ชื่อผู้แต่ง | เอกสุดา สิงห์ลำพอง |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | มกราคม-มิถุนายน |
ปี | 2552 |
ปีที่ | 8 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 68-80 |
ภาษา | ไทย |
หัวเรื่อง | ภาพสลัก, เสมา, ทวารวดี |
หมายเหตุ | <p>บทความตั้งคำถามกับบทความตั้งคำถามกับการนิยามความเป็นพระตรีมูรติของแผ่นหินสลักชิ้นดังกล่าว จึงย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับประติมากรรมพระตรีมูรติ และพระศิวะในศิลปะเขมรตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 อันเป็นแม่แบบของการสร้างประติมากรรมในยุคกรุงศรีอยุธยา ในท้ายที่สุดจึงได้ข้อสรุปว่ารูปเคารพองค์นี้น่าจะเป็นพระสทาศิวะ</p> |
ศาสนาฮินดูภายในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีรากฐานสำคัญมาจากอาณาจักรเขมรโบราณที่เคยเจริญรุ่งเรื่องอยู่ก่อนหน้า คติความเชื่อ พิธีกรรมทางศาสนา รวมถึงรูปแบบศิลปะของรูปเคารพเทพเจ้าฮินดูแต่ละองค์ จึงเป็นแหล่งบันดาลใจสำคัญต่อการสร้างประติมากรรมรูปเคารพเทพเจ้าฮินดูในศิลปะอยุธยาผสมผสานกับรสนิยมท้องถิ่น
ในรูปเคารพของเทพเจ้าฮินดูอันเป็นประเด็นการศึกษาในครั้งนี้ มีการตีความเบื้องต้นว่าเป็นพระตรีมูรติ รูปแบบการรวมกันของเทพเจ้าสูงสุดทั้ง 3 องค์ของศาสนาฮินดู รูปเคารพดังกล่าวเป็นประติมากรรมศิลปะอยุธยาที่ยังคงสะท้อนอิทธิพลจากศิลปะเขมรอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม รูปเคารพองค์นี้มีรูปแบบและประติมานวิทยาที่ใกล้เคียงกับพระสทาศิวะ รูปแบบหนึ่งของพระศิวะ (พระอิศวร) ที่พบในศิลปะเขมรเช่นกัน
แผ่นหิน สลักรูปเทพเจ้าฮินดูมี 4 พักตร์ 10 กร ที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ พระนคร (รูปที่ 1 และลายเส้นที่ 1) ตามคำอธิบายของป้ายจัดแสดงระบุว่าเป็น “พระตรีมูรติ” มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 และพบที่วัดหน้าพระเมรุ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
บทความตั้งคำถามกับบทความตั้งคำถามกับการนิยามความเป็นพระตรีมูรติของแผ่นหินสลักชิ้นดังกล่าว จึงย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับประติมากรรมพระตรีมูรติ และพระศิวะในศิลปะเขมรตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 อันเป็นแม่แบบของการสร้างประติมากรรมในยุคกรุงศรีอยุธยา ในท้ายที่สุดจึงได้ข้อสรุปว่ารูปเคารพองค์นี้น่าจะเป็นพระสทาศิวะ
ศาสนาฮินดูภายในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีรากฐานสำคัญมาจากอาณาจักรเขมรโบราณที่เคยเจริญรุ่งเรื่องอยู่ก่อนหน้า คติความเชื่อ พิธีกรรมทางศาสนา รวมถึงรูปแบบศิลปะของรูปเคารพเทพเจ้าฮินดูแต่ละองค์ จึงเป็นแหล่งบันดาลใจสำคัญต่อการสร้างประติมากรรมรูปเคารพเทพเจ้าฮินดูในศิลปะอยุธยาผสมผสานกับรสนิยมท้องถิ่น
ในรูปเคารพของเทพเจ้าฮินดูอันเป็นประเด็นการศึกษาในครั้งนี้ มีการตีความเบื้องต้นว่าเป็นพระตรีมูรติ รูปแบบการรวมกันของเทพเจ้าสูงสุดทั้ง 3 องค์ของศาสนาฮินดู รูปเคารพดังกล่าวเป็นประติมากรรมศิลปะอยุธยาที่ยังคงสะท้อนอิทธิพลจากศิลปะเขมรอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม รูปเคารพองค์นี้มีรูปแบบและประติมานวิทยาที่ใกล้เคียงกับพระสทาศิวะ รูปแบบหนึ่งของพระศิวะ (พระอิศวร) ที่พบในศิลปะเขมรเช่นกัน
แผ่นหิน สลักรูปเทพเจ้าฮินดูมี 4 พักตร์ 10 กร ที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ พระนคร (รูปที่ 1 และลายเส้นที่ 1) ตามคำอธิบายของป้ายจัดแสดงระบุว่าเป็น “พระตรีมูรติ” มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 และพบที่วัดหน้าพระเมรุ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา