ชื่อผู้แต่ง | พิพัฒน์พงษ์ ศรีคีตกรหริทาส |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
เดือน | กรกฎาคม - ธันวาคม |
ปี | 2559 |
ปีที่ | 8 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 230 - 255 |
ภาษา | ไทย |
การวิจัยเกี่ยวกับเครื่องดนตรีในตระกูลวีณาธรีศิวะ เป็นการวิจัยเชิงคติชนวิทยาในมิติแห่งเทพปกรณัม โดยใช้การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสหวิทยาการให้ครอบคลุมพื้นที่การวิจัยที่มีขอบเขตกว้างขวางในพื้นที่ประเทศสาธารณรัฐอินเดียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า “วีณาธรีศิวะ” มีความหมายตรงตามอักษรว่าพระศิวะผู้ทรงถือวีณา ซึ่งลักษณะพิเศษคือเป็นเครื่องดนตรีชนิดนี้คือการครอบกล่องเสียงไว้ที่หน้าอกบริเวณหัวใจ การวิจัยดังกล่าวจึงเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีวีณาในวัฒนธรรมโลกที่เชื่อมโยงมาถึงต้นกำเนิดเครื่องดนตรีในตระกูลวีณาธรีศิวะในอินเดียโบราณ ที่ปรากฏความแพร่หลายในงานศิลปกรรมอันเนื่องมาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู และศาสนาพุทธ ในวัฒนธรรมอินเดียโบราณและความแพร่หลายมาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปรัชญาศาสนาที่แฝงอยู่ในรูปแบบทางประติมานวิทยาของศิลปกรรมรูปเครื่องดนตรีชนิดนี้ มีความเชื่อมโยงกับมิติทั้ง 3 คือ 1.มิติแห่งปัจเจกบุคคล 2.มิติแห่งสังคมและวัฒนธรรม และ 3. มิติแห่งเทพปกรณัม ประเด็นสำคัญที่สุดคือเครื่องดนตรีในตระกูลวีณาธรีศิวะแสดงความเชื่อมโยงกับสัจธรรมสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ –ฮินดูอย่างเด่นในด้านความเชื่อมเรื่องความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำคงคาที่ไหลมาจากสวรรค์เพื่อชำระล้างบาปแก่สรรพชีพในโลกพิภพอย่างเด่นชัด
อนุภาคความหนาแน่นของเครื่องดนตรีในตระกูลวีณาธรีศิวะมีการกระจายตัวอยู่ในวัฒนธรรมอินเดียโบราณ และได้แพร่หลายมาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏรูปแบบศิลปกรรมอันเนื่องมาจากศาสนาในกลุ่มรัฐโบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียโบราณ ได้แก่ ศิลปะชวา ศิลปะจาม ศิลปะขอม ศิลปะทวารวดี และศิลปะพุกามที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นต่อจากอินเดีย เมื่อรัฐโบราณในยุคต้นได้เสื่อมลงก็ปรากฏรัฐใหม่ที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาภายหลัง ดังนั้น การศึกษาทางด้านศิลปกรรมในสังคมและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน จึงครอบคลุมพื้นที่ซึ่งปรากฏหลักฐานทางด้านศิลปกรรมเกี่ยวกับเครื่องดนตรีในตระกูลนี้ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
การวิจัยเกี่ยวกับเครื่องดนตรีในตระกูลวีณาธรีศิวะ เป็นการวิจัยเชิงคติชนวิทยาในมิติแห่งเทพปกรณัม โดยใช้การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสหวิทยาการให้ครอบคลุมพื้นที่การวิจัยที่มีขอบเขตกว้างขวางในพื้นที่ประเทศสาธารณรัฐอินเดียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า “วีณาธรีศิวะ” มีความหมายตรงตามอักษรว่าพระศิวะผู้ทรงถือวีณา ซึ่งลักษณะพิเศษคือเป็นเครื่องดนตรีชนิดนี้คือการครอบกล่องเสียงไว้ที่หน้าอกบริเวณหัวใจ การวิจัยดังกล่าวจึงเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีวีณาในวัฒนธรรมโลกที่เชื่อมโยงมาถึงต้นกำเนิดเครื่องดนตรีในตระกูลวีณาธรีศิวะในอินเดียโบราณ ที่ปรากฏความแพร่หลายในงานศิลปกรรมอันเนื่องมาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู และศาสนาพุทธ ในวัฒนธรรมอินเดียโบราณและความแพร่หลายมาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปรัชญาศาสนาที่แฝงอยู่ในรูปแบบทางประติมานวิทยาของศิลปกรรมรูปเครื่องดนตรีชนิดนี้ มีความเชื่อมโยงกับมิติทั้ง 3 คือ 1.มิติแห่งปัจเจกบุคคล 2.มิติแห่งสังคมและวัฒนธรรม และ 3. มิติแห่งเทพปกรณัม ประเด็นสำคัญที่สุดคือเครื่องดนตรีในตระกูลวีณาธรีศิวะแสดงความเชื่อมโยงกับสัจธรรมสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ –ฮินดูอย่างเด่นในด้านความเชื่อมเรื่องความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำคงคาที่ไหลมาจากสวรรค์เพื่อชำระล้างบาปแก่สรรพชีพในโลกพิภพอย่างเด่นชัด
อนุภาคความหนาแน่นของเครื่องดนตรีในตระกูลวีณาธรีศิวะมีการกระจายตัวอยู่ในวัฒนธรรมอินเดียโบราณ และได้แพร่หลายมาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏรูปแบบศิลปกรรมอันเนื่องมาจากศาสนาในกลุ่มรัฐโบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียโบราณ ได้แก่ ศิลปะชวา ศิลปะจาม ศิลปะขอม ศิลปะทวารวดี และศิลปะพุกามที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นต่อจากอินเดีย เมื่อรัฐโบราณในยุคต้นได้เสื่อมลงก็ปรากฏรัฐใหม่ที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาภายหลัง ดังนั้น การศึกษาทางด้านศิลปกรรมในสังคมและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน จึงครอบคลุมพื้นที่ซึ่งปรากฏหลักฐานทางด้านศิลปกรรมเกี่ยวกับเครื่องดนตรีในตระกูลนี้ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว