หน้าแรก บทความ “เมืองโบราณดอนคา” ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดี

“เมืองโบราณดอนคา” ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดี

“เมืองโบราณดอนคา” ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดี

ชื่อผู้แต่ง ประพิณ ทักษิณ
วารสาร/นิตยสาร วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
เดือน มกราคม-เมษายน
ปี 2558
ปีที่ 8
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 887-902
ภาษา ภาษาไทย

เนื้อหาโดยย่อ

การขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองโบราณดอนคา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองดอนคาและศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างเมืองโบราณดอนคากับชุมชนโบราณร่วมสมัยในประเทศเพื่อนบ้าน

            ผลการขุดค้นทางโบราณคดีจำนวน 3 หลุม พบการอยู่อาศัยของชุมชนแห่งนี้ 2 สมัยคือ สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 9-11) และสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) โดยร่องรอยชุมชนสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์นั้น พบในพื้นที่นอกเมืองทางทิศใต้ (หลุมขุดค้นที่ 3) ดังจะเห็นได้จากภาชนะดินเผาตกแต่งด้วยการขัดมันเป็นริ้วเส้นด้านในของภาชนะ     ส่วนพื้นที่ภายในเมืองโบราณพบเพียงชั้นวัฒนธรรมเดียวคือวัฒนธรรมสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) ดังปรากฏหลักฐานในหลุมขุดค้น 2 หลุม ทางทิศใต้ของเมือง (หลุมขุดค้นที่ 1 และ 2) เนื่องจากพบโบราณวัตถุในวัฒนธรรมทวารวดี เช่น เบี้ยดินเผา ภาชนะประเภทกุณฑี หม้อมีสัน เป็นต้น

            การศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองโบราณดอนคา นำไปสู่ข้อสรุปได้ว่าเมืองโบราณดอนคาแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับเมืองโบราณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก และลุ่มน้ำมูลตอนล่างตั้งแต่สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์  จนถึงสมัยทวารวดี

            แม้ว่าการขุดค้นทางโบราณคดีในครั้งนี้ จะยังไม่พบหลักฐานที่สื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมเขมรที่แพร่เข้ามาในเมืองแห่งนี้อย่างเด่นชัดก็ตาม แต่จากการศึกษาทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบว่าอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรสมัยเมืองพระนครได้แพร่เข้ามาในที่ราบสูงโคราชและลุ่มน้ำลพบุรี – ป่าสัก ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 15-18   อีกทั้งได้พบพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะเขมรแบบบาปวนและแบบบายน บนเขาตีคลี ซึ่งเป็นศาสนาสถานที่สร้างในวัฒนธรรมทวารวดี ดังนั้นควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

หลักฐานสำคัญ

ภาชนะดินเผา เบี้ยดินเผา ภาชนะประเภทกุณฑี หม้อมีสัน 

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ทวารวดี ภาชนะดินเผา โบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดี เมืองโบราณดอนคา เบี้ยดินเผา

จำนวนผู้เข้าชม

71

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

30 เม.ย. 2558

“เมืองโบราณดอนคา” ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดี

  • “เมืองโบราณดอนคา” ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดี
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    ประพิณ ทักษิณ

    ชื่อบทความ :
    “เมืองโบราณดอนคา” ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดี

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ

    เดือน
    เดือน :
    มกราคม-เมษายน

    ปี :
    2558

    ปีที่ :
    8

    ฉบับที่ :
    1

    หน้าที่ :
    887-902

    ภาษา :
    ภาษาไทย

    เนื้อหาโดยย่อ

    การขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองโบราณดอนคา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองดอนคาและศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างเมืองโบราณดอนคากับชุมชนโบราณร่วมสมัยในประเทศเพื่อนบ้าน

                ผลการขุดค้นทางโบราณคดีจำนวน 3 หลุม พบการอยู่อาศัยของชุมชนแห่งนี้ 2 สมัยคือ สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 9-11) และสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) โดยร่องรอยชุมชนสมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์นั้น พบในพื้นที่นอกเมืองทางทิศใต้ (หลุมขุดค้นที่ 3) ดังจะเห็นได้จากภาชนะดินเผาตกแต่งด้วยการขัดมันเป็นริ้วเส้นด้านในของภาชนะ     ส่วนพื้นที่ภายในเมืองโบราณพบเพียงชั้นวัฒนธรรมเดียวคือวัฒนธรรมสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16) ดังปรากฏหลักฐานในหลุมขุดค้น 2 หลุม ทางทิศใต้ของเมือง (หลุมขุดค้นที่ 1 และ 2) เนื่องจากพบโบราณวัตถุในวัฒนธรรมทวารวดี เช่น เบี้ยดินเผา ภาชนะประเภทกุณฑี หม้อมีสัน เป็นต้น

                การศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองโบราณดอนคา นำไปสู่ข้อสรุปได้ว่าเมืองโบราณดอนคาแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับเมืองโบราณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก และลุ่มน้ำมูลตอนล่างตั้งแต่สมัยหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์  จนถึงสมัยทวารวดี

                แม้ว่าการขุดค้นทางโบราณคดีในครั้งนี้ จะยังไม่พบหลักฐานที่สื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมเขมรที่แพร่เข้ามาในเมืองแห่งนี้อย่างเด่นชัดก็ตาม แต่จากการศึกษาทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบว่าอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรสมัยเมืองพระนครได้แพร่เข้ามาในที่ราบสูงโคราชและลุ่มน้ำลพบุรี – ป่าสัก ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 15-18   อีกทั้งได้พบพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะเขมรแบบบาปวนและแบบบายน บนเขาตีคลี ซึ่งเป็นศาสนาสถานที่สร้างในวัฒนธรรมทวารวดี ดังนั้นควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

    หลักฐานสำคัญ

    ภาชนะดินเผา เบี้ยดินเผา ภาชนะประเภทกุณฑี หม้อมีสัน 


    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ทวารวดี ภาชนะดินเผา โบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดี เมืองโบราณดอนคา เบี้ยดินเผา

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 21 พ.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 71