ชื่อผู้แต่ง | อริสา สายศรีโกศล และคณะ |
วารสาร/นิตยสาร | วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทัรรศน์ |
เดือน | มกราคม - เมษายน |
ปี | 2567 |
ปีที่ | 8 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 209 - 223 |
ภาษา | ไทย |
บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาพหุวัฒนธรรมทางความเชื่อในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นยุคของการติดต่อกับชุมชนภายนอกและในยุคที่เมืองศรีเทพเจริญรุ่งเรือง ทั้งสมัยทวารวดีและสมัยที่เขมรเข้ามาปกครอง ศรีเทพเป็นเมืองที่มีความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทวารวดีกับวัฒนธรรมเขมรโบราณ ปัจจุบันเมืองแห่งนี้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งมีโบราณสถานสำคัญที่จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ โบราณสถานในเมืองและเมืองนอก โบราณสถานในเมืองมี 3 แห่ง คือ โบราณสถานเขาคลังใน โบราณสถานปรางค์ศรีเทพ และโบราณสถานปรางค์สองพี่น้อง ส่วนโบราณสถานที่นอกเมืองมี 3 แห่ง คือ โบราณสถานเขาคลังนอก โบราณสถานปรางค์ฤาษีและโบราณสถานเขาถมอรัตน์ โบราณสถานเหล่านี้เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมความเชื่อ ทั้งจากพุทธศาสนาแบบเถรวาทและมหายาน และศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนิกายไศวะ ความหลากหลายทางความเชื่อนี้ก่อให้เกิดความงามที่เป็นอัตลักษณ์ของเมืองศรีเทพที่ควรแก่การอนุรักษ์และศึกษาอย่างยิ่ง องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) การได้แนวคิดด้านความเชื่อทางศาสนาที่เป็นวัฒนธรรมประเภทคติธรรม ซึ่งจำแนกเป็นลักษณะย่อยตามหลักพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 2) การได้แนวคิดด้านโบราณสถานที่เป็นวัฒนธรรมประเภทวัตถุธรรม ซึ่งจำแนกเป็นลักษณะย่อยตามภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ในเมืองและนอกเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับความเชื่อทั้งในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาพหุวัฒนธรรมทางความเชื่อในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นยุคของการติดต่อกับชุมชนภายนอกและในยุคที่เมืองศรีเทพเจริญรุ่งเรือง ทั้งสมัยทวารวดีและสมัยที่เขมรเข้ามาปกครอง ศรีเทพเป็นเมืองที่มีความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมทวารวดีกับวัฒนธรรมเขมรโบราณ ปัจจุบันเมืองแห่งนี้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งมีโบราณสถานสำคัญที่จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ โบราณสถานในเมืองและเมืองนอก โบราณสถานในเมืองมี 3 แห่ง คือ โบราณสถานเขาคลังใน โบราณสถานปรางค์ศรีเทพ และโบราณสถานปรางค์สองพี่น้อง ส่วนโบราณสถานที่นอกเมืองมี 3 แห่ง คือ โบราณสถานเขาคลังนอก โบราณสถานปรางค์ฤาษีและโบราณสถานเขาถมอรัตน์ โบราณสถานเหล่านี้เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมความเชื่อ ทั้งจากพุทธศาสนาแบบเถรวาทและมหายาน และศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนิกายไศวะ ความหลากหลายทางความเชื่อนี้ก่อให้เกิดความงามที่เป็นอัตลักษณ์ของเมืองศรีเทพที่ควรแก่การอนุรักษ์และศึกษาอย่างยิ่ง องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) การได้แนวคิดด้านความเชื่อทางศาสนาที่เป็นวัฒนธรรมประเภทคติธรรม ซึ่งจำแนกเป็นลักษณะย่อยตามหลักพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 2) การได้แนวคิดด้านโบราณสถานที่เป็นวัฒนธรรมประเภทวัตถุธรรม ซึ่งจำแนกเป็นลักษณะย่อยตามภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ในเมืองและนอกเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับความเชื่อทั้งในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู