ชื่อผู้แต่ง | สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารวิทยาลัยศิลปากร |
เดือน | เมษายน |
ปี | 2557 |
ปีที่ | 34 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 10-29 |
ภาษา | ภาษาไทย |
นครปฐมเป็นเมืองศูนย์กลางสําาคัญของวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเจริญอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 การขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครปฐมในช่วง พ.ศ. 2552-2553 ทําาให้ได้พบหลักฐานใหม่ที่สามารถนําามาตีความถึงการติดต่อสัมพันธ์กับต่างถิ่นและกิจกรรมการค้าในสมัยทวารวดี ผลการศึกษาพบว่า การติดต่อค้าขายในสมัยนี้มีทั้งกับชุมชนโบราณที่อยู่ภายในพื้นที่ของทวารวดีเองและกับชุมชนต่างถิ่นที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะกับอาณาจักรศรีวิชัยที่เจริญรุ่งเรืองบริเวณเกาะสุมาตรา (ประเทศอินโดนีเซีย) และคาบสมุทรมาเลย์ (ประเทศไทยและมาเลเซีย) การติดต่อค้าขายกับบ้านเมืองศรีวิชัยทําาให้ทวารวดีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าโลกสมัยโบราณตามเส้นทางสายแพรไหมทางทะเล ซึ่งเฟื่องฟูขึ้นอย่างมากในชาวงพุทธศตวรรษที่ 14 ภายใต้การสนับสนุนจากจีนสมัยราชวงศ์ถัง ความสัมพันธ์นี้ส่งผลกระทบบางประการต่อชุมชนทวารวดีที่เมืองนครปฐม เห็นได้จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีการปรากฏขึ้นของสินค้าจากต่างถิ่น ได้แก่ ลูกปัดแก้วสีเดียวแบบอินโด-แปซิฟิค และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง รวมไปถึงการแพร่หลายเข้ามาของพุทธศาสนานิกายมหายาน
ตราดินเผา, ภาชนะดินเผา
นครปฐมเป็นเมืองศูนย์กลางสําาคัญของวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเจริญอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 การขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครปฐมในช่วง พ.ศ. 2552-2553 ทําาให้ได้พบหลักฐานใหม่ที่สามารถนําามาตีความถึงการติดต่อสัมพันธ์กับต่างถิ่นและกิจกรรมการค้าในสมัยทวารวดี ผลการศึกษาพบว่า การติดต่อค้าขายในสมัยนี้มีทั้งกับชุมชนโบราณที่อยู่ภายในพื้นที่ของทวารวดีเองและกับชุมชนต่างถิ่นที่อยู่ไกลออกไป โดยเฉพาะกับอาณาจักรศรีวิชัยที่เจริญรุ่งเรืองบริเวณเกาะสุมาตรา (ประเทศอินโดนีเซีย) และคาบสมุทรมาเลย์ (ประเทศไทยและมาเลเซีย) การติดต่อค้าขายกับบ้านเมืองศรีวิชัยทําาให้ทวารวดีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าโลกสมัยโบราณตามเส้นทางสายแพรไหมทางทะเล ซึ่งเฟื่องฟูขึ้นอย่างมากในชาวงพุทธศตวรรษที่ 14 ภายใต้การสนับสนุนจากจีนสมัยราชวงศ์ถัง ความสัมพันธ์นี้ส่งผลกระทบบางประการต่อชุมชนทวารวดีที่เมืองนครปฐม เห็นได้จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีการปรากฏขึ้นของสินค้าจากต่างถิ่น ได้แก่ ลูกปัดแก้วสีเดียวแบบอินโด-แปซิฟิค และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง รวมไปถึงการแพร่หลายเข้ามาของพุทธศาสนานิกายมหายาน
ตราดินเผา, ภาชนะดินเผา