ชื่อผู้แต่ง | ปติสร เพ็ญสุด |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
ปี | 2552 |
ปีที่ | 8 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 19-34 |
ภาษา | ไทย |
บทความนี้มีเนื้อหากล่าวถึง เสมา ซึ่งเป็นแท่งหินที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงอาณาบริเวณของเขตศักดิ์สิทธิ์ เป็นประเพณีท้องถิ่นที่จัดว่าเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งแตกต่างไปจากวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลาง เสมาในวัฒนธรรมทวารวดีเหล่านี้กระจายตัวอยู่ในส่วนต่างๆของภาคอีสาน บางส่วนของภาคกลางในประเทศไทย รวมทั้งดินแดนลาวและกัมพูชาอีกด้วย เสมาจำนวนมากสลักขึ้นด้วยหินทราย แสดงภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์ในพุทธศาสนา เช่นพุทธประวัติ ชาดก หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆเช่นสถูป ธรรมจักร หรือหม้อปูรณฆฏะ โดยเป็นการวิเคราะห์ เสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสานของประเทศไทยซึ่งสลักเรื่องจากวิธุรบัณฑิตชาดก วิธุรบัณฑิตชาดกเป็นชาดกเรื่องที่ 9
บทความนี้มีเนื้อหากล่าวถึง เสมา ซึ่งเป็นแท่งหินที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงอาณาบริเวณของเขตศักดิ์สิทธิ์ เป็นประเพณีท้องถิ่นที่จัดว่าเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งแตกต่างไปจากวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลาง เสมาในวัฒนธรรมทวารวดีเหล่านี้กระจายตัวอยู่ในส่วนต่างๆของภาคอีสาน บางส่วนของภาคกลางในประเทศไทย รวมทั้งดินแดนลาวและกัมพูชาอีกด้วย เสมาจำนวนมากสลักขึ้นด้วยหินทราย แสดงภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์ในพุทธศาสนา เช่นพุทธประวัติ ชาดก หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆเช่นสถูป ธรรมจักร หรือหม้อปูรณฆฏะ โดยเป็นการวิเคราะห์ เสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสานของประเทศไทยซึ่งสลักเรื่องจากวิธุรบัณฑิตชาดก วิธุรบัณฑิตชาดกเป็นชาดกเรื่องที่ 9