ชื่อผู้แต่ง | ปรีชาวุฒิ อภิระติง |
วารสาร/นิตยสาร | ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
เดือน | มกราคม-มิถุนายน |
ปี | 2560 |
ปีที่ | 9 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 385-368 |
ภาษา | ไทย |
บทความนี้เป็นการอธิบายให้เห็นถึงสถานภาพและตำแหน่งในระบบความสัมพันธ์ทางสังคมของกษัตริย์ในวัฒนธรรมทวารวดีอีสาน จากข้อมูลหลักฐานด้านจารึกและผลงานศิลปกรรม ด้วยการวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม(Social Change Theory)
ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการสร้างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สำหรับการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ หรือความพึงพอใจในด้านต่างๆ ที่ไม่จำเพาะแต่ผลประโยชน์ทางวัตถุ แต่ยังรวมไปถึงผลทางด้านจิตใจด้วย โดยกระบวนการสร้างความคิดหรือกิจกรรมทางสังคมนี้มีอยู่สองระดับ คือ การอธิบายถึงกิจกรรมและการกระทำของบุคคล ส่วนระดับที่สองจะเกี่ยวข้องกับสถานภาพและตำแหน่งของบุคคลที่มีผลต่อการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคม และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
โดยกษัตริย์ในวัฒนธรรมทวารวดีอีสาน ได้สร้างระบบความสัมพันธ์กิจกรรมด้วยการบุญทางพระพุทธศาสนาให้เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนทางสังคม เพื่อหวังผลต่อความพึงพอใจของทั้งผู้ประกอบการและผู้ร่วมการบุญนั้น ผ่านปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานต่างๆ ที่เป็นผลงานศิลปกรรม อุทิศถวายเป็นพุทธบูชา และมีความคาดหวังต่อโลกหน้าในศาสนาพระศรีอาริย์ ทั้งพระพุทธรูป พระพิมพ์ สถูป เจดีย์ เสมา ธรรมจักร ประกอบกับเนื้อความจากจารึกที่พบในวัฒนธรรมทวารวดีอีสาน สะท้อนให้เห็นแบบแผนของระบบกษัตริย์ในวัฒนธรรมทวารวดีอีสานได้เป็นสองนัยคือ คติเกี่ยวพระโพธิสัตว์ เพื่อบำเพ็ญปฏิบัติการบุญสร้างสมบารมี ให้ความอนุเคราะห์ต่อประชาชนทั้งความสุขทางกาย ความสงบทางจิตใจ และคติพระจักรพรรดิราช เพื่อการขยายดินแดนทางอาณาจักร สำหรับการปกครองแผ่นดินโดยธรรม
จารึก และภาพนูนสูงเรื่องพุทธประวัติบนใบเสมายุคทวารวดี ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บทความนี้เป็นการอธิบายให้เห็นถึงสถานภาพและตำแหน่งในระบบความสัมพันธ์ทางสังคมของกษัตริย์ในวัฒนธรรมทวารวดีอีสาน จากข้อมูลหลักฐานด้านจารึกและผลงานศิลปกรรม ด้วยการวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม(Social Change Theory)
ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการสร้างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สำหรับการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ หรือความพึงพอใจในด้านต่างๆ ที่ไม่จำเพาะแต่ผลประโยชน์ทางวัตถุ แต่ยังรวมไปถึงผลทางด้านจิตใจด้วย โดยกระบวนการสร้างความคิดหรือกิจกรรมทางสังคมนี้มีอยู่สองระดับ คือ การอธิบายถึงกิจกรรมและการกระทำของบุคคล ส่วนระดับที่สองจะเกี่ยวข้องกับสถานภาพและตำแหน่งของบุคคลที่มีผลต่อการกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคม และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
โดยกษัตริย์ในวัฒนธรรมทวารวดีอีสาน ได้สร้างระบบความสัมพันธ์กิจกรรมด้วยการบุญทางพระพุทธศาสนาให้เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนทางสังคม เพื่อหวังผลต่อความพึงพอใจของทั้งผู้ประกอบการและผู้ร่วมการบุญนั้น ผ่านปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานต่างๆ ที่เป็นผลงานศิลปกรรม อุทิศถวายเป็นพุทธบูชา และมีความคาดหวังต่อโลกหน้าในศาสนาพระศรีอาริย์ ทั้งพระพุทธรูป พระพิมพ์ สถูป เจดีย์ เสมา ธรรมจักร ประกอบกับเนื้อความจากจารึกที่พบในวัฒนธรรมทวารวดีอีสาน สะท้อนให้เห็นแบบแผนของระบบกษัตริย์ในวัฒนธรรมทวารวดีอีสานได้เป็นสองนัยคือ คติเกี่ยวพระโพธิสัตว์ เพื่อบำเพ็ญปฏิบัติการบุญสร้างสมบารมี ให้ความอนุเคราะห์ต่อประชาชนทั้งความสุขทางกาย ความสงบทางจิตใจ และคติพระจักรพรรดิราช เพื่อการขยายดินแดนทางอาณาจักร สำหรับการปกครองแผ่นดินโดยธรรม
จารึก และภาพนูนสูงเรื่องพุทธประวัติบนใบเสมายุคทวารวดี ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ