หน้าแรก บทความ ประติมานวิทยาของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน

ประติมานวิทยาของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน

ประติมานวิทยาของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน

ชื่อผู้แต่ง ปรีชาวุฒิ อภิระติง
วารสาร/นิตยสาร วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
ปี 2561
ปีที่ 10
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 373-409
ภาษา ไทย
หัวเรื่อง ประติมานวิทยา พระพุทธไสยาสน์ ศิลปะทวารวดีอีสาน

เนื้อหาโดยย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความหมายทางประติมานวิทยาของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) รูปแบบทางศิลปะของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน 2) ความหมายของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน ด้วยวิธีทางประวัติศาสตร์ศิลปะ (Art history Research) เป็นแนวทางหลัก และใช้ แนวคิดตามทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Ecology Theory) เป็นแนวทางเสริม ตามกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือพระพุทธรูปประทับในอิริยาบถไสยาสน์ที่ประดิษฐานติดที่ตามเพิงผาหน้าถ้ำในภาคอีสาน ตามแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ พระพุทธไสยาสน์ภูเวียง อำเภอภูชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พระพุทธไสยาสน์ภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พระนอนภูค่าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พระพุทธไสยาสน์วัดเชิงดอยเทพรัตน์ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสำรวจจำนวนและแหล่งที่พบพระพุทธรูปประทับในอิริยาบถไสยาสน์ ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธไสยาสน์ที่มีรูปแบบศิลปกรรมแบบทวารวดีอีสานอย่างแท้จริง ที่ชัดเจนที่สุดในด้านรูปแบบนั้นมี 2 แห่งด้วยกัน คือ 1) พระพุทธไสยาสน์ภูเวียง 2) พระพุทธไสยาสน์ภูปอองค์แรก (องค์ล่าง) รองลงมาคือพระพุทธไสยาสน์วัดเชิงดอยเทพรัตน์ ที่จัดได้ว่าเป็นศิลปะทวารวดีแบบท้องถิ่นอีสาน หรืออาจเป็นการทำสืบทอดรูปแบบมาในระยะหลังที่วัฒนธรรมทวารวดีอีสานเสื่อมลงแล้ว ส่วนพระพุทธไสยาสน์ภูปอองค์ที่สอง (องค์บน) กับพระนอนภูค่าว รูปแบบทางศิลปกรรมของพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ มีรูปแบบที่คล้ายกันโดยเฉพาะรูปแบบของการครองจีวรที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบของพระพุทธไสยาสน์แบบศิลปะทวารวดีอีสานในแหล่งอื่นๆ เพียงแต่มีพระพักตร์ต่างออกไป และน่าจะเป็นการทำสืบทอดต่อเนื่องมาในชั้นหลังแล้ว

ความหมายของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน คือ พุทธประวัติตอนปรินิพาน ซึ่งเมื่อพิจารณารายละเอียดของเนื้อความจากมหาปรินิพานสูตรในพระไตรปิฏกจะพบว่ามีหลักธรรมต่างๆ ปรากฏอยู่หลายข้อ ซึ่งพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสานจะมีความหมายที่สื่อถึงหลักธรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้น ยังไม่อาจสรุปได้เช่นนั้น ส่วนความหมายที่เชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรม ที่มาหรือเหตุปัจจัยของการประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ในวัฒนธรรมทวารวดีอีสานนั้น อาจตั้งเป็นข้อสังเกตได้ถึงความสืบเนื่องของคติ ความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายจากสังคมวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ผสมผสานกับวัฒนธรรมสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยการประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ไว้ตามเพิงผาหน้าถ้ำในวัฒนธรรมทวารวดีอีสาน ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งสองวัฒนธรรมนั้นต่างให้ความสำคัญกับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตาย เพียงแต่รายละเอียดของการปฏิบัติและคติความเชื่อที่แตกต่างกัน

หลักฐานสำคัญ

พระพุทธรูปประทับในอิริยาบถไสยาสน์ที่ประดิษฐานติดที่ตามเพิงผาหน้าถ้ำในภาคอีสาน

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ศิลปะทวารวดี ประติมานวิทยา พระพุทธไสยาสน์ ศิลปะทวารวดีอีสาน

ยุคสมัย

ทวารวดี

จำนวนผู้เข้าชม

105

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

9 พ.ค. 2567

ประติมานวิทยาของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน

  • ประติมานวิทยาของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน
  • blog-img
    ชื่อผู้แต่ง :
    ปรีชาวุฒิ อภิระติง

    ชื่อบทความ :
    ประติมานวิทยาของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน

    วารสาร/นิตยสาร
    วารสาร/นิตยสาร :
    วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    เดือน
    เดือน :
    กรกฎาคม-ธันวาคม

    ปี :
    2561

    ปีที่ :
    10

    ฉบับที่ :
    2

    หน้าที่ :
    373-409

    ภาษา :
    ไทย

    หัวเรื่อง :
    ประติมานวิทยา พระพุทธไสยาสน์ ศิลปะทวารวดีอีสาน

    เนื้อหาโดยย่อ

    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความหมายทางประติมานวิทยาของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) รูปแบบทางศิลปะของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน 2) ความหมายของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน ด้วยวิธีทางประวัติศาสตร์ศิลปะ (Art history Research) เป็นแนวทางหลัก และใช้ แนวคิดตามทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Ecology Theory) เป็นแนวทางเสริม ตามกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือพระพุทธรูปประทับในอิริยาบถไสยาสน์ที่ประดิษฐานติดที่ตามเพิงผาหน้าถ้ำในภาคอีสาน ตามแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ พระพุทธไสยาสน์ภูเวียง อำเภอภูชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พระพุทธไสยาสน์ภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พระนอนภูค่าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พระพุทธไสยาสน์วัดเชิงดอยเทพรัตน์ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสำรวจจำนวนและแหล่งที่พบพระพุทธรูปประทับในอิริยาบถไสยาสน์ ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

    ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธไสยาสน์ที่มีรูปแบบศิลปกรรมแบบทวารวดีอีสานอย่างแท้จริง ที่ชัดเจนที่สุดในด้านรูปแบบนั้นมี 2 แห่งด้วยกัน คือ 1) พระพุทธไสยาสน์ภูเวียง 2) พระพุทธไสยาสน์ภูปอองค์แรก (องค์ล่าง) รองลงมาคือพระพุทธไสยาสน์วัดเชิงดอยเทพรัตน์ ที่จัดได้ว่าเป็นศิลปะทวารวดีแบบท้องถิ่นอีสาน หรืออาจเป็นการทำสืบทอดรูปแบบมาในระยะหลังที่วัฒนธรรมทวารวดีอีสานเสื่อมลงแล้ว ส่วนพระพุทธไสยาสน์ภูปอองค์ที่สอง (องค์บน) กับพระนอนภูค่าว รูปแบบทางศิลปกรรมของพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ มีรูปแบบที่คล้ายกันโดยเฉพาะรูปแบบของการครองจีวรที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบของพระพุทธไสยาสน์แบบศิลปะทวารวดีอีสานในแหล่งอื่นๆ เพียงแต่มีพระพักตร์ต่างออกไป และน่าจะเป็นการทำสืบทอดต่อเนื่องมาในชั้นหลังแล้ว

    ความหมายของพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสาน คือ พุทธประวัติตอนปรินิพาน ซึ่งเมื่อพิจารณารายละเอียดของเนื้อความจากมหาปรินิพานสูตรในพระไตรปิฏกจะพบว่ามีหลักธรรมต่างๆ ปรากฏอยู่หลายข้อ ซึ่งพระพุทธไสยาสน์ในศิลปะทวารวดีอีสานจะมีความหมายที่สื่อถึงหลักธรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้น ยังไม่อาจสรุปได้เช่นนั้น ส่วนความหมายที่เชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรม ที่มาหรือเหตุปัจจัยของการประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ในวัฒนธรรมทวารวดีอีสานนั้น อาจตั้งเป็นข้อสังเกตได้ถึงความสืบเนื่องของคติ ความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายจากสังคมวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ผสมผสานกับวัฒนธรรมสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยการประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ไว้ตามเพิงผาหน้าถ้ำในวัฒนธรรมทวารวดีอีสาน ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งสองวัฒนธรรมนั้นต่างให้ความสำคัญกับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตาย เพียงแต่รายละเอียดของการปฏิบัติและคติความเชื่อที่แตกต่างกัน

    หลักฐานสำคัญ

    พระพุทธรูปประทับในอิริยาบถไสยาสน์ที่ประดิษฐานติดที่ตามเพิงผาหน้าถ้ำในภาคอีสาน


    ห้องสมุดแนะนำ :

    ลิงก์ที่มา :

    ดาวน์โหลดบทความ :

    ยุคสมัย
    ทวารวดี

    คำสำคัญ/ป้ายกำกับ
    ศิลปะทวารวดี ประติมานวิทยา พระพุทธไสยาสน์ ศิลปะทวารวดีอีสาน

    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 9 พ.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 105