หน้าแรก บทความ เหรียญอาหรับอิสลามที่พบในประเทศไทย: การศึกษาวิเคราะห์จารึกและกำหนดอายุ

เหรียญอาหรับอิสลามที่พบในประเทศไทย: การศึกษาวิเคราะห์จารึกและกำหนดอายุ

เหรียญอาหรับอิสลามที่พบในประเทศไทย: การศึกษาวิเคราะห์จารึกและกำหนดอายุ

ชื่อผู้แต่ง สุนิติ จุฑามาศ
วารสาร/นิตยสาร ดำรงวิชาการ
เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
ปี 2564
ปีที่ 20
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 33 - 58
ภาษา ไทย

เนื้อหาโดยย่อ

กล่าวถึงเหรียญอาหรับอิสลามในแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยทวารวดีและศรีวิชัยซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างชาวพื้นเมืองในดินแดนประเทศไทยในสมัยโบราณกับพ่อค้าชาวอาหรับ-เปอร์เซียที่มีบทบาทสำคัญในเครือข่ายการค้าทางทะเลของโลกในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-11 แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาพบอุปสรรคในการศึกษาเหรียญอาหรับอิสลามทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมถึงข้อจำกัดด้านภาษาในการถอดคำอ่านจารึกบนเหรียญซึ่งส่งผลต่อการวิเคราะห์และกำหนดอายุสมัยที่ถูกต้อง การศึกษาชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบวิเคราะห์ชนิด รูปแบบ และอ่านจารึกบนเหรียญอาหรับอิสลามเพื่อกำหนดอายุสมัย โดยอาศัยข้อมูลจากรายงานการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ จำนวนทั้งหมด 11 เหรียญ จากผลการศึกษาสามารถจำแนกได้ 3 กลุ่ม 1) เหรียญเงินสมัยปลายราชวงศ์อุมัยยะฮ์จำนวน 1 เหรียญ กำหนดอายุช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 พบที่เมืองโบราณเวียงสระ 2) เหรียญทองแดงสมัยต้นราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ที่พบในบริเวณเมืองโบราณอู่ทองจำนวน 9 เหรียญ และ 3) เหรียญเงินสมัยราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ที่พบในบริเวณแหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ จำนวน 1 เหรียญ ที่สามารถกำหนดอายุในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 สอดคล้องกับอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีที่พบและกิจกรรมการค้าทางทะเลของพ่อค้านักเดินเรือชาวอาหรับ-เปอร์เซียจากเมืองท่าหลักในอ่าวเปอร์เซียและทะเลแดง สู่อาณาบริเวณรอบมหาสมุทรอินเดีย จนถึงเอเชียอาคเนย์และจีนที่ถูกบันทึกไว้ในเอกสารอาหรับโบราณร่วมสมัย

หลักฐานสำคัญ

หลักฐานตามแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบ เช่น เหรียญเงินที่อ้างอิงถึงการปกครองด้วยราชวงศ์ต่าง ๆ ในช่วงเวลานั้น

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

การค้าทางทะเล การค้า อิสลาม เหรียญอิสลาม อาหรับ

ยุคสมัย

ศรีวิชัย ทวารวดี

จำนวนผู้เข้าชม

115

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

26 มิ.ย. 2567

เหรียญอาหรับอิสลามที่พบในประเทศไทย: การศึกษาวิเคราะห์จารึกและกำหนดอายุ

  • เหรียญอาหรับอิสลามที่พบในประเทศไทย: การศึกษาวิเคราะห์จารึกและกำหนดอายุ
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    สุนิติ จุฑามาศ

    ชื่อบทความ :
    เหรียญอาหรับอิสลามที่พบในประเทศไทย: การศึกษาวิเคราะห์จารึกและกำหนดอายุ

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    ดำรงวิชาการ

    เดือน
    เดือน :
    กรกฎาคม - ธันวาคม

    ปี :
    2564

    ปีที่ :
    20

    ฉบับที่ :
    2

    หน้าที่ :
    33 - 58

    ภาษา :
    ไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    กล่าวถึงเหรียญอาหรับอิสลามในแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยทวารวดีและศรีวิชัยซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างชาวพื้นเมืองในดินแดนประเทศไทยในสมัยโบราณกับพ่อค้าชาวอาหรับ-เปอร์เซียที่มีบทบาทสำคัญในเครือข่ายการค้าทางทะเลของโลกในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-11 แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาพบอุปสรรคในการศึกษาเหรียญอาหรับอิสลามทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมถึงข้อจำกัดด้านภาษาในการถอดคำอ่านจารึกบนเหรียญซึ่งส่งผลต่อการวิเคราะห์และกำหนดอายุสมัยที่ถูกต้อง การศึกษาชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบวิเคราะห์ชนิด รูปแบบ และอ่านจารึกบนเหรียญอาหรับอิสลามเพื่อกำหนดอายุสมัย โดยอาศัยข้อมูลจากรายงานการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ จำนวนทั้งหมด 11 เหรียญ จากผลการศึกษาสามารถจำแนกได้ 3 กลุ่ม 1) เหรียญเงินสมัยปลายราชวงศ์อุมัยยะฮ์จำนวน 1 เหรียญ กำหนดอายุช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 พบที่เมืองโบราณเวียงสระ 2) เหรียญทองแดงสมัยต้นราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ที่พบในบริเวณเมืองโบราณอู่ทองจำนวน 9 เหรียญ และ 3) เหรียญเงินสมัยราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ที่พบในบริเวณแหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ จำนวน 1 เหรียญ ที่สามารถกำหนดอายุในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 สอดคล้องกับอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีที่พบและกิจกรรมการค้าทางทะเลของพ่อค้านักเดินเรือชาวอาหรับ-เปอร์เซียจากเมืองท่าหลักในอ่าวเปอร์เซียและทะเลแดง สู่อาณาบริเวณรอบมหาสมุทรอินเดีย จนถึงเอเชียอาคเนย์และจีนที่ถูกบันทึกไว้ในเอกสารอาหรับโบราณร่วมสมัย

    หลักฐานสำคัญ

    หลักฐานตามแหล่งโบราณคดีที่ค้นพบ เช่น เหรียญเงินที่อ้างอิงถึงการปกครองด้วยราชวงศ์ต่าง ๆ ในช่วงเวลานั้น


    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ศรีวิชัย ทวารวดี

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    การค้าทางทะเล การค้า อิสลาม เหรียญอิสลาม อาหรับ

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 26 มิ.ย. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 115