ชื่อผู้แต่ง | ประสิทธิ์ พันธวงษ์ และคณะ |
วารสาร/นิตยสาร | มหาจุฬานาครทรรศน์ |
เดือน | มกราคม-มีนาคม |
ปี | 2562 |
ปีที่ | 6 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 85-102 |
ภาษา | ไทย |
บทความนี้มีการนำเสนอเกี่ยวกับ 1) วิถีชีวิตของชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของคนในลุ่มแม่น้ำตาปีผ่านการเรียนรู้จนเป็นประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เพื่อสื่อสารเรื่องราวความรู้สึกนึกคิด สะท้อนความเป็นมาของ วิถีชีวิต สังคม ความเชื่อ ค่านิยมของแต่ละท้องถิ่นที่มีการเชื่อมโยงกันซึ่งทำให้เกิดวิถีชีวิตภูมิปัญญาต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำตาปีอย่างมากมายที่เห็นเชิงประจักษ์ในทุกวันนี้ 2) ภูมิปัญญาในการจัดการตนเองของชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปี เป็นองค์ความรู้ความสามารถและทักษะซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมา และเทคนิคที่ถูกคิดค้นขึ้นผสมผสานไว้อย่างเหมาะสม และลงตัวจนทำให้เกิดเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นรอบอ่าวบ้านดอนในปัจจุบัน 3) ภูมิปัญญาการเชื่อมโยงอารยธรรมศรีวิชัยของลุ่มแม่น้ำตาปีจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรือง ความสัมพันธ์กับนานาประเทศในคาบสมุทรมลายูโดยทำการค้าขายกับชาวจีน อินเดีย เปอร์เซียและอาหรับ จึงทำให้เกิดประวัติศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอน นครโบราณที่มีผู้คนมาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จนกลายมาเป็น “เมืองบ้านดอน” ที่เคยมีในยุคนั้นกลับคืนมาสู่ดินแดนนั้นแห่ง ยุคนี้ ขึ้นมาเพื่อเป็นที่รองรับวิญญาณแห่งศรีวิชัยอันจักคืนชีพมาสู่ดินแดนนี้โดยการขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เช่น ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรม นวัตวิถีชุมชนวัฒนธรรมสืบต่อไป
บทความนี้มีการนำเสนอเกี่ยวกับ 1) วิถีชีวิตของชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของคนในลุ่มแม่น้ำตาปีผ่านการเรียนรู้จนเป็นประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เพื่อสื่อสารเรื่องราวความรู้สึกนึกคิด สะท้อนความเป็นมาของ วิถีชีวิต สังคม ความเชื่อ ค่านิยมของแต่ละท้องถิ่นที่มีการเชื่อมโยงกันซึ่งทำให้เกิดวิถีชีวิตภูมิปัญญาต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำตาปีอย่างมากมายที่เห็นเชิงประจักษ์ในทุกวันนี้ 2) ภูมิปัญญาในการจัดการตนเองของชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปี เป็นองค์ความรู้ความสามารถและทักษะซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรับปรุง พัฒนา ถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมา และเทคนิคที่ถูกคิดค้นขึ้นผสมผสานไว้อย่างเหมาะสม และลงตัวจนทำให้เกิดเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นรอบอ่าวบ้านดอนในปัจจุบัน 3) ภูมิปัญญาการเชื่อมโยงอารยธรรมศรีวิชัยของลุ่มแม่น้ำตาปีจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรือง ความสัมพันธ์กับนานาประเทศในคาบสมุทรมลายูโดยทำการค้าขายกับชาวจีน อินเดีย เปอร์เซียและอาหรับ จึงทำให้เกิดประวัติศาสตร์รอบอ่าวบ้านดอน นครโบราณที่มีผู้คนมาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จนกลายมาเป็น “เมืองบ้านดอน” ที่เคยมีในยุคนั้นกลับคืนมาสู่ดินแดนนั้นแห่ง ยุคนี้ ขึ้นมาเพื่อเป็นที่รองรับวิญญาณแห่งศรีวิชัยอันจักคืนชีพมาสู่ดินแดนนี้โดยการขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เช่น ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรม นวัตวิถีชุมชนวัฒนธรรมสืบต่อไป