ชื่อผู้แต่ง | เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว |
วารสาร/นิตยสาร | วรสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี |
เดือน | กันยายน - ธันวาคม |
ปี | 2562 |
ปีที่ | 2 |
ฉบับที่ | 3 |
หน้าที่ | 71 - 91 |
ภาษา | ไทย |
ทุรคามหิษาสุรมรรทินีเป็นความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับพระอุมาซึ่งเป็นเทวีที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ปัจจุบันนับถือกันว่าพระองค์เป็นชายาของพระศิวะซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ทุรคาปางมหิษาสุรมรรทินีเริ่มปรากฏในวัฒนธรรมอินเดียสมัยหลังพระเวทในฐานะเทวีท้องถิ่นผู้ประทานชัยชนะ สมัยหลังพระเวทจนถึงสมัยคุปตะ ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ทุรคาถูกรวมเข้ากับพระอุมาและถูกยกฐานะขึ้นเป็นชายาหรือศักติของพระศิวะ ทุรคามหิษาสุรมรรทินีจึงเป็นปางดุร้ายภาคหนึ่งของพระอุมา เมื่ออารยธรรมอินเดียได้แพร่มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการบูชาพระองค์โดยปรากฏเป็นงานศิลปกรรมในดินแดนต่าง ๆ ที่รับอารยธรรมจากอินเดีย เช่น ชวา เขมร ฯลฯ ในดินแดนไทย โดยเฉพาะสมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยพบประติมากรรมทุรคามหิษา สุรมรรทินีอย่างน้อย 3 ชิ้น ได้แก่ 1) ประติมากรรมจากเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี 2) สมบัติส่วนพระองค์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล และ 3) ทับหลังจากปราสาทเมืองแขก จังหวัดนครราชสีมา ประติมากรรมทั้ง 3 ชิ้นมีรูปแบบทางศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดีย ศิลปะเขมร และศิลปะชวา
ทุรคามหิษาสุรมรรทินีเป็นความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับพระอุมาซึ่งเป็นเทวีที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ปัจจุบันนับถือกันว่าพระองค์เป็นชายาของพระศิวะซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ทุรคาปางมหิษาสุรมรรทินีเริ่มปรากฏในวัฒนธรรมอินเดียสมัยหลังพระเวทในฐานะเทวีท้องถิ่นผู้ประทานชัยชนะ สมัยหลังพระเวทจนถึงสมัยคุปตะ ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ทุรคาถูกรวมเข้ากับพระอุมาและถูกยกฐานะขึ้นเป็นชายาหรือศักติของพระศิวะ ทุรคามหิษาสุรมรรทินีจึงเป็นปางดุร้ายภาคหนึ่งของพระอุมา เมื่ออารยธรรมอินเดียได้แพร่มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการบูชาพระองค์โดยปรากฏเป็นงานศิลปกรรมในดินแดนต่าง ๆ ที่รับอารยธรรมจากอินเดีย เช่น ชวา เขมร ฯลฯ ในดินแดนไทย โดยเฉพาะสมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยพบประติมากรรมทุรคามหิษา สุรมรรทินีอย่างน้อย 3 ชิ้น ได้แก่ 1) ประติมากรรมจากเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี 2) สมบัติส่วนพระองค์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล และ 3) ทับหลังจากปราสาทเมืองแขก จังหวัดนครราชสีมา ประติมากรรมทั้ง 3 ชิ้นมีรูปแบบทางศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดีย ศิลปะเขมร และศิลปะชวา