หน้าแรก บทความ แนวทางการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพคูน้ำคันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

แนวทางการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพคูน้ำคันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

แนวทางการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพคูน้ำคันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

ชื่อผู้แต่ง ประสิทธิ์ สว่างศรี, วิภา พันธวงค์
วารสาร/นิตยสาร วารสารวิจัยรำไพพรรณี
เดือน กันยายน-ธันวาคม
ปี 2563
ปีที่ 14
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 68-80
ภาษา ไทย
หัวเรื่อง คูน้ำ, คันดิน, เมืองโบราณกันทรวิชัย
หมายเหตุ <p>บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นบทความทางสถาปัตยกรรมผังเมือง ที่ต้องการนำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณเมืองโบราณกันทรวิชัย โดยไม่ทำลายตัวเมืองโบราณ โดยเสนอว่าให้สงวนรักษาคูน้ำคันดินให้เป็นดังเดิม และควรออกกฎหมายควบคุมการใช้ที่ดินและวางกรอบพื้นที่อนุรักษ์ให้ชัดเจน</p>

เนื้อหาโดยย่อ

     กันทรวิชัย เป็นเมืองโบราณยุคสมัยทวารวดี ตัวเมืองมีลักษณะเป็นรูปไข่มีกำแพงคูน้ำคันดินเมือง 2 ชั้น เป็นพื้นที่ชุมชนที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-16 (1300-1500 ปี) นับว่าเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน และหลักฐานทางโบราณวัตถุที่สำคัญเมืองหนึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง ของภาคอีสาน

     ปัจจุบันจากกระแสการพัฒนาเมืองมหาสารคามโดยเฉพาะการพัฒนาด้านการศึกษา เกิดการขยายตัวของสถาบันการศึกษา เกิดการก่อตั้งมหาวิทยาลัยและพัฒนาต่อเนื่องแต่ช่วงปี พ.ศ.2539-ปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พื้นที่ ม.ใหม่) อยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอกันทรวิชัยซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองโบราณกันทรวิชัยเพียง 8 กิโลเมตร จากปัจจัยความเจริญทางด้านเศรษฐกิจที่ควบคู่มากับการพัฒนาของสถาบันการศึกษา ส่งผลให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพและสภาพแวดล้อมดั้งเดิมของพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมชุมชนเมืองโบราณกันทรวิชัย โดยขาดความเข้าใจในการพัฒนาที่ควบคู่กับการอนุรักษ์และความเข้าใจในสภาพแวดล้อมทางกายภาพของการตั้งถิ่นฐานเมืองโบราณดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นโครงการขยายขนาดถนน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อรองรับโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัย การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์พื้นที่ว่างสาธารณะ การทำลายป่าสาธารณะ ตลอดจนการขยายตัวของย่านพาณิชยกรรม ในบริเวณพื้นที่โดยรอบเมืองโบราณกันทรวิชัย เป็นต้น

     จากปัจจัยการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมต่างๆดังกล่าวผู้วิจัยจึงมองเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาถึงแนวทางการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพคูน้ำคันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เพื่อเป็นกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาที่เกิดจากความเข้าใจคุณค่า ความสัมพันธ์ องค์ประกอบที่สำคัญทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่สำคัญในการตั้งถิ่นฐานเมืองโบราณอย่างแท้จริงให้มีความยั่งยืนต่อไป กรอบแนวความคิดหลักที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 4 กรอบแนวคิด คือ

1.แนวคิดเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในอีสาน (Isan settlement)

2.แนวคิดการเกิดแหล่งน้ำในอีสาน(Landforms of Thailand from space)

3.แนวคิดการอนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์ (Conservation)

และ 4.แนวคิดกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (Urban participation)

โดยงานวิจัยนี้มีกระบวนการดำเนินการอยู่4ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1.ขั้นตอนการศึกษารวบรวมเอกสารข้อมูล แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.ขั้นตอนการสำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ (Visual survey) การสัมภาษณ์ สอบถาม ผู้อยู่อาศัยในเขต คูน้ำ คันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย (Focus group) เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม (Urban participation) และเพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

3.ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) การวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา โอกาส อุปสรรค (Swot analysis) ของพื้นที่

และ 4.ขั้นตอนการกำหนดกรอบแนวความคิดในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพและเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์คูน้ำ คันดิน ในพื้นที่เมืองโบราณกันทรวิชัย (Conservation conceptual plan and landscape development guideline)

ซึ่งจากการศึกษาวิจัยสามารถสรุปประเด็นสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพคูน้ำคันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย ได้ 3 ประเด็นหลัก ดังนี้

1.การเกิดคูน้ำคันดินและแหล่งน้ำ ในอีสาน

2.องค์ประกอบ และความสัมพันธ์ของภูมินิเวศแวดล้อมดั้งเดิมกับคูน้ำคันดินเมืองโบราณกันทรวิชัย

3.แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์คูน้ำคันดินเมืองโบราณกันทรวิชัย

หลักฐานสำคัญ

ผู้วิจัยอ้างอิงข้อมูลจากการลงพื้นที่ สัมภาษณ์ หนังสือ ตำราต่างๆ และข้อมูลจากจารสำรวจทางดาวเทียม

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ทวารวดีในอีสาน เมืองโบราณกันทรวิชัย คูน้ำ

ยุคสมัย

ทวารวดี

จำนวนผู้เข้าชม

222

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

7 ส.ค. 2567

แนวทางการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพคูน้ำคันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

  • แนวทางการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพคูน้ำคันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    ประสิทธิ์ สว่างศรี, วิภา พันธวงค์

    ชื่อบทความ :
    แนวทางการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพคูน้ำคันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    วารสารวิจัยรำไพพรรณี

    เดือน
    เดือน :
    กันยายน-ธันวาคม

    ปี :
    2563

    ปีที่ :
    14

    ฉบับที่ :
    3

    หน้าที่ :
    68-80

    ภาษา :
    ไทย

    หัวเรื่อง :
    คูน้ำ, คันดิน, เมืองโบราณกันทรวิชัย

    หมายเหตุ :

    บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นบทความทางสถาปัตยกรรมผังเมือง ที่ต้องการนำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณเมืองโบราณกันทรวิชัย โดยไม่ทำลายตัวเมืองโบราณ โดยเสนอว่าให้สงวนรักษาคูน้ำคันดินให้เป็นดังเดิม และควรออกกฎหมายควบคุมการใช้ที่ดินและวางกรอบพื้นที่อนุรักษ์ให้ชัดเจน


    เนื้อหาโดยย่อ

         กันทรวิชัย เป็นเมืองโบราณยุคสมัยทวารวดี ตัวเมืองมีลักษณะเป็นรูปไข่มีกำแพงคูน้ำคันดินเมือง 2 ชั้น เป็นพื้นที่ชุมชนที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-16 (1300-1500 ปี) นับว่าเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน และหลักฐานทางโบราณวัตถุที่สำคัญเมืองหนึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง ของภาคอีสาน

         ปัจจุบันจากกระแสการพัฒนาเมืองมหาสารคามโดยเฉพาะการพัฒนาด้านการศึกษา เกิดการขยายตัวของสถาบันการศึกษา เกิดการก่อตั้งมหาวิทยาลัยและพัฒนาต่อเนื่องแต่ช่วงปี พ.ศ.2539-ปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พื้นที่ ม.ใหม่) อยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอกันทรวิชัยซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองโบราณกันทรวิชัยเพียง 8 กิโลเมตร จากปัจจัยความเจริญทางด้านเศรษฐกิจที่ควบคู่มากับการพัฒนาของสถาบันการศึกษา ส่งผลให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพและสภาพแวดล้อมดั้งเดิมของพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมชุมชนเมืองโบราณกันทรวิชัย โดยขาดความเข้าใจในการพัฒนาที่ควบคู่กับการอนุรักษ์และความเข้าใจในสภาพแวดล้อมทางกายภาพของการตั้งถิ่นฐานเมืองโบราณดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นโครงการขยายขนาดถนน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อรองรับโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัย การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์พื้นที่ว่างสาธารณะ การทำลายป่าสาธารณะ ตลอดจนการขยายตัวของย่านพาณิชยกรรม ในบริเวณพื้นที่โดยรอบเมืองโบราณกันทรวิชัย เป็นต้น

         จากปัจจัยการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมต่างๆดังกล่าวผู้วิจัยจึงมองเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาถึงแนวทางการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพคูน้ำคันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เพื่อเป็นกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาที่เกิดจากความเข้าใจคุณค่า ความสัมพันธ์ องค์ประกอบที่สำคัญทางสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่สำคัญในการตั้งถิ่นฐานเมืองโบราณอย่างแท้จริงให้มีความยั่งยืนต่อไป กรอบแนวความคิดหลักที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 4 กรอบแนวคิด คือ

    1.แนวคิดเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในอีสาน (Isan settlement)

    2.แนวคิดการเกิดแหล่งน้ำในอีสาน(Landforms of Thailand from space)

    3.แนวคิดการอนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์ (Conservation)

    และ 4.แนวคิดกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (Urban participation)

    โดยงานวิจัยนี้มีกระบวนการดำเนินการอยู่4ขั้นตอนหลัก ดังนี้

    1.ขั้นตอนการศึกษารวบรวมเอกสารข้อมูล แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    2.ขั้นตอนการสำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ (Visual survey) การสัมภาษณ์ สอบถาม ผู้อยู่อาศัยในเขต คูน้ำ คันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย (Focus group) เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม (Urban participation) และเพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

    3.ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) การวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา โอกาส อุปสรรค (Swot analysis) ของพื้นที่

    และ 4.ขั้นตอนการกำหนดกรอบแนวความคิดในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพและเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์คูน้ำ คันดิน ในพื้นที่เมืองโบราณกันทรวิชัย (Conservation conceptual plan and landscape development guideline)

    ซึ่งจากการศึกษาวิจัยสามารถสรุปประเด็นสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางกายภาพคูน้ำคันดิน เมืองโบราณกันทรวิชัย ได้ 3 ประเด็นหลัก ดังนี้

    1.การเกิดคูน้ำคันดินและแหล่งน้ำ ในอีสาน

    2.องค์ประกอบ และความสัมพันธ์ของภูมินิเวศแวดล้อมดั้งเดิมกับคูน้ำคันดินเมืองโบราณกันทรวิชัย

    3.แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์คูน้ำคันดินเมืองโบราณกันทรวิชัย

    หลักฐานสำคัญ

    ผู้วิจัยอ้างอิงข้อมูลจากการลงพื้นที่ สัมภาษณ์ หนังสือ ตำราต่างๆ และข้อมูลจากจารสำรวจทางดาวเทียม


    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ทวารวดี

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ทวารวดีในอีสาน เมืองโบราณกันทรวิชัย คูน้ำ

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 7 ส.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 222