ชื่อผู้แต่ง | พระครูอนุกูลกัลยาณกิจ และคณะ |
วารสาร/นิตยสาร | วารสาร มจร ปรัชญาปริทัรรศน์ |
เดือน | มรราคม - มิถุนายน |
ปี | 2567 |
ปีที่ | 7 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 53 - 63 |
ภาษา | ไทย |
มีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาแผนผังประวัติศาสตร์โบราณคดีอารยธรรมทวารวดี เพื่อเสริมสร้างการออกแบบผังโบราณคดีอารยธรรมทวารวดีที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมกับวิเคราะห์แผนผังโบราณคดีอารยธรรมทวารวดีเชิงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งการศึกษาของบทความนี้พบว่า 1) โบราณสถานทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ เมืองโบราณอู่ทอง เมืองโบราณคูเมือง เมืองโบราณหนองราชวัตรและเมืองโบราณบ้านหนองแจง เมืองโบราณอู่ทองเป็นเมืองโบราณเพียงแห่งเดียวที่มีร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีเพียงพอให้ศึกษาผังโบราณคดีอารยธรรมยุคทวารวดีในจังหวัดสุพรรณบุรีได้ 2) ร่องรอยการออกแบบผังโบราณคดีมีอิทธิพลต่อการอยู่อาศัยของชุมชน เมืองโบราณอู่ทองได้พัฒนาตนเองไปสู่สังคมเมือง ทำการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการค้าและศาสนา มีรูปแบบศิลปะคุปตะจากอินเดีย โบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบในเมืองอู่ทองเป็นศิลปกรรมในสมัยทวารวดี ที่มีความหลากหลายในด้านสถาปัตยกรรม 3) เมืองโบราณอู่ทอง มีลักษณะผังเมืองสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างกลม ตัวเมืองด้านหนึ่งตั้งอยู่ติดกับลำน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ไม่พบร่องรอยของสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่เป็นฐานเจดีย์ หรืออาคารขนาดเล็กก่อด้วยอิฐ ทั้งภายในและนอกเขตกําแพงเมือง แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณนั้นอยู่กระจายกันออกไป
มีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาแผนผังประวัติศาสตร์โบราณคดีอารยธรรมทวารวดี เพื่อเสริมสร้างการออกแบบผังโบราณคดีอารยธรรมทวารวดีที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมกับวิเคราะห์แผนผังโบราณคดีอารยธรรมทวารวดีเชิงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งการศึกษาของบทความนี้พบว่า 1) โบราณสถานทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ เมืองโบราณอู่ทอง เมืองโบราณคูเมือง เมืองโบราณหนองราชวัตรและเมืองโบราณบ้านหนองแจง เมืองโบราณอู่ทองเป็นเมืองโบราณเพียงแห่งเดียวที่มีร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีเพียงพอให้ศึกษาผังโบราณคดีอารยธรรมยุคทวารวดีในจังหวัดสุพรรณบุรีได้ 2) ร่องรอยการออกแบบผังโบราณคดีมีอิทธิพลต่อการอยู่อาศัยของชุมชน เมืองโบราณอู่ทองได้พัฒนาตนเองไปสู่สังคมเมือง ทำการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการค้าและศาสนา มีรูปแบบศิลปะคุปตะจากอินเดีย โบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบในเมืองอู่ทองเป็นศิลปกรรมในสมัยทวารวดี ที่มีความหลากหลายในด้านสถาปัตยกรรม 3) เมืองโบราณอู่ทอง มีลักษณะผังเมืองสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างกลม ตัวเมืองด้านหนึ่งตั้งอยู่ติดกับลำน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ไม่พบร่องรอยของสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่เป็นฐานเจดีย์ หรืออาคารขนาดเล็กก่อด้วยอิฐ ทั้งภายในและนอกเขตกําแพงเมือง แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณนั้นอยู่กระจายกันออกไป