลทางด้านรูปแบบศิลปะ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดอายุสมัยของพระพุทธรูปสกุลช่างไชยารวมทั้งแสดงถึงความสัมพันธ์กับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของเมืองไชยาผลจากการศึกษาพบว่าพระพุทธรูปสกุลช่างไชยามีรูปแบบศิลปะที่สัมพันธ์กับพระพุทธรูปในศิลปะอินเดีย ศรีลังกา ทวารวดี เขมร และอยุธยากระทั่งได้พัฒนาจนเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของตนเอง คือ การแสดงปางประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ซ้าย การประดับรัศมีที่ด้านหน้าอุษณีษะ และการทำชายสังฆาฏิเป็นริ้วซ้อนทับกันทั้งนี้จากการศึกษารูปแบบศิลปกรรมยังสามารถสะท้อนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองไชยาให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น