ชื่อผู้แต่ง | วิภารัตน์ ประดิษฐอาชีพ |
วารสาร/นิตยสาร | นิตยสารศิลปากร |
เดือน | กันยายน - ตุลาคม |
ปี | 2561 |
ปีที่ | 61 |
ฉบับที่ | 5 |
หน้าที่ | 118-127 |
ภาษา | ไทย |
เศียรพระโพธิสัตว์สำริดขนาดใหญ่ สูงถึง 72 เซนติเมตร ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สันนิษฐานว่าเป็นเศียรของพระโพธิสัตว์ไมเตรยะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย กำหนดอายุราว พุทธศตวรรษที่ 13-14 พบที่บ้านโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ในเดือนกันยายน พ.ศ.2504 ทำให้นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าเป็นประติมากรรมของรัฐศรีจนาศะซึ่งเป็นเมืองสำคัญในท้องที่นั้นและสันนิษฐานว่าหล่อในพื้นที่มากกว่าหล่อมาจารัฐเขมรโบราณเพราะมีขนาดใหญ่ เศียรพระโพธิสัตว์นี้ถือเป็นประติมากรรมชิ้นเยี่ยมที่มักถูกอ้างอิงเมื่อมีการกล่าวถึงประติมากรรมกลุ่มประโคนชัย และยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธมหายานในพื้นที่ และความสามารถของช่างท้องถิ่นอีกด้วย
เศียรพระโพธิสัตว์สำริดพบที่บ้านโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
เศียรพระโพธิสัตว์สำริดขนาดใหญ่ สูงถึง 72 เซนติเมตร ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สันนิษฐานว่าเป็นเศียรของพระโพธิสัตว์ไมเตรยะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย กำหนดอายุราว พุทธศตวรรษที่ 13-14 พบที่บ้านโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ในเดือนกันยายน พ.ศ.2504 ทำให้นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าเป็นประติมากรรมของรัฐศรีจนาศะซึ่งเป็นเมืองสำคัญในท้องที่นั้นและสันนิษฐานว่าหล่อในพื้นที่มากกว่าหล่อมาจารัฐเขมรโบราณเพราะมีขนาดใหญ่ เศียรพระโพธิสัตว์นี้ถือเป็นประติมากรรมชิ้นเยี่ยมที่มักถูกอ้างอิงเมื่อมีการกล่าวถึงประติมากรรมกลุ่มประโคนชัย และยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธมหายานในพื้นที่ และความสามารถของช่างท้องถิ่นอีกด้วย
เศียรพระโพธิสัตว์สำริดพบที่บ้านโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา