ชื่อผู้แต่ง | นภัคมน ทองเฝือ |
วารสาร/นิตยสาร | วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร |
เดือน | พฤษภาคม - มิถุนายน |
ปี | 2566 |
ปีที่ | 43 |
ฉบับที่ | 3 |
ภาษา | ไทย |
เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพของลูกปัดแก้วที่พบจากโบราณสถานหมายเลข 3 (เดิม) ในแหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย ได้แก่ สี รูปทรง ขนาด การตกแต่ง และเทคนิคการผลิต โดยการวิเคราะห์ร่วมกับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จากการศึกษาในบทความนี้มีการเปรียบเทียบกับชุมชนโบราณที่มีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบว่า รูปแบบของสี รูปทรง ขนาด การตกแต่ง รวมทั้งเทคนิคการผลิตสัมพันธ์กับลูกปัดแก้วจากอินเดีย ตะวันออกกลาง แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคกลางของไทย และแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผลจากการวิจัยดังกล่าวสามารถนำมาอธิบายได้ถึงคติความเชื่อ สภาพสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจการค้า และการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างแหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัยกับชุมชนโบราณร่วมสมัยทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาค นอกจากนั้นผลการศึกษาดังกล่าวยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลการศึกษาลูกปัดแก้วในภาคใต้ของไทยได้ต่อไปในอนาคต
เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพของลูกปัดแก้วที่พบจากโบราณสถานหมายเลข 3 (เดิม) ในแหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย ได้แก่ สี รูปทรง ขนาด การตกแต่ง และเทคนิคการผลิต โดยการวิเคราะห์ร่วมกับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จากการศึกษาในบทความนี้มีการเปรียบเทียบกับชุมชนโบราณที่มีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบว่า รูปแบบของสี รูปทรง ขนาด การตกแต่ง รวมทั้งเทคนิคการผลิตสัมพันธ์กับลูกปัดแก้วจากอินเดีย ตะวันออกกลาง แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคกลางของไทย และแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผลจากการวิจัยดังกล่าวสามารถนำมาอธิบายได้ถึงคติความเชื่อ สภาพสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจการค้า และการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างแหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัยกับชุมชนโบราณร่วมสมัยทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาค นอกจากนั้นผลการศึกษาดังกล่าวยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลการศึกษาลูกปัดแก้วในภาคใต้ของไทยได้ต่อไปในอนาคต