ชื่อผู้แต่ง | วรรณวิภา สุเนต์ตา |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | มกราคม-มิถุนายน |
ปี | 2553 |
ปีที่ | 9 |
ฉบับที่ | 1 |
ภาษา | ไทย |
บทความนี้นำเสนอความสัมพันธ์ด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมของปราสาทพระวิหาร ศาสนสถานแบบบาปวนที่สถาปนาขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 บนเทือกเขาพนมดงรักบริเวณพรมแดนติดต่อระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าเป็นต้นแบบสำคัญให้กับการพัฒนาสัดส่วนและแผนผังของปราสาทหินพิมายที่สถาปนาขึ้นต่อมาในดินแดนไทย
พัฒนาการด้านรูปแบบและแผนผังปราสาทดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดรูปแบบศิลปกรรมภายในภูมิภาค อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาเพิ่มเติม เพื่อช่วยอธิบายความสัมพันธ์ของชุมชนอารยธรรมเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
บทความนี้นำเสนอความสัมพันธ์ด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมของปราสาทพระวิหาร ศาสนสถานแบบบาปวนที่สถาปนาขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 บนเทือกเขาพนมดงรักบริเวณพรมแดนติดต่อระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าเป็นต้นแบบสำคัญให้กับการพัฒนาสัดส่วนและแผนผังของปราสาทหินพิมายที่สถาปนาขึ้นต่อมาในดินแดนไทย
พัฒนาการด้านรูปแบบและแผนผังปราสาทดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดรูปแบบศิลปกรรมภายในภูมิภาค อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาเพิ่มเติม เพื่อช่วยอธิบายความสัมพันธ์ของชุมชนอารยธรรมเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น