ชื่อผู้แต่ง | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | กรกฎาคม |
ปี | 2551 |
ปีที่ | 7 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 98-114 |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | ปราสาทหิน -- ไทย ปราสาทบ้านพลวง - สุรินทร์, ปราสาทเปือยน้อย - ขอนแก่น, ปราสาทพนมรุ้ง - บุรีรัมย์, ปราสาทตาเมืองธม - สุรินทร์, ปราสาทพนมวัน - นครราชสีมา |
ปราสาทหินในวัฒนธรรมเขมรโบราณหลายแห่งประดับประดาด้วยลวดลายสลักอันงดงาม ทว่าลวดลายของปราสาทหินหลายแห่งยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ลวดลายที่ไม่เสร็จเหล่านี้สามารถใช้เป็นตัวสะท้อนถึงสังคมและวัฒนธรรมสมัยดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ปราสาทหินที่นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาได้แก่ ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทบ้านพลวง ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทเปือยน้อย ปราสาทพนมวัน และปราสาทพนมรุ้ง ทั้งหมดนี้สร้างขึ้นในช่วงศิลปะบาปวน-นครวัด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ผลที่ได้จากการศึกษาลวดลายที่ยังสลักไม่เสร็จของปราสาทหินเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ช่างผู้สลักให้ความสำคัญกับเรื่องทิศเป็นอย่างมาก ทิศสำคัญเป็นต้นว่าทิศตะวันออกหรือทิศด้านหน้ามักสลักแล้วเสร็จเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ทิศตะวันตกหรือทิศด้านหลังมักจะยังไม่แล้วเสร็จ
2. ช่างผู้สลักมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องฐานันดรศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรมกล่าวคือ ปราสาทประธานซึ่งเป็นอาคารสำคัญที่สุดมักได้รับการสลักอย่างสวยงามและก้าวหน้ากว่าอาคารหลังอื่น
3. ลวดลายที่สลักไม่แล้วเสร็จเหล่านี้สะท้อนถึงปริมาณของช่างสลักและระบบการจัดการงานช่างได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ จำนวนช่างสลักคงมีจำนวนไม่มากนัก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดกระบวนการที่เรียกว่าเดินสายทำงาน เมื่อช่างจำเป็นต้องเริ่มงาน ณ ปราสาทหลังใหม่ งานของปราสาทหลังเก่าจึงยังคงค้างคาไม่แล้วเสร็จ
ลวดลายที่พบ ณ ปราสาทบ้านพลวง จังหวัดสุรินทร์, ปราสาทเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น, ปราสาทพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์, ปราสาทตาเมืองธม จังหวัดสุรินทร์ และ ปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา
ปราสาทหินในวัฒนธรรมเขมรโบราณหลายแห่งประดับประดาด้วยลวดลายสลักอันงดงาม ทว่าลวดลายของปราสาทหินหลายแห่งยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ลวดลายที่ไม่เสร็จเหล่านี้สามารถใช้เป็นตัวสะท้อนถึงสังคมและวัฒนธรรมสมัยดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ปราสาทหินที่นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาได้แก่ ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทบ้านพลวง ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทเปือยน้อย ปราสาทพนมวัน และปราสาทพนมรุ้ง ทั้งหมดนี้สร้างขึ้นในช่วงศิลปะบาปวน-นครวัด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ผลที่ได้จากการศึกษาลวดลายที่ยังสลักไม่เสร็จของปราสาทหินเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ช่างผู้สลักให้ความสำคัญกับเรื่องทิศเป็นอย่างมาก ทิศสำคัญเป็นต้นว่าทิศตะวันออกหรือทิศด้านหน้ามักสลักแล้วเสร็จเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ทิศตะวันตกหรือทิศด้านหลังมักจะยังไม่แล้วเสร็จ
2. ช่างผู้สลักมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องฐานันดรศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรมกล่าวคือ ปราสาทประธานซึ่งเป็นอาคารสำคัญที่สุดมักได้รับการสลักอย่างสวยงามและก้าวหน้ากว่าอาคารหลังอื่น
3. ลวดลายที่สลักไม่แล้วเสร็จเหล่านี้สะท้อนถึงปริมาณของช่างสลักและระบบการจัดการงานช่างได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ จำนวนช่างสลักคงมีจำนวนไม่มากนัก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดกระบวนการที่เรียกว่าเดินสายทำงาน เมื่อช่างจำเป็นต้องเริ่มงาน ณ ปราสาทหลังใหม่ งานของปราสาทหลังเก่าจึงยังคงค้างคาไม่แล้วเสร็จ
ลวดลายที่พบ ณ ปราสาทบ้านพลวง จังหวัดสุรินทร์, ปราสาทเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น, ปราสาทพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์, ปราสาทตาเมืองธม จังหวัดสุรินทร์ และ ปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา