ชื่อผู้แต่ง | วันวิสาข์ ธรรมานนท์ |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | กรกฎาคม - ธันวาคม |
ปี | 2022 |
ปีที่ | 21 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 67 - 96 |
ภาษา | ไทย |
การศึกษาเกี่ยวกับช่วงเวลาการเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปัตตานีโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ ณ บริเวณชุมชนกรือเซะ โดยใช้หลักฐานทางโบราณคดีประกอบข้อสันนิษฐาน การศึกษาเรื่องราวของปัตตานีในอดีตพบว่า แบ่งได้เป็นสองช่วงเวลาสำคัญ ประกอบด้วย 1) บริเวณ เมืองโบราณยะรัง อันเป็นเมืองโบราณที่อยู่ลึกเข้าไปทางตอนในของแผ่นดินปัจจุบันหรือที่เรียกว่า พื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตอนบน ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าคือ เมืองลังกาสุกะ ที่ปรากฏในเอกสารต่างชาติ จากหลักฐานทางโบราณคดีกำหนดอายุของเมืองแห่งนี้ว่าอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 6-18 2) พื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำปัตตานีตอนล่าง มีบริเวณบ้านกรือเซะเป็นศูนย์กลาง ชุมชนแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเป็นเมืองท่านานาชาติในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีราชวงศ์ศรีวังสาเป็นผู้นำของรัฐ การศึกษาที่ผ่านมายังไม่มีการกล่าวถึงการมีอยู่ของชุมชนก่อนการเข้ามาของราชวงศ์ศรีวังสาแต่อย่างใด จากหลักฐานเอกสารบางส่วนและหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นในพื้นที่ปัตตานีโบราณบริเวณบ้านตันหยงลุโละพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีชุมชนเข้ามาอยู่อาศัยแล้วและมีกิจกรรมการค้ากับต่างชาติก่อนที่ราชวงศ์ศรีวังสาจะขึ้นมามีอำนาจ สามารถย้อนกลับไปได้อย่างน้อยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ซึ่งในช่วงเวลานั้นศูนย์กลางชุมชนโบราณยะรังที่ตั้งอยู่ตอนใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บราโอ ยังไม่ล่มสลายแต่อย่างใด
การศึกษาเกี่ยวกับช่วงเวลาการเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปัตตานีโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ ณ บริเวณชุมชนกรือเซะ โดยใช้หลักฐานทางโบราณคดีประกอบข้อสันนิษฐาน การศึกษาเรื่องราวของปัตตานีในอดีตพบว่า แบ่งได้เป็นสองช่วงเวลาสำคัญ ประกอบด้วย 1) บริเวณ เมืองโบราณยะรัง อันเป็นเมืองโบราณที่อยู่ลึกเข้าไปทางตอนในของแผ่นดินปัจจุบันหรือที่เรียกว่า พื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตอนบน ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าคือ เมืองลังกาสุกะ ที่ปรากฏในเอกสารต่างชาติ จากหลักฐานทางโบราณคดีกำหนดอายุของเมืองแห่งนี้ว่าอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 6-18 2) พื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำปัตตานีตอนล่าง มีบริเวณบ้านกรือเซะเป็นศูนย์กลาง ชุมชนแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเป็นเมืองท่านานาชาติในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีราชวงศ์ศรีวังสาเป็นผู้นำของรัฐ การศึกษาที่ผ่านมายังไม่มีการกล่าวถึงการมีอยู่ของชุมชนก่อนการเข้ามาของราชวงศ์ศรีวังสาแต่อย่างใด จากหลักฐานเอกสารบางส่วนและหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นในพื้นที่ปัตตานีโบราณบริเวณบ้านตันหยงลุโละพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีชุมชนเข้ามาอยู่อาศัยแล้วและมีกิจกรรมการค้ากับต่างชาติก่อนที่ราชวงศ์ศรีวังสาจะขึ้นมามีอำนาจ สามารถย้อนกลับไปได้อย่างน้อยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ซึ่งในช่วงเวลานั้นศูนย์กลางชุมชนโบราณยะรังที่ตั้งอยู่ตอนใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บราโอ ยังไม่ล่มสลายแต่อย่างใด