ชื่อผู้แต่ง | สิปปวิชญ์ กิ่งแก้ว และคณะ |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
เดือน | กรกฎาคม-ธันวาคม |
ปี | 2562 |
ปีที่ | 41 |
ฉบับที่ | 2 |
หน้าที่ | 143-169 |
ภาษา | ไทย |
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจาบุีฎงแวง (ចាប៉ីដងវែង) หรือกระจับปี่ด้ามยาว ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโบราณของชาวกัมพูชา เกี่ยวกับการกำเนิดและบทบาทหน้าที่ของจาบุีฎงแวง (ចាប៉ីដងវែង) โดยอาศัยข้อมูลทางวัฒนธรรมดนตรีอินเดียที่มีอิทธิพลต่ออารยธรรมเขมรโบราณตั้งแต่อดีตจนถึงราชอาณาจักรกัมพูชาปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าทั้งในสมัยก่อนเมืองพระนคร และสมัยเมืองพระนคร ปรากฏเพียงคำว่า “วีณา” คำว่า “วีณา” นี้เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายใช้ดีดเท่านั้น แต่ไม่ปรากฏคำว่า จาบีุ (ចាប៉ី) จากการศึกษาครั้งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะมีใช้มาตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครแล้ว เพียงแต่เป็นเครื่องขับลำนำชั้นรองมิได้ทำหน้าที่ในศาสนพิธีเช่นเครื่องสายใช้ดีดประเภทฮาร์พและพิณคันธนูที่มีหลักฐานบนภาพจำหลัก ส่วนสมัยหลังเมืองพระนครก็ยังไม่มีหลักฐานการใช้คำว่า จาบุี (ចាប៉ី) และบทบาทหน้าที่ของเครื่องดนตรีประเภทนี้ แต่ในช่วงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์พบว่าจาบุีฎงแวง (ចាប៉ីដងវែង) ยังทำหน้าที่เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารและระบอบการปกครองทหาร และในปัจจุบันจาบุีฎงแวง (ចាប៉ីដងវែង) ยังคงมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการบรรเลงร่วมในวงเพลงและใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจาบุีฎงแวง (ចាប៉ីដងវែង) หรือกระจับปี่ด้ามยาว ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโบราณของชาวกัมพูชา เกี่ยวกับการกำเนิดและบทบาทหน้าที่ของจาบุีฎงแวง (ចាប៉ីដងវែង) โดยอาศัยข้อมูลทางวัฒนธรรมดนตรีอินเดียที่มีอิทธิพลต่ออารยธรรมเขมรโบราณตั้งแต่อดีตจนถึงราชอาณาจักรกัมพูชาปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าทั้งในสมัยก่อนเมืองพระนคร และสมัยเมืองพระนคร ปรากฏเพียงคำว่า “วีณา” คำว่า “วีณา” นี้เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายใช้ดีดเท่านั้น แต่ไม่ปรากฏคำว่า จาบีุ (ចាប៉ី) จากการศึกษาครั้งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะมีใช้มาตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครแล้ว เพียงแต่เป็นเครื่องขับลำนำชั้นรองมิได้ทำหน้าที่ในศาสนพิธีเช่นเครื่องสายใช้ดีดประเภทฮาร์พและพิณคันธนูที่มีหลักฐานบนภาพจำหลัก ส่วนสมัยหลังเมืองพระนครก็ยังไม่มีหลักฐานการใช้คำว่า จาบุี (ចាប៉ី) และบทบาทหน้าที่ของเครื่องดนตรีประเภทนี้ แต่ในช่วงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์พบว่าจาบุีฎงแวง (ចាប៉ីដងវែង) ยังทำหน้าที่เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารและระบอบการปกครองทหาร และในปัจจุบันจาบุีฎงแวง (ចាប៉ីដងវែង) ยังคงมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการบรรเลงร่วมในวงเพลงและใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ